บทคัดย่องานวิจัยเรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม


การประเมินโครงการ

อภินันท์  สีสันต์.  การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม.  กาญจนบุรี :                     

                   โรงเรียน ท่ามะกาวิทยาคม, 2550.

 

      วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรัก   การอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม  ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   ครู  และคณะกรรมการสภานักเรียน ใน  5  ด้าน  คือ  ด้านบริบท (Context)   ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input)   ด้านกระบวนการ (Process)   ด้านผลผลิต (Product)  และด้านผลกระทบ  (Impact) 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม 3)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  แบ่งเป็น  4  กลุ่ม  ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน  ครู จำนวน 86 คน คณะกรรมการสภานักเรียน จำนวน 14 คน   และนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6  จำนวน  327  คน  ซึ่งได้มาโดยใช้ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย สำหรับนักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นและทำการสุ่มอย่างง่าย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 441 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  (Rating Scale)จำนวน 2  ฉบับ  ได้แก่  แบบสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครู  และคณะกรรมการสภานักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านใน  5  ด้าน  คือ  ด้านบริบท   ด้านปัจจัยเบื้องต้น   ด้านกระบวนการ  ด้านผลผลิต  และด้านผลกระทบ  มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97  และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 

1.  ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านใน  5  ด้าน  คือ

     1.1  ด้านบริบท  พบว่า  หลักการ  วัตถุประสงค์  และเป้าหมายของโครงการส่งเสริมนิสัย       รักการอ่านโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี

     1.2  ด้านปัจจัยเบื้องต้น  พบว่า  สถานที่บุคลากร  วัสดุอุปกรณ์  และงบประมาณ  มีความเพียงพออยู่ในระดับดี 

     1.3  ด้านกระบวนการ  พบว่า  กระบวนการดำเนินงาน  การพัฒนาบุคลากร การจัดกิจกรรม  และการติดตามประเมินผล  มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี

     1.4  ด้านผลผลิต  พบว่า  ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี 

     1.5  ด้านผลกระทบ  พบว่า  ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผู้เกี่ยวข้องในระดับดี

2. ปัญหาในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม  คือ ครูทุกกลุ่มสาระมอบหมายให้นักเรียนทำบันทึกการอ่านทำให้นักเรียนมีภาระงานมาก จึงบันทึกการอ่านหนังสือตามโครงการฯไม่ครบจำนวนที่กำหนดไว้ นักเรียนบางส่วนไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ และห้องสมุดมีหนังสือส่งเสริมการอ่านใหม่ ๆ ไม่เพียงพอกับความต้องการ ตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ควรจัดการอบรมครูให้มีความรู้เรื่องการบูรณาการ การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในการจัดการเรียนการสอน  ควรจัดหาหนังสือส่งเสริม การอ่านใหม่ ๆ ประเภทวรรณกรรมเยาวชนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจการอ่านมากขึ้น  และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนบันทึกการอ่านจากสื่ออื่น ๆ นอกจากหนังสือ สิ่งพิมพ์ เช่นจากวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต  ตามลำดับ

                4.  พฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน  พบว่าอยู่ในระดับดี          

 

 

หมายเลขบันทึก: 174969เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เก่งจังเลยนะน้องสาว

ครูดิน

อารีมิตร แพรเมือง

อยากอ่านทั้งเล่มค่ะ สนใจมาก ทำอย่างไรดีคะ จึงจะติดต่อท่านได้

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากๆเลยคะ เพราะว่าตัวเองก็รับผิดชอบโครงการส่งเสริมการอ่าน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำงานวิจัยได้ดีเลยคะ

เป็นตัวอย่างเพื่อใช้เป็นแนวทางได้เป็นอย่างดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท