ไฟป่า กับ วิถีชีวิตและความเชื่อ


เมืองสามหมอก หมอกฤดูหนาว หมอกฤดูฝน หมอกฤดูร้อนหมอกควัน

สวัสดีครับ ชาว Gotoknow วันนี้ที่แม่ฮ่องสอนอากาศดี ไม่ค่อยร้อนเหมือนทุกวัน โดยเฉพาะที่ อ.ขุนยวม ครับเนื่องจากฝนตก หมอกควันที่ปกคลุมอยู่ก็จางหายไป แต่คงอีกวัน หรือสองวัน ก็คงกลับสู่สภาพเดิม ก็คือมีการเผาป่าอีกตามเคย พูดถึงเรื่องเผา ป่าก็เลยมีเรื่อง เล็กๆน้อยเก็บมาฝาก จากการออกสำรวจพื้นที่ ในเขต เมืองปอน ที่ๆผมทำงานอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า

สาเหตุการเผาป่าการสอบถาม

1.  เกิดจากการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ทำกิน ไว้รอฤดูฝน ของชาวกระเหรี่ยง ในแต่ละปีจะมีการปลูกข้าวดอย ซึ่งอาศัยน้ำฝนเท่านั้น พื้นที่เขตนี้เป็นลักษณะเป็นดอย ภูเขา ไม่มี พื้นที่ราบกว้างเป็นร้อยๆไร่ หรอกครับ อย่างเก่งพื้นที่ติดกันก็แค่ 4 – 5 ไร่ ก็ถือว่ามากพอแล้ววิถีชีวิตการประกอบอาชีพ ทำนาปลูกข้าว สำหรับคนที่นี่ จะมีรูปแบบคือ

 สมมุติว่า ปีนี้ผมปลูกข้าวบริเวณ A แล้วปีหน้าผมต้องไปปลูกบริเวณ B ปีต่อไปปลูกบริเวณ C ต่อเรื่อยๆ D,E,F  แล้ววนมาปลูกบริเวณ A ซึ่งเป็นวิถีชีวิตเขาที่ทำมา เป็นร้อยปีแล้วครับ (จากการสอบถามผู้ใหญ่บ้าน) คงเข้าใจนะครับ

สรุป เป็นการปลูกข้าว โดยทำที่ A แล้วเว้นไว้ 7 ปี จึงจะวนกลับทำที่ A อีกครั้ง

แล้วท่านลองคิดดูสิครับว่า แต่ละปี ปีหนึ่งจะมีการเผาป่าเพิ่มขึ้น หรือลดลง อีกส่วนหนึ่งก็คือเผาพื้นที่ทำกินแล้วไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ เลยไหม้ป่าไม้เข้าไปอีก

นี่เป็นผลมาจากการขาดพื้นที่ๆราบ ไว้ทำกิน  ขาดน้ำ สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกในการทำเกษตร 

 

2.          การเผาป่าเพราะความเชื่อ ที่ว่า ถ้าเผาป่า พอถึงฤดูฝน ก็จะมีเห็ดขึ้น เช่น เห็ดถอบ(ไมทราบว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร ผู้รู้ตอบด้วย แฮะๆ)และเห็ดอื่นๆ  ก็ขายกันอยู่ ลิตรละ 70 -100 บาท  แต่จาการสอบถามหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า ที่21 หางปอน ท่านก็ ให้คำตอบว่า ไม่เกี่ยวกับการเผาป่าแล้วเห็ดจะขึ้น มาก ท่านเสริมอีกว่า  นี่เป็นความเชื่อส่วนตัว ที่มีมานาน

ท่านลองคิดดูว่า ความเชื่อส่วนตัว ทำให้ป่าไม้เสียหาย หมอกควันเต็มบ้าน เต็มเมือง คิดว่าสมควรแล้วหรือยัง

รณรงค์กันก็แล้ว ประกาศก็แล้ว จะต้องทำยังไงปัญหาไฟป่าถึงจะลดลง คงต้องปลูกจิตสำนึกให้เยาวชน ประชาชนได้ตระหนักถึง พิษของไฟป่าให้มากว่านี้ ละมั่งครับ

สงสารหน่วยป้องกันไฟป่า ประจำหมู่บ้านจริงๆครับ

คนหนึ่งเผา อีกคนหนึ่งดับ เห็นใจกันบ้างเถอะ มันเหนื่อยนะ  เห็นใจกันหน่อยเถอะ  

 

รูป  ข้าวไร่ ข้าวดอย บนสันเขา มีการเผาป่า สังเกตุจาก ตอไม้

รูป  ข้าวไร่ หรือข้าวดอย ที่ปีหนึ่งปลูกได้ครั้งเดียว

ที่บริเวณนี้ อีก 7 ปี ก็จะกลับมาทำการเพาะปลูกอีกครั้ง

นี่เป็นประสบการณ์เล็กน้อย จากการทำงานของผมที่ นำมาเล่าสู่กัน เพื่อหาแนวทางจากผู้รู้ในการแก้ปัญหาครับ

 ยินดีขอคำแนะนำและแนวทางแก้ไขไฟป่า ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 174925เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ

ดิฉันเขียนบันทึกสนุกกับการกินข้าว และลองซื้อข้าวดอยมาลองดู อ่านบันทึกนี้เลยไม่แน่ใจว่า ข้าวที่ดิฉันลองซื้อมา จะผ่านการปลูกมาโดยวิธีการนี้หรือไม่ ทำให้รู้สึกไม่ดีเลยคะ

จะว่าไปแล้ว เรื่องความเชื่อ ค่อนข้างเป็นเรื่องอ่อนไหว แถมยังเป็นเรื่องที่เปลี่ยนยากอีกด้วยคะ ถึงแม้จะสร้างความเข้าใจ แต่คงต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลกระทบของความเชื่อที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง

ขอบคุณมากคะ

สวัสดีครับ คุณมะปรางเปรี้ยว

ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทายครับ และให้คำแนะนำ ผมเห็นด้วยครับ ที่ว่าต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ผลกระทบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท