คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยชุดใหม่ของ มน. ๒๕๕๑


          ดิฉันได้เคยบันทึก และตั้งข้อสังเกต เรื่อง คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยเป็นใคร? ทำหน้าที่อะไร?  ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว  ตอนนั้น เป็นการเปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ. มน. ในกำกับ กับ พ.ร.บ. มม. ในกำกับ

          ณ ขณะนี้ มน. ยังไม่ได้ออกนอกระบบ ดังนั้นเรายังคงใช้ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๓๓ อยู่เช่นเดิม

          ในปี ๕๐  คณะกรรมการส่งเสริมฯ ชุดเก่า ของมน. ครบวาระดำรงตำแหน่ง ๒ ปีแล้ว (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๗)

          ดิฉันจึงอยากนำเรียนให้ประชาคมชาว มน. ทราบว่า คณะกรรมการส่งเสริมฯ ชุดใหม่ของ มน. เกิดแล้ว  มีใคร เป็นใครบ้าง ดังนี้ค่ะ

1 นายสมบูรณ์   ศรีพัฒนาวัฒน์  เป็นประธานคณะกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
2 นายนิรันดร์    เมืองพระ  เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ
3 นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา  เป็นกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
4 นายวิเศษ วชิราศรีศิริกุล  เป็นกรรมการ ประธานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก
5 นายวันชัย  จิตตมานนท์กุล  เป็นกรรมการ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก
6 ดร.บุญ ชาติพาณิชย์ เป็นกรรมการ ประธานกรรมการโรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์
7 ดร.สมไทย วงษ์เจริญ เป็นกรรมการ ประธานกรรมการวงษ์พาณิชย์กรุ๊ฟ
8 นางนุชจรินทร์ ศรีทองพนาบูลย์ เป็นกรรมการ ประธานกรรมการบริหารโรงแรมท๊อปแลนด์
9 ผศ.สุระพล ภานุไพศาล เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมกิจการพิเศษ มน.

   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป

   JD ของคณะกรรมการชุดนี้ (ตามข้อบังคับ ของพ.ร.บ.เดิม)

  1. ส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัย
  2. ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัย
  3. สนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย
  4. ดำเนินงานในกิจการต่างๆ ตามที่มหาวิทยาลัยขอความช่วยเหลือ
  5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดใดตามที่เห็นสมควร

เปรียบเทียบ

 

พ.ร.บ.มน.พ.ศ. ๒๕๓๓
(ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน)

ร่าง พ.ร.บ. มน. ในกำกับ
(ฉบับแท้งคุกคาม)
   
คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยและสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาต่อสภามหาวิทยาลัย และสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

แหล่งข้อมูล 

หมายเลขบันทึก: 178230เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณป้า

น้องจิแวะมาเยี่ยม สบายดีหรือเปล่าเจ้าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---> น้องจิ ^_^

ขอขอบพระคุณ อ.หมอ JJ P ที่คอยส่งยาโด๊บบำรุงความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอค่ะ  ; ) 

 

P เพียงแค่น้องจิ เข้ามาทักทายแต่เช้า ป้าก็กระชุ่มกระชวยขึ้นมาทันทีเลยค่ะ  : )

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • เห็น มน. โตวันโตคืน ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ
  • วันนี้ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ "การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย" เลยเข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมใน G2K จึงทำให้พบบันทึกของท่านอาจารย์ที่เขียนเกี่ยวกับ การออกนอกระบบ ด้วยความไม่รู้และศึกษายังไม่ครบถ้วน จึงขออนุญาตเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ตรง ๆ ดังนี้ครับ

 

  1. ...สาเหตุ การออกนอกระบบ จริง ๆ แล้วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาใช่หรือไม่ครับ กล่าวคือ แต่ก่อนจ่ายเงินไป 100 บาท กลุ่มมหาวิทยาลัยก็เอาไปใช้ 100 บาทตามใจชอบ ตามที่เคยใช้ แต่คุณภาพไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยอาจด้อยลงด้วยซ้ำ ยังจะมาขอเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เพราะมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเติบโตขึ้นทุก ๆ วัน จึงต้องใช้จ่ายมากขึ้น
  2. ...แต่วิธีคิดของการออกนอกระบบคือ ให้เงินลงไป 100 บาท แต่ให้แข่งกันจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเป็น 120 หรือเพิ่มคุณภาพแต่จ่ายเงินเท่าเดิม คือ 100 บาท
  3. ... แต่ในความเป็นจริงของประเทศไทย มหาวิทยาลัยถูกคุ้มครองและเป็นจ้างงานตลอดชีวิตด้วยความเป็นระบบราชการ และมีแนวโน้มจะขยายพันธ์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกจังหวัด และตอนนี้มีจำนวนมหาวิทยาลัยมากกว่าจำนวนจังหวัดแล้ว คือ มีแนวโน้มเป็นไปตามแนวทางข้อ 1 ไม่มีทางแก้ไขให้เป็นไปตามแนวทางในข้อ 2 ได้เลย ถ้ายังเป็นระบบราชการอยู่
  4. ที่ว่ามาทั้งหมด ท่านอาจารย์คิดเห็นเป็นประการใดบ้างครับ แต่ถ้าจะเป็นการรบกวนท่านอาจารย์มากเกินไป ก็ลบความคิดเห็นนี้ได้ทันทีเลยครับ

สวัสดีค่ะ คุณนิโรธ

          ดิฉันไม่มีเวลาบันทึกเรื่อง "การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย" มานานมากแล้ว ทั้งที่มีอีกหลายเรื่องที่อยากบันทึก

          วันนี้ คุณนิโรธ เข้ามาทักทาย และชวนคุยมา จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง

          ดิฉันอยากจะแลกเปลี่ยนนะคะ  ดิฉันเห็นเช่นเดียวกับ คุณนิโรธ ค่ะว่า ถ้ามหาวิทยาลัยยังเป็นระบบราชการอยู่  คงจะไม่สามารถเดินหน้าทัดเทียมชาติอื่นๆ แน่ (แม้แต่เพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรา เช่น ประเทศเวียตนาม)

          บทสรุปสั้นๆ  ของ...สาเหตุ การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย (ของทุกประเทศก็ว่าได้) มาจาก ความต้องการที่จะปรับประสิทธิภาพเพื่อการจัดการความรู้ (การศึกษา) ให้เกิดสังคมความรู้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยความรู้ 

          ...วิธีคิดของ ความต้องการในข้อที่ 1 มีหลากหลายวิธี  ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และนักการศึกษาในบ้านเราหลายต่อหลายท่าน  ก็ได้พยายามศึกษาตัวอย่างจากหลากหลายประเทศ มันไม่ใช่สมการชั้นเดียว  "การออกนอกระบบ" เป็นคำสั้นๆ ที่มักทำให้เกิดนิยามที่ผิดๆ ต่อเนื่องไปถึงความเข้าใจที่ผิดๆ

          เราควรช่วยกันศึกษา ทำความเข้าใจกับมันอย่างลึกซึ้ง ไม่มีระบบไหนสมบูรณ์แบบ  แต่ถ้าเราไม่กล้าเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เราก็จะจมอยู่กับปัญหา และตายไปพร้อมกับหนี้สินที่ลูกหลานต้องชดใช้แทนเรา

          ท่านอาจารย์จรัส  สุวรรณเวลา  ได้เสนอ ข้อพึงสังวรณ์ ไว้แล้วหลายประการของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย ช่วยให้เราไม่ถึงกับหาหลักยึดอะไรไม่ได้เลย

          ดิฉันขอสรุป หัวข้อที่ท่านอธิบายไว้อย่างละเอียด ในหนังสือ ชื่อ ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย  ในเรื่อง แรงกดดันมหาวิทยาลัยจากรอบด้าน ที่ทำให้ต้องยกเครื่องมหาวิทยาลัยครั้งใหญ่ มีเหตุผลดังนี้

  • การขยายตัวอย่างมากของระบบอุดมศึกษาไทย (อย่างที่คุณนิโรธตั้งข้อสังเกตไว้)
  • การระเบิดขององค์ความรู้ เศรษฐกิจฐานความรู้ และสังคมความรู้
  • ความจำเป็นของการวิจัยที่ต้องมีมากขึ้นและต้องหลากหลาย
  • เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ที่เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส
  • การแข่งขันภายใต้กลไกตลาด
  • การแข่งขันและบทบาทข้ามชาติ 
  • ความจำกัดของทรัพยากร ฯลฯ  ฯลฯ...........  

          แล้วว่างๆ ดิฉันจะสรุปบันทึกให้อ่านอีกนะคะ

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับที่กรุณา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท