คนเก่ง...ความเก่ง...เอาอะไรมาวัด


ปกติเป็นคนที่เวลาคิดอะไรดีๆจะคิดดังๆ คือเห็นอะไร หรือเห็นใครทำอะไรถูกใจก็จะไม่รีรอที่จะพูดทันที วันนี้ทำแล็บการทดสอบ Lactic อยู่ข้างๆพี่นุชที่กำลังทำแล็บ VMA และสอนน้องนักศึกษาไปด้วย ได้ฟังพี่นุชอธิบายให้น้องฟังละเอียดละออ เทคนิคเล็กน้อยอะไรพี่นุชก็บอกให้ฟังไม่เว้นเลย อดที่จะเอ่ยปากบอกน้องไม่ได้ว่า

"ใครได้อยู่จุดที่พี่นุชสอนนี่โชคดีมากๆเลย พี่นุชสอนได้ละเอียดและไม่เคยเหน็ดเหนื่อยเลย งานมากขนาดไหนก็ยังพยายามสอน พยายามอธิบาย เป็นคนที่สอนได้ดีทั้งภาคทฤษฎี (ที่พี่เขาแน่นมากๆ) และภาคปฏิบัติ"

พอเราพูดจบ พี่นุชก็รีบบอกน้องว่า พี่โอ๋ก็เก่ง ฯลฯ มีคำว่าเก่งหลายคำมากจนเราติดหู แล้วก็ทำให้นึกว่า เออนะ...ความเก่งนี่เราเอาอะไรมาวัดนะ ลองคิดๆดูแล้ว เราเองก็มักจะชมคนอื่นว่า เก่งนั่น เก่งนี่ อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เลยลองตามความคิดตัวเองดูว่า เราชมคนว่าเก่งโดยใช้อะไรวัด แล้วก็ดีใจที่รู้สึกเลยว่า เราหาได้เสมอว่าแต่ละคนเก่งอะไร ไม่มีข้อจำกัดเลยจริงๆ นึกไล่ไปได้ทุกคนเลยว่าคนนี้ คนไหน เก่งเรื่องอะไร อย่างน้อยๆก็คนละอย่างที่เราบอกได้ว่า คนนี้ทำอะไรได้เก่ง นั่นคือ ทุกคนที่เรารู้จักมีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ที่เราจะใช้คำว่า "เก่ง" มาแทนความพิเศษนั้น สงสัยขึ้นมาว่า คนอื่นๆเขาวัดคนว่า "เก่ง"ด้วยอะไรกันบ้างนะ  

หมายเลขบันทึก: 176543เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ

สวัสดีค่ะ

สุขสันต์ปีใหม่ไทยค่ะ

เรื่องที่คุณโอ๋สงสัยนั้น พี่เองพอมีประสบการณ์อยู่นิดหน่อย จากการทำงาน จะขอลองแลกเปลี่ยนดู...

1. จินตนาการ (imagine) หรือ คาดหวัง (expect) ไว้ว่า คนที่เราคิดว่า เก่ง ควรเป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่เพ้อฝัน หรือคิดเอาเอง อย่างไม่มีหลัก  แต่ให้ดูจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานหรือเป็นคนเก่งขององค์กรอื่นเป็นตัวอย่างต้นแบบ

2.ดูที่วัฒนธรรมองค์กรของเรา และบ่งชี้ความสามารถที่เด่นชัดของคนที่เราอยากได้ออกมา  underlying competency

3. แทรกคุณสมบัติที่จำเป็นของคนเก่งโดยภาพรวมจากที่อื่นๆ  มารวมกับข้อบ่งชี้ ที่เรามีอยู่แล้ว

4.เราจะมีต้นแบบของคนเก่งแล้วในใจ แต่ยังไม่ใช่ของจริง ต้องลอง ให้คณะกรรมการ ในองค์กร เห็นพ้องกันก่อน แล้วจึงนำไปใช้จริงในงาน

ต้นแบบคนเก่งของแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกันค่ะ   และแม้แต่องค์กรเดียวกัน ต้นแบบคนเก่งของแต่ละตำแหน่งก้ไม่เหมือนกันอีกด้วย ดูที่หน้าที่และความรับผิดชอบ

 ตามที่เคยทำมา  การบริหารจัดการจะค่อนข้างยืดหยุ่น พวก TQM, TPM, ISO  มีเท่าที่จำเป็นต้องใช้ มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์มากที่สุดค่ะ

ตกใจหมดเลย นึกว่าพยาธิสอน MVA

สวัสดีครับพี่โอ๋

    สุขสันต์สงกรานต์ปีใหม่ไทยนะครับ

เรื่อง ความเก่ง ความดี ใช้ใจวัดครับ

เก่งหรือดี เป็นเชิงคุณภาพใช่ไหมครับ คงต้องใช้เครื่องมือเชิงคุณภาพวัดเช่นกันครับ หรือต่อไปอาจจะมีเครื่องมือวัดความเก่งก็ได้ อิๆๆๆ

จิ้มปากปั๊บเป็นคนดี เป็นคนเก่ง ผ่านเครื่องวัดออร่าปั๊บ ได้เป็น ส.ส. อิๆๆ

คนเราพยายามแปลงคุณภาพให้เป็นปริมาณแล้วเอาปริมาณมาเทียบวัดกัน ว่าใครเหนือใคร จนในที่สุดเราทิ้งคุณภาพไปเลย

เช่น ได้เกรด 3.01 เรียนต่อได้  แต่ 2.99 โดยไล่ออก ปริมาณนี้ หากแปลงเป็นคุณภาพในทางด้านความเก่งนั้น จะเป็นจริงเสมอไปไหม?

รักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีค่ะพี่โอ๋

ถ้าเอาความเก่งเบิร์ืดจะดูที่การรู้จักตัวเอง ( มองตัวเองเห็นชัดมั้ย )..ไหวพริบ ปฏิภาณในการแก้ไขปัญหา ..การวางแผนหรือที่เรียกว่าการคาดการณ์ล่วงหน้า  ความอดทนในการทำสิ่งที่คิดให้สำเร็จ  และความสามารถในการสื่อสารมากกว่าอย่างอื่นค่ะ..

ส่วนรูปแบบของความเก่งของเบิร์ดจะมี 3 แบบใหญ่คือเก่งคน  เก่งงาน และเก่งความรู้ค่ะู้..^ ^

ขอกราบอวยพรปีใหม่ไทยด้วยนะคะ..ขอให้พี่โอ๋พร้อมครอบครัวมีความสุข สดชื่น สมหวังในทุกอย่างและเป็นที่รักของ G2K ตลอดไปค่ะ

ตามไปสวัสดีปีใหม่ไทยกับอ.JJ และน้องจิแล้วนะคะ ขอบคุณมากค่ะที่มาเยี่ยมเยียน

ขอบคุณพี่ Sasinanda สำหรับความรู้นี้ ทำให้เข้าใจเลยนะคะว่าคนที่มีศักยภาพสูงๆนี่ เมื่อได้อยู่ในองค์กรที่มีการบริหารจัดการดีๆ ก็จะยิ่งเสริมส่งสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนว่า ความเก่งแบบที่ต้องเห็นเป็นผลลัพธ์ออกมานี่ ค่อนข้างเสี่ยงต่อการที่เราจะไปติดกับตัวชี้วัดจนทำให้เราริดรอนกำลังใจของคนบางกลุ่มไหมคะ เหมือนแบบที่คุณเม้งยกตัวอย่าง ชวนให้คิดถึงระบบโรงเรียนของเราจริงๆ เพราะดูเหมือนจะเป็นที่วัดความเก่งกันตั้งแต่เริ่มต้นของพวกเราทุกคน จำได้เลยค่ะ สมัยเด็กๆเคยข้องใจเหมือนกันนะคะ เพราะเราเป็นเด็กเรียน เราก็จะมีฮีโร่ในใจที่เป็นเด็กเฮ้วๆ รู้สึกเลยว่าเพื่อนเก่ง ที่ไม่เห็นต้องทำตามระบบระเบียบเลย

จริงๆแล้วถ้าระบบโรงเรียนสนับสนุนดีๆ คนที่เก่งแบบอื่นๆของเราน่าจะได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของตัวเองมากกว่าที่เราเคยๆพบเห็นมานะคะ

วิธีการของคุณเบิร์ดนี่เห็นชัดเจนดีค่ะ แบ่งแยกให้วัดง่าย รูปแบบก็บอกได้ง่ายดีค่ะ รู้สึกว่าพี่โอ๋ก็น่าจะใช้วิธีนี้แหละ แต่ไม่ยักกะวิเคราะห์ได้แบบนี้ ตอนนี้เข้าใจเลย ขอบคุณนะคะ เอาไปอีก 1 กอดค่ะ เมื่อไหร่จะได้กอดจริงๆสักทีนะเนี่ย

เอาปิ่นโตมาวัดค่ะ....อิอิอิ..ล้อเล่นนะค่ะ

..ขอแจมด้วยคนนะคะ...การวัดภาษาคนเก่งสำหรับเด็กอย่างหนูค่ะ

สำหรับหนู...ส่วนใหญ่วัดจากความรู้สึกตัวเองก่อน...(อาจจะคุยด้วยได้สัมผัส..ได้เห็นแล้วรู้สึก...ว่าเค้าเก่ง...บางครั้งเค้าก็ไม่ได้เก่งเลิศในสายตาคนอื่นๆ...แต่เค้าเก่งสำหรับหนูค่ะ...)...

แล้วก็วัดจากผลงาน หรือผลที่สามารถประเมินออกมาเป็นในเชิงปริมาณได้...เช่นว่า ผลงานได้รับความนิยม ความเชี่ยวชาญ ได้คะแนนมาก...อะไรประมาณนี้ค่ะ

คนเรามีความเก่งและพิเศษในตัวทุกคนค่ะ...อย่างที่พี่ๆได้ร่วมแสดงความคิดเห็นข้างต้นอธิบายได้ชัดเจน..แจ่มค่ะ...เห็นด้วยกับทุกๆคนค่ะ..

น้อง * ~Wardah~* คะ ใช่เลยค่ะ คนเรามีความเก่งและพิเศษในตัวทุกคน ใครที่ยังไม่เชื่อว่าตัวเองมี ถ้าเราบอกเขาได้ก็ถือเป็นการเปิดโลกให้เขาได้ใช้สิ่งที่เขามีให้เกิดประโยชน์ พี่โอ๋เลยชื่นชมคนเป็นครูทั้งหลาย ที่สามารถทำแบบนี้ได้

พี่โอ๋บอกได้อย่างหนึ่งแน่ๆว่า น้อง * ~Wardah~* เก่งภาษาค่ะ เอา"ปิ่นโต"มา"วัด" นี่สุดยอด รับรองแบบนี้มาคุยกับพวกเราชาวแล็บ Chem ได้แน่ๆค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่โอ๋

  • ยอมรับว่าบางครั้งใช้คำว่า..เก่งจัง...เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีในสิ่งที่เราเห็นค่ะ  ส่วนใหญ่ไม่เปรียบเทียบกับใคร  แต่ใช้ความรู้สึกที่ได้รับโดยส่วนตัวค่ะ  อาจจะเพียงเพราะคำว่าเก่งที่เราใช้มิได้นำไปตัดสินใครๆ  แต่เป็นเพียงการคอยกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท