วิจัยการอ่านเร็ว


การอ่านเร็วเป็นการพัฒนาการอ่านที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง

คำนำ

 

                     รายงานการวิจัยเรื่องความสามารถการอ่านเร็วและความเข้าใจในการอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเร็วในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ และเพื่อศึกษาความเข้าใจในการอ่าน

จับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

                    การอ่านเร็วเป็นทักษะที่ควรฝึกให้แก่นักเรียนทุกระดับชั้น ทักษะที่เกิดขึ้นจะติดตัวไปกระทั่งถึงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา และต่อไปตลอดชีวิต เมื่อมีทักษะแล้วก็จะสามารถนำไปใช้ในการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิงได้อย่างสะดวก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครูมักจะสนใจว่านักเรียนของตนอ่านเข้าใจเพียงใด อ่านได้ความว่าอย่างไรมากกว่าที่จะสนใจว่านักเรียนอ่านได้เร็วเพียงใด การอ่านเร็วมีหลายแบบจำแนกได้ตามจุดมุ่งหมายในการอ่าน  เช่น การอ่านเพื่อจับประเด็นสำคัญของเรื่อง  การอ่านเร็วนี้โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา ได้ฝึกฝนให้นักเรียนอ่านจับใจความสำคัญและทดสอบการอ่านเร็ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเสนอผลงานวิจัย อันเป็นแนวทางการพัฒนาการอ่านของนักเรียนโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เพราะการอ่านเร็วเป็นทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

          ผู้วิจัยใคร่ขอขอบพระคุณ รศ.บรรเทา  กิตติศักดิ์ ที่ให้คำปรึกษาแนะนำการวิจัย

ทำให้งานวิจัยสำเร็จด้วยดี หวังว่ารายงานการวิจัยเรื่องความสามารถการอ่านเร็วและความเข้าใจ       ในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรานี้ จักเป็นประโยชน์แก่ครู อาจารย์ และผู้สนใจที่จะใช้เป็นแนวทางในการวิจัยต่อไป

 

 

                  

 

 

 

 

                                                                         (นางลักษณา สังฆมาศ)

                                                                                                                                         ผู้วิจัย

 

 

 

 

  

 

 

บทคัดย่อ

 

           ความสามารถการอ่านเร็วและความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเร็วในการอ่าน และเพื่อศึกษา  ความเข้าใจในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  การอ่านเร็วเป็นทักษะ        ที่เกิดขึ้นและจะติดตัวไปกระทั่งถึงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา และต่อไปตลอดชีวิต เมื่อมีทักษะแล้วก็จะสามารถนำไปใช้ในการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิงได้อย่างสะดวก กลุ่มประชากร    ที่ใช้ศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  จำนวนทั้งสิ้น ๔๖๒ คน แยกเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๐๖ คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๓๕ คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๒๑ คน

 ขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้จะวิจัยเกี่ยวกับ ความเข้าใจการการอ่านเฉพาะการเก็บใจความสำคัญและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ความเร็วในการอ่านในใจ จากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิจัยครั้งนี้จะวิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา  เขตบางเขน  กรุงเทพฯ  เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบทดสอบอ่านเร็ว เรื่องกระดานดำ จากสารภาษาไทย ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๔๕ การเก็บข้อมูล ให้นักเรียนทำแบบทดสอบโดยอ่านเรื่อง และบันทึกเวลาในการอ่าน จากนั้นจึงตอบคำถามในเรื่อง ตรวจให้คะแนน จากตรางที่ ๑ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒  มีผลการอ่านเร็วสูงสุดค่าเฉลี่ย ๕๘  คำ/นาที   และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๓ มีผลการอ่านเร็วต่ำสุดค่าเฉลี่ย ๓๒ คำ/นาที  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๓  มีผลการอ่านเร็วสูงสุดค่าเฉลี่ย ๖๓ คำ/นาที และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒ มีผลการอ่านเร็วต่ำสุดค่าเฉลี่ย ๔๐ คำ/นาที นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑  มีผลการอ่านเร็วสูงสุดค่าเฉลี่ย ๖๘ คำ/นาที และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ มีผลการอ่านเร็วต่ำสุดค่าเฉลี่ย ๓๙ คำ/นาที    จากตารางที่ ๒  พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑  มีความสามารถอ่านจับใจความสำคัญ X  ๔.๖๗    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑  มีความสามารถอ่านจับใจความสำคัญ  X  ๘.๐๙  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา       ปีที่ ๓/๓  มีความสามารถอ่านจับใจความสำคัญ  X  ๙.๒๙   จากตารางที่ ๓ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑ , ม.๒/๑, ม.๓/๓  มีความสามารถในการอ่านเร็ว และมีความสามารถอ่าน     จับใจความสำคัญดีกว่าทุกระดับ  จากตารางที่ ๔  พบว่านักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านเร็วสูงสุดได้แก่ นักเรียนชั้น  ม. ๑/๑  มีจำนวนร้อยละ  ๔๐.๓๘   รองลงมาชั้น ม.๑/๒  มีจำนวนร้อยละ ๓๕.๒๙  นักเรียน ชั้น  ม. ๒/๒  มีจำนวนร้อยละ  ๗๕.๖๐  รองลงมาชั้น ม.๒/๓ มีจำนวนร้อยละ ๖๘.๖๒  นักเรียนชั้น  ม. ๓/๑   มีจำนวนร้อยละ ๘๕.๓๗   รองลงมาชั้น ม.๓/๓  มีจำนวนร้อยละ ๗๓.๘๐   จากตารางที่ ๕ พบว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงสุดและตำสุด ดังนี้   นักเรียนชั้น  ม. ๑/๑  มีจำนวนร้อยละ  ๘๐.๗๗  ต่ำสุดชั้นม.๑/๓ มีจำนวนร้อยละ ๖๘.๒๓

นักเรียน ชั้น  ม. ๒/๒  มีจำนวนร้อยละ  ๙๒.๖๘  ต่ำสุดชั้น ม.๒/๑ มีจำนวนร้อยละ ๓๙.๕๓                       นักเรียนชั้น  ม. ๓/๑   มีจำนวนร้อยละ ๘๗.๘๐    ต่ำสุดชั้น ม.๓/๒ มีจำนวนร้อยละ ๕๐.๐๐

     จากตารางวิเคราะห์ผลพบว่าความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ         แต่นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านสูงมีจำนวนมาก

 

บทที่ ๑

                                                       บทนำ

ความสำคัญของปัญหา

 

                การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนการสอนทุกระดับชั้น เพราะเกี่ยวข้องกับวิชาอื่น ๆ   ในหลักสูตร และเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาต่าง ๆ เด็กที่อ่านได้ดี คือ สามารถอ่านได้เร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้อง ย่อมช่วยให้การเรียนวิชาอื่น ๆ ดีด้วย การอ่านที่ดีและมีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงความเร็วในการอ่านและความเข้าใจในการอ่านด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ สนิท ตั้งทวี (2526 : 104)  ได้เสนอความคิดเห็นว่า ผู้ที่อ่านได้รวดเร็วและสามารถจับใจความจากข้อความ หรือเรื่องที่อ่านได้ย่อมได้คุณประโยชน์อย่างยิ่งในการแสวงหาความรู้ในเวลาจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ยังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ

                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เป็นนักเรียนที่จะต้องมีความสามารถในอ่านในใจ และมีความเร็วในการอ่านพอสมควร และต้องได้รับการฝึกฝน   (สมถวิล วิเศษสมบัติ ๒๕๒๘ )  เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีอัตราเร็วในการอ่านสูงย่อมแสวงหาความรู้และการศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่นักเรียนจะอ่านได้เร็วขึ้นนั้นต้องได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑.      เพื่อศึกษาความเร็วในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  

โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา

๒.      เพื่อศึกษาความสามารถความเข้าใจการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา

 

ขอบเขตของการวิจัย

 

       การวิจัยครั้งนี้จะวิจัยเกี่ยวกับ

๑.      ความเข้าใจการการอ่านเฉพาะการเก็บใจความสำคัญและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง

๒.      ความเร็วในการอ่านในใจ จากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

๓.      การวิจัยครั้งนี้จะวิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ 

โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา  เขตบางเขน  กรุงเทพฯ

 

 

 

 

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

๑.      ทราบความเร็วในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓  เพื่อพัฒนาความเร็วของนักเรียนเป็นรายบุคคล

๒.      ทราบความสามารถในการอ่านเพื่อเก็บความเข้าใจ เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน

 

นิยามศัพท์

          อัตราเร็วในการอ่าน หมายถึง จำนวนนาทีที่ใช้ในการอ่านเนื้อเรื่องจากแบบฝึกหัด           หรือแบบทดสอบตามจำนวนคำที่กำหนดไว้ อัตราเร็วในการอ่านคิดเป็นจำนวนคำต่อนาที
ความเข้าใจในการอ่าน หมายถึง การอ่านที่สามารถตอบคำถามจากแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ      วัดอัตราเร็วในการอ่านได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ

           การฝึกอ่านเร็ววิธีง่ายๆคือกำหนดปริมาณหนังสือที่จะอ่านไว้ล่วงหน้าเช่น กำหนดครั้งละ    ๕ หน้า เมื่อเริ่มต้นอ่านให้ลงมือจับเวลาดูทุกครั้งว่าตั้งแต่หน้าต้นจนจบกินเวลากี่นาที ทำเช่นนี้เรื่อยๆ  ไปจนเห็นว่าเวลาที่ใช้ในการอ่านแต่ละหน้านั้นลดน้อยลงทุกที

          ขณะที่อ่านควรฝึกสายตาให้กวาดไปตามตัวหนังสืออย่างรวดเร็วอย่าอ่านทีละคำๆ           ควรฝึกนิสัยใหม่เป็นอ่านทีละประโยคๆหรืออ่านทีละกลุ่มของคำจะทำให้การอ่านเร็วขึ้น

          เมื่ออ่านจบแล้ว ลองทดสอบความเข้าใจในการอ่านทุกครั้งเช่น ลองถามตนเองว่าเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่กล่าวถึงอะไรมีสาระสำคัญอะไรบ้างลองจดคำตอบใส่กระดาษแล้วเปิดหนังสือดู          เพื่อเปรียบเทียบภายหลังก็ได้พยายามสำรวจข้อบกพร่องทุกครั้งว

หมายเลขบันทึก: 173133เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท