คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยเป็นใคร? ทำหน้าที่อะไร?


          ในการดำเนินการบริหารมหาวิทยาลัย ที่ระบุใน พ.ร.บ. มน.  ระบุให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยอีกคณะหนึ่งด้วย  ซึ่งมีองค์ประกอบและหน้าที่ ดังนี้            

   

พ.ร.บ.มน. 

 

พ.ร.บ.ม.มหิดล 

หมวด ๒ การดำเนินการ  มาตรา ๒๔

  ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย
  คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาต่อสภามหาวิทยาลัย และสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
  จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง การดำเนินงาน ตลอดจนการประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

 
  มาตรา ๒๕     ให้มีสภาอาจารย์เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่ออธิการบดีเกี่ยวกับกิจการด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเสริมสร้างด้านจรรยาบรรณ และคุณธรรมของอาจารย์ของมหาวิทยาลัย
   ให้มีสภาเจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่ออธิการบดี  และทำหน้าที่อื่นที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย
   องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติ การได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ ตลอดจนการประชุมของสภาอาจารย์และสภาเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา ๒๖      ให้มีสภาคณาจารย์ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นคณาจารย์ประจําของมหาวิทยาลัย
   จํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของสมาชิกสภาคณาจารย์ ตลอดจนการประชุมและการดําเนินงานของสภาคณาจารย์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
      มาตรา ๒๗     สภาคณาจารย์มีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้
   (๑) ให้คําปรึกษาแนะนําแก่สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี ในกิจการของมหาวิทยาลัย
   (๒) เสนอแนะข้อคิดเห็น คําแนะนํา และให้คําปรึกษาแก่ สภามหาวิทยาลั ย และอธิการบดี เกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกํากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณดังกล่าว ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
   (๓) เสนอแนะข้อคิดเห็น คําแนะนํา และให้คําปรึกษาแก่สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีเกี่ยวกับการพัฒนาคณาจารย์ทางด้านทักษะแห่งวิชาชีพคณาจารย์
   (๔) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคณาจารย์ ในมหาวิทยาลัยทางด้านทักษะแห่งวิชาชีพคณาจารย์
   (๕) เชิดชูและผดุงเกียรติคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
   (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยห้รืออธิการบดีมอบหมาย   

ข้อสังเกต

  1. คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย  เป็นคณะกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกล้วนๆ ซึ่งดิฉันปรารถนาจะได้ทราบหลักการในการกำหนด จำนวน และคุณสมบัติ ที่ชัดเจนกว่านี้ โดยระบุใน พ.ร.บ. เลย อย่างน้อย กรรมการสภาฯ จะได้มีแนวทางในการคัดสรรบุคคลได้ตรงตามวัตถุประสงค์  ทั้งนี้ หน้าที่ของกรรมการในประโยคท้ายที่ว่า "สนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย"   เป็นหน้าที่ที่พิเศษ และสื่อให้นึกถึงบุคคลที่มีอำนาจ  มีอิทธิพล  และมีเงิน (ที่สำคัญต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความเข้าใจระบบอุดมศึกษาด้วย)
  2. ช่องทางที่จะโยงการดำเนินงานต่างๆ ของกรรมการชุดนี้ เข้ากับการบริหารมหาวิทยาลัย อยู่เพียงที่ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง
  3. เท่าที่ผ่านมา (พ.ร.บ.มน. เดิม) ก็กำหนดให้มีกรรมการชุดนี้มาโดยตลอด  ดังนั้น น่าที่จะได้มีการประเมินผลการดำเนินการของกรรมการชุดนี้ด้วยว่า ได้ทำหน้าที่ตาม JD ที่กำหนดไว้หรือไม่?  อย่างไร?  และได้ผลเพียงไร??  จะได้ทราบว่าจำเป็นเพียงใดที่ต้องมีกรรมการชุดนี้
  4. ข้อสังเกตเรื่องสภาอาจารย์  ได้กล่าวไว้แล้ว ที่บันทึกนี้
หมายเลขบันทึก: 155582เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับผมแวะมาอ่าน  . ร. บ.
  • ยินดีที่ได้แรกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ขอบคุณครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท