การเพาะเห็ดหลินจือ


วิธีการเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือหรือเห็ดหมื่นปี จัดเป็นเห็ดที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่มีสรรพคุณทางด้านเภสัชหรือเป็นยารักษารักษาโรค เห็ดชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย แต่ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักในนามของเห็ดจวักงู นอกจากนี้ยังได้มีการวิจัยศึกษาว่าเห็ดนี้สามารถลดครอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้

จากการที่ชาวจีนส่วนใหญ่เชื่อว่าเห็ดชนิดนี้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผู้บริโภคมีอายุยืนยาว จึงเรียกชื่อเห็ดพวกนี้ว่าเห็ดหลินจือ ซึ่งคนไทยเรียกว่าเห็ดหมื่นปี เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคุณสมบัติของเห็ด โครงสร้างของเห็ดชนิดนี้ จะมีลักษณะแห้งและแข็งเหมือนเนื้อไม้ ถ้าหากนำดอกเห็ดมาชุบยากันแมลง แล้วอบให้แห้งจะสามารถเก็บเห็ดชนิดนี้ได้นานนับชั่วอายุคน แต่ไม่ใช่หมายความว่าดอกเห็ดหลินจือที่เจริญเติบโตฌติบโตตามธรรมชาติจะมีอายุถึงหมืนปี

ลักษณะธรรมชาติของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ โดยเจริญเติบโตตามโคนไม้ ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน จากการศึกษาพบว่า เห็ดหลินจือเจริญเติบโตได้ดีบนตอไม้ที่ตายแล้ว โดยเฉพาะ ต้นคูน ก้ามปู หางนกยูงฝรั่ง ยางพารา ฯลฯ แต่ในบางครั้งพบว่าเห็ดชนิดนี้เป็นปรสิตของรากพืช จึงทำให้นักวิชาการหลายท่านเป็นห่วงว่า ถ้าเห็ดพวกนี้แพร่ระบาดออกไป อาจจะทำลายป่าไม้หรือทำลายพืชผลบางชนิดได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีรายงานจากประเทศมาเลเซียว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ เกิดโรคลำต้นเน่าในต้นปาล์ม และโรครากเน่าในมะพร้าว

ส่วนประกอบของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือจัดเป็นพวก polypore เห็ดพวกนี้ครีบดอกมีลักษณะเป็นรูอยู่ใต้หมวกดอก ประกอบกับเห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่หลายประเทศ เห็ดหลินจือที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด คนทั่วไปเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดหิ้ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายเห็ดในสกุล Ganoderma เห็ดหิ้งบางชนิดอาจไม่ใช่เห็ดหลินจือก็ได้ตามปกติเห็ดหลินจือมีรูปร่างส่วนประกอบดังนี้

  1. หมวกดอก (cap) ดอกเห็ดหลินจือ อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 ดอก ที่มีโคนดอกติดกัน หมวกดอกที่เกิดออกมาใหม่ๆ จะมีลักษณะเป็นแท่งสีเหลือง สีของดอกเห็ดจากยอดลงมาจะมีสีขาว สีเหลืองและสีน้ำตาล ตามลำดับ ต่อมาส่วนบนของหมวกดอกจะแผ่ออกคล้ายใบพัดดอกเห็ดในขณะที่ยังอ่อนอยู่จะมีสีขาวหรือสีเหลือง กลางหมวกดอกมีสีน้ำตาล แต่ถ้าหมวกดอกเจริญเติบโตเต็มที่ ขอบหมวกจะงองุ้มลง สีของหมวกดอกจะเข้มมากขึ้น เนื้อเยื่อภายในดอกเห็ดจะมีเส้นใยสีน้ำตาล ความหนาของผิวหมวกดอกไป จนถึงรูที่อยู่ใต้หมวกดอกจะหนาประมาณ 0.2-1.0 ซม. ผิวของหมวกดอกมีลักษณะเป็นเงามันคล้ายทาด้วยแซลแลค มีสีน้ำตาลแดง หรือสีเซสนัส
  2. ครีบดอก (gills) ครีบดอกของเห็ดหลินจือ จัดเป็นพวก porypore ได้หมวกดอกมีลักษณะเป็นรูเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองจำนวนมากมาย ภายในรูเป็นแหล่งกำเนิดสปอร์ เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์ออกมามากมาย สปอร์บางส่วนจะปลิวตกแต่สปอร์บางส่วนจะลอยขึ้นไปปกคลุมผิวของหมวกดอก มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลเมื่อนำสปอร์มาชิมดูจะพบว่ามีรสขม สปอร์ของเห็ดหลินจือมีสีน้ำตาลเป็นผง สปอร์มีรูปร่างกลมรีปลายด้านหนึ่งตัด มีผนัง 2 ชั้น ผนังชั้นนอกเรียบ ส่วนผนังชั้นในมีลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาชนผนังชั้นนอก
  3. ก้านดอก (stalk) เห็ดหลินจืออาจจะมีก้านดอกหรือไม่ก็โดยเฉพาะเห็ดหลินจือที่ขึ้นตามตอไม้ อาจไม่พบก้านดอกก็ได้ ก้านดอกอาจจะอยู่ถึงกลางหรือค่อนไปทางข้างใดข้างหนึ่งของหมวกดอกก็ได้

คุณสมบัติของเห็ดหลินจือในการรักษาโรค

เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผู้บริโภค มีอายุยืนนานโดยเฉพาะชาวจีนเชื่อกันว่า เห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณ นับเป็นพันปีๆ มาแล้ว ประกอบกับเห็ดหลินจือที่ขึ้นตามธรรมชาติมีน้อยมาก จึงทำให้เห็ดหลินจือมีราคาแพงมาก ต่อมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ สรรพคุณของเห็ดหลินจือในการรักษาโรคต่างๆ อย่างกว้างขวางมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

1. สารและประเภทของสารในเห็ดหลินจือ จากการสกัดสารต่างๆ ที่พบในเห็ดหลินจือและมีสรรพคุณในการรักษาโรคมีหลายชนิด ได้แก่

  1.  
    1. Cholestan สารพวกนี้จัดเป็นสารพวก steroid
    2. Ergosterol จัดเป็นสารพวก steroid
    3. Ganoderan จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรท
    4. Ganoderic acid จัดเป็นสารประเภทไตรเตอร์ฟีน
    5. G. lucidum antibiotic จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรท
    6. G. lucidum Polysaccharide จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรท
    7. Lucidenic acid จัดเป็นสารประเภทไตรเตอร์ฟีน

2. คุณค่าทางอาหาร เห็ดหลินจือมีสารอาหารที่พบทั่วไป หลายอย่างโดยเฉพาะแร่ธาตุพวกโพแทสเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ วิตามิน ฯลฯ

3. สรรพคุณต่อต้านเนื้องอก จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า เห็ดหลินจือมีสารที่สามารถต่อต้านเนื้องอก (antitumor) สารดังกล่าวคือ (1-3)-b-D glucan ซึ่งจัดเป็นสารพวก polysaccharide สารพวกนี้ยังพบในพวกเห็ดหอมและเห็ดอื่นๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน

4. สรรพคุณในการรักษาโรคอื่นๆ จากรายงานการวิจัยสารสกัดจากเห็ดหลินจือในการรักษาโรคชนิดต่างๆ พบว่า สารที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือสามารถรักษา โรคแพ้ โรคความดัน โรคตับ โรคกระเพาะ ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มความต้านทานโรค โดยการทดสอบกับหนู และยังมีเอกสาร รายงานว่าเห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคการอุดตันของเส้นเลือด โรคหลอดลมอักเสบ ฯลฯ

การเพาะเห็ดหลินจือ

     เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันใช้รับประทานบำรุงสุขภาพ มา ช้านาน เห็ดชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพงและมีรสชาดขม การเพาะทำได้ไม่ยากโดยใช้ขี้เลื่อยผสม วัสดุต่าง ๆ ดังวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

สูตรอาหาร

1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100  กิโลกรัม
  รำ  1.5  กิโลกรัม
  ดีเกลือ  0.2  กิโลกรัม
  น้ำ  60 – 65  เปอร์เซ็นต์
2. ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา 100  กิโลกรัม
  รำละเอียด  5  กิโลกรัม
  ดีเกลือ  0.2  กิโลกรัม
  ยิบซั่ม  กิโลกรัม
  น้ำ  60 – 65  เปอร์เซ็นต์
3. ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ  100 

กิโลกรัม

  ปูนขาว 

กิโลกรัม

  ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 

กิโลกรัม

  น้ำ  60 – 65

กิโลกรัม

  อุปกรณ์

  1.  
    1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 3 นิ้ว หรือ 6 ½ x 12 นิ้ว
    2. คอพลาสติกสำเร็จรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว พร้อมที่ครอบปิดและมีฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง) หรือสำลีหรือฝาปิดแบบประหยัด
    3. ยางรัด ตะเกียงแอลกอฮอล์
    4. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
    5. โรงเรือนพร้อมชั้นสำหรับบ่มก้อนเชื้อ และเปิดดอกแยกกัน
    6. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยาง
    7. พลั่วและหม้อนึ่งไม่อัดความดัน

 

วิธีการทำ

     1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่น ๆ เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้ แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ สำหรับสูตร 1 และ 2

     2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัม/ถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ รวบปากถุงใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลงรัดด้วยสายยางวงทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้หลุม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด

     3. นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันนึ่ง แล้วนึ่งนานประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตุจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝาแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

     4. การหยอดหัวเชื้อเห็ด หัวเชื้อเห็ดนั้นจากต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะและก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20 – 30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มี ลมพัดผ่าน

     5. การบ่มก้อนเชื้อนำถุงที่ใส่หัวเชื้อเห็ดวางบนชั้นในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุงใช้เวลาประมาณ 1 – 1 ½ เดือน

     6. การปิดออก ดึงฝาครอบคอขวดออกแล้วนำก้อนเชื้อซึ่งเส้นใยเจริญเต็มถุงไปวางในโรงเรือนสำหรับเปิดดอกโดยวางซ้อนกัน ให้น้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง โดยรดน้ำไปตามบริเวณพื้นและรอบ ๆ โรงเรือน อย่าให้น้ำถูกดอกเห็ด ในโรงเรือนต้องมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี ดอกเห็ดจะค่อย ๆ เจริญใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ขึ้นกับสภาพอากาศจึงจะเจริญเต็มที่ การเก็บดอกให้สังเกตบริเวณขอบของดอกจะเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน ทั้งดอก แล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่งจึงจะเก็บ การเก็บดอกเห็ดหลินจือต้องพยายามดึงดอกเห็ดให้หลุดออกมาทั้งหมด ผลผลิตดอกเห็ดหลินจือสดจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่เพาะ โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ผลผลิตประมาณ 50 – 100 กรัม ต่อถุงขี้เลื่อยขนาด 900 กรัม

     7. การทำแห้ง ดอกเห็ดหลินจือนิยมเก็บไว้ในสภาพแห้ง เมื่อเก็บดอกเห็ดสดมาแล้วก็ตัดส่วนปลายก้อนทิ้งเล็กน้อยแล้วล้างดอกเห็ดทิ้งให้สะเด็ดน้ำหรือไม่ต้องล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เมื่อหันเสร็จต้องรีบนำไปตากหรืออบแห้งทันที ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำสีขาว ๆ ออกมาจะทำให้มีสีขาวติดอยู่กับเห็ด ซึ่งทำให้เห็ดเสียราคาได้

     การทำแห้งก็โดยการตากแดดจัด ๆ สัก 3 ครั้ง แล้วอบที่อุณหภูมิ 71 º ซ. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ ใช้อบที่อุณหภูมิ 60 – 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 – 24 ชั่วโมง นำมาผึ่งให้เย็นแล้วเก็บใส่ถุงให้มิดชิด

หมายเลขบันทึก: 173700เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ดอกเห็ดสวยงาม คอขวดพลาสติก เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดทุกชนิด ในการลำเลียงเลี้ยงเห็ดให้เจริญงอกงาม ติดสอบถามรายละเอียดได้ที่ สุภัสสร 089-482-0415 เป็นโรงงานผลิตเอง ราคาย่อมเยาว์ คอขวดพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว (มีทั้งจุกและคอขวด) การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก มีวิธีทำที่ง่ายและสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง อีกทั้งยังเป็นที่นิยมนำไปประกอบอาหารรับประทานกันมากขึ้น เพราะให้ประโยชน์ต่อร่างกายและการเพาะเห็ด 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 4 เดือน สำหรับเห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติก ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เป็นต้น ขั้นตอนการเตรียมถุงก้อนเชื้อเห็ด วัตถุดิบ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ปูนขาวหรือยิบซั่ม ดีเกลือและน้ำ วิธีทำ นำขี้เลื่อยแห้ง เลือกเศษไม้ออกให้หมดมาผสมกับรำละเอียด ปูนขาวหรือยิบซั่มคลุกเคล้าให้เข้ากัน ละลายดีเกลือในน้ำ รดลงไปบนอาหารที่ผสมแล้ว อย่าให้แห้งหรือแฉะจนเกินไป ทำแล้วต้องเป็นก้อน กรอกส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงร้อนที่ใช้ในการเพาะเห็ดโดยเฉพาะ ถุงหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม อัดให้แน่นรัด คอขวดใส่สำลีรัดด้วยกระดาษ นำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อในถังนึ่ง 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเอาออกจากถังแล้วนำไปใส่เชื้อเห็ด ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 20-45 วัน เห็ดจะเดินเต็มถุงที่เพาะไว้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สุภัสสร 089-482-0415 ,

ชื่ออาชีพอิสระ เพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ

เงินลงทุน ครั้งแรกประมาณ 8,000 บาท ขึ้นไป (ก้อนเชื้อเห็ด ก้อนละ 3-10 บาท โรงเรือนประมาณ 4,000 บาท ขึ้นไป)

รายได้ 8,000 บาท ขึ้นไป/เดือน (อาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเห็ดที่เก็บได้ และราคาตลาดของเห็ดแต่ละชนิด)

อุปกรณ์ ก้อนเชื้อเห็ด โรงเรือนเพาะเห็ดคลุมด้วยตาข่าย หรือมุงจากชั้นแขวนก้อน เชื้อเห็ดบัวรดน้ำ เกย์วัดความชื้น

แหล่งจำหน่าย ร้านค้าหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้าน อรัญญิก ฟาร์มเพาะเห็ดทั่วไป

วิธีดำเนินการ

ไปซื้อถุงเชื้อเห็ดจากแหล่งจำหน่าย ซึ่งถุงเชื้อเห็ดนั้น โดยทั่วไปเป็นถุงพลาสติกบรรจุเชื้อเห็ดมีรูปทรงคล้ายขวด โดยมีพลาสติกรูปทรงคอขวดใส่ปากถุงไว้เพื่อให้คล้ายคอขวด และมีจุกสำลีอุดปากถุง

เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดยานางิ

ปิดถุงเห็ด โดยดึงจุกสำลีและพลาสติกที่ทำเป็นคอขวดออก ปาดปากถุง ส่วนเห็ดเป๋าฮื้อและยานางิไม่ต้องปาดปากถุง นำไปวางซ้อนกันบนชั้นแขวนในโรงเรือน โดยให้ถุงอยู่ในลักษณะแนวนอน รดน้ำรักษาความชื้น 70-90% วันละ 2 - 6 ครั้ง โดยรดน้ำเป็นฝอยพ่นเหนือถุง อย่ารดน้ำเข้าปากถุง หลังจากนั้นจะเริ่มมีดอกเห็ดโผล่ออกมาทางปากถุง ประมาณ 7-10 วัน ก็เก็บเห็ดรุ่นแรกได้ ระยะห่างของรุ่น10-15 วัน ส่วนเห็ดเป๋าฮื้อและยานางิ ประมาณ 10-15 วัน เก็บเห็ดได้ ระยะห่างของรุ่น 30-40 วัน

เห็ดหูหนู

เปิดถุงเห็ด โดยดึงสำลีและพลาสติกที่ทำเป็นคอขวดออก รัดปากถุงแล้วเอามีดกรีดข้างถุงเป็นแนวเฉียง 4 แนว ๆ ละ 3 บั้ง นำไปวางบนชั้นแขวน รดน้ำรักษาความชื้น 80-90% ประมาณ 10-15 วัน เก็บเห็ดได้ ระยะห่างของรุ่น 15-20 วัน

เห็ดหอม

กรีดถุงเห็ดให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุง 1-2 นิ้ว รดน้ำรักษาความชื้น 70-80% ประมาณ 7-10 วัน จะเก็บผลผลิตรุ่นแรกได้ ระยะห่างของรุ่น 15-20 วัน

ตลาดจำหน่าย ตลาดสด ขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้า ซุปเปอร์มาเก็ต โรงงานแช่แข็ง โรงงานบรรจุกระป๋อง

ข้อแนะนำ

1. เงินลงทุนอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ปริมาณก้อนเชื้อเห็ดและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

2. การเลือกก้อนเชื้อเห็ด ควรเลือกที่มีเส้นใยเต็มถุง ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา และเป็นก้อนเชื้อที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

3. การรดน้ำเห็ดทุกชนิดที่อยู่ในถุงเชื้อเห็ด ควรรดน้ำเหนือถุง อย่ารดน้ำเข้าปากถุงเพราะน้ำจะขังอยู่ในถุง ทำให้เชื้อเสียเร็ว

4. โดยปกติ ก้อนเชื้อเห็ดจะหมดอายุการเก็บผลผลิตเมื่อครบ 3 เดือน

สอบถามเพิ่มเติม อภิรดี 086-080-1234 (จำหน่ายอุปกรณ์เพาะเห็ด)

บางข้อความผมขออนุญาติคัดลอกไปไว้ในเว็บของผมเพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ฝากเ็ว็บเกี่ยวกับเห็ดครับ http://www.bassbio.com

ใ้ห้คำปรึกษาฟรี

089-411-4364

บาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท