บ้านนอกเข้ากรุง : รถไฟ II


เพราะเหตุใดการรถไฟฯ จึงไม่พ่วงตู้โดยสารเพิ่มเติมในขบวนรถ

 

ผู้เขียน มีความจำเป็นต้องเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าพาหนะที่ผู้เขียนเลือกเป็นอันดับแรก คือ รถไฟ แต่เนื่องจากช่วงนี้ การรถไฟฯ ได้หยุดให้บริการ ขบวน 41 และ 42 เพื่อปรับปรุงสภาพตัวรถ (กำจัดตัวเรือด)  และรถขบวนอื่นๆ ก็เต็มทุกขบวน ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องเดินทางเข้ากรุงโดยเครื่องบิน ซึ่งเป็นการโดยสารเครื่องบินเข้ากรุงครั้งแรกของผู้เขียน

 

ขากลับผู้เขียนก็เลือกรถไฟ ในการเดินทางเช่นเคย  แต่เนื่องจากรถนอนชั้น 2 เต็ม ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องโดยสารมากับรถนอนชั้น 1

 

ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อนรถไฟสายใต้เคยมีความยาวถึง 22 ตู้ แต่ในปัจจุบันรถไฟสายใต้เหลือความยาวเพียง 12 ตู้เท่านั้น (ผู้เขียนไม่ได้นับจำนวนตู้เอง แต่รถคันที่ผู้เขียนโดยสารมาเป็นรถคันสุดท้ายในขบวน เป็นรถหมายเลย 12)

 

ผู้เขียนจึงมีความสงสัยว่า เพราะเหตุใดการรถไฟฯ จึงไม่พ่วงตู้โดยสารเพิ่มเติมในขบวนรถ ในช่วงที่ มี ความต้องการในการเดินทางมาก เช่น ช่วงที่เด็กนักเรียนปิดเทอมใหญ่เพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นนี้

รวมถึงเพื่อชดเชยที่นั่งที่หายไป อันเนื่องมาจากขบวน 41 และ 42 ที่ต้องหยุดให้บริการ

 

มีบางคนบอกว่า รถจักรเราเก่ามากไม่สามารถทำขบวนที่มีตู้โดยสารมากๆ เช่น นั้นได้อีกแล้ว

ผู้เขียนเองก็สงสัยไปว่า ตู้โดยสารเราชำรุดทรุดโทรมมาก จนมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ

 

แต่จะเป็นด้วยเหตุผลใด การรถไฟฯ เท่านั้นที่จะตอบได้

 

ตอนที่แล้ว

http://gotoknow.org/blog/talk-about/89803

หมายเลขบันทึก: 174932เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ.....อาจจะเป็นเพราะเดี๋ยวนี้มีการขนส่งทางอากาศเพิ่มมากขึ้นและมีราคาถูก....ทำให้การรถไฟไม่ค่อยจะทำการปรับตัวขึ้น.....มั้งค่ะ....นี้คือการดูจากสภาพการณ์ภายนอกการรถไฟไทยค่ะ.....แต่ถึงอย่างไรก็ขอขอบคุณนะคะที่นำเรื่องดี ๆ มาร่วมแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณครับที่แวะเวียนเข้ามา

เที่ยวบินที่ผมไปกรุงเทพฯ มีผู้โดยสารเต็มลำ

ตอนไปจองตั๋วรถไฟ ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า ก็มีผู้มานั่งรอซื้อตั๋ว เป็นจำนวนมาก

แสดงว่าความต้องการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มากทีเดียวครับ

การเพิ่มความสามารถในการขนผู้โดยสารของสายการบิน ทำได้โดยการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน หรือในกรณีรถบัสประจำทางก็เพิ่มเที่ยวรถที่จะวิ่ง

ส่วนการเพิ่มความสามารถในการขนผู้โดยสารของรถไฟ ทำได้โดยการพ่วงตู้โดยสารให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีขีดจำกัดอยู่ที่

- ความสามารถในการลาก(กำลัง)ของหัวรถจักร

- ความยาวของรางหลีกตามสถานีต่างๆ

- จำนวนตู้โดยสารที่มี

ซึ่งจะเห็นว่าการเพิ่มความสามารถในการขนผู้โดยสารของรถไฟทำได้ง่ายกว่ามาก

และการเพิ่มตู้โดยสารก็แทบจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มมากขึ้นสักเท่าใด

การขนส่งโดยรถไฟจึงได้เปรียบกว่าการขนส่งโดยรถยนต์หรือเครื่องบิน

อีกทั้งการจำหน่ายตั๋วรถไฟยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำข้อมูลการเดินทาง(ต้นทาง-ปลายทาง)ของผู้โดยสารไปบริหารจัดการได้อีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท