เรียนรู้เรื่อง Spiritual Transformation


คงถึงเวลาที่จะหยุดแล้วกลับมาค้นหาที่ตัวเองว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เราคงอยากจะอยู่อย่างมีความหมาย เราต้องกลับมาดูแลหัวใจตนเอง

11-14 มีค.51 มีประชุม  HA National Forum ครั้งที่ 9  ณ อิมแพคเมืองทองธานี  ซึ่ง theme ปีนี้ เป็นเรื่อง  องค์กรที่มีชีวิต (Living Organization ) จากการศึกษารายละเอียดจากกำหนดการและตารางกิจกรรมต่างๆ สนใจเรื่อง จิตวิวัฒน์ จึงเลือกที่จะไปฟังห้อง  เรือนชาน กันเอง (Spiritual Transformation) ซึ่งร่วมจัดโดยทีมสถาบันขวัญเมือง เชียงราย มีโอกาสเข้าร่วมในวันที่ 13-14 มีค.51โดยร่วมเรียนรู้ใน 5 ประเด็น 

ประเด็นแรก   :  การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ตนเอง คนทำงานสาธารณสุข

    ประสบการณ์ของการนำ "สุนทรียสนทนา"ไปใช้เพื่อเปิดพื้นที่ให้ตนเอง ในโรงพยาบาล ครอบครัว และในชุมชน ของรพ.สวรรค์ประชารักษ์

    แนวคิดของกระบวนกร( คุณธนัญธร เปรมใจชื่น) จากสถาบันขวัญเมือง เกี่ยวกับมิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงองค์กรสะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมา เราจัดการกับใครต่อใครมามาก คงถึงเวลาที่จะหยุดแล้วกลับมาค้นหาที่ตัวเองว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร  เราคงอยากจะอยู่อย่างมีความหมาย เราต้องกลับมาดูแลหัวใจตนเอง

2. การเยียวยาองค์กรด้วยพลังจิตร่วม

 จิตร่วมขององค์กรสะท้อนออกมาทางบรรยากาศ และวัฒนธรรมที่ทำงาน ตราบใดที่จิตใจผู้คนยังไม่พร้อมที่จะหลอมรวมกัน ตลอดจนสำนึกถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อสังคมและองค์กร ตราบนั้น การขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าก็จะเหมือนการขับรถที่ไร้น้ำมัน ที่เต็มไปด้วยแรงต้าน แรงเฉื่อย ความขัดแย้ง ความเพิกเฉยที่ไม่มีวันหมดสิ้น

องค์กรป่วย ดูจาก คนในองค์กรไร้พลัง ไร้แรงบันดาลใจ แบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่อยากพูดคุยเชื่อมโยง

การสื่อสารที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ โรค (บี้ เบิ้น โบ้ย บ่น บูด เบี้ยว ใบ้) ตัดสินโลกตามมาตรฐานของตนเอง ทำไมต้องทำงานหนักคนเดียว อยู่เฉยๆดีกว่า

          บาดแผลของคนทำงานในองค์กร เกิดจากเราต่างพิพากษากัน

          บาดแผลในองค์กรเกิดจากบาดแผลในใจเรา

          โรคพร่องทางจิตวิญญาณต้องแก้ด้วย Spiritual Transformation

มีตัวอย่างการนำกระบวนการสุนทรียสนทนา สร้างพื้นที่แห่งการหันหน้าเข้าหากัน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการตื่นรู้ การอยู่ร่วม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของ วิทยากร(คุณสมพล ชัยสิริโรจน์)จากบริษัท ไอซีซี จำกัด และจากคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล(ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ)

 

3.การนำพาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยวิทยากร   ดร.โคทม อารียา

           ความขัดแย้ง ลดได้ด้วยจิตใจที่ดี และระบบที่ดีช่วยป้องกันความขัดแย้ง

           ความขัดแย้งเป็นความทุกข์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสื่อสาร   การสื่อสารที่ดีคือ สันติวิธี

4.การสื่อสารด้วยความรักและสันติสุข โดยวิทยากร คุณนริศ มณีขาว

ได้เสนอ 3 ทางเลือกเพื่อการสื่อสารสันติวิธี คือ 1. เข้าใจผู้อื่น 2. สื่อให้ผู้อื่นรู้ 3.เข้าใจตนเอง

2 คำถามที่มีความหมาย

คำถามแรก ทำไมมนุษย์จึงขาดความกรุณา 2. ทำไมบางคนยังกรุณาได้แม้อยู่ในสถานการณ์เลวร้าย

ถ้าเอาความต้องการมาคุยกัน จะคุยกันรู้เรื่อง

ความสัมพันธ์คือเป้าหมายของการสื่อสารอย่างสันติ เป็นเรื่องใจกับใจไม่ใช่เทคนิค

5.เรียนรู้จากโลกกว้าง สร้างแรงบันดาลใจแทนการใช้อำนาจ (ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, คุณทิชา ณ นคร ,คุณอภิชาติ การุณกรสกุล)

คุณอภิชาติ การุณกรสกุล  ผู้นำ ที่ทำให้คนทำงานเห็นว่าที่ทำงานเป็นได้มากกว่าแค่ที่ทำมาหากิน โดยใช้จุดแข็งของคนไทยคือความกตัญญู เสียสละ ความมีวินัย รวมทั้งส่งเสริมให้เอาความดีเป็นที่ตั้ง จนกลายเป็นพลังหลักในการพัฒนาองค์กร

  ตัวอย่าง

**กองทุนที่ได้เงินมาจากความดีของพนักงาน เช่น เลิกเหล้า บุหรี่ ยิ่งมีมากบริษัทยิ่งนำเงินเข้ากองทุนมาก       เป็นการใช้เงินเป็นสื่อเชื่อมโยงกับความดี

**กองทุนพัฒนาบ้านเกิด  3,000 บาท/ทุน ซึ่งพนักงานเขียนขอได้ เพื่อนำไปพัฒนาบ้านเกิด  ทำให้พนักงานเข้าถึงความสุขของการเป็นผู้ให้

คุณทิชา ณ นคร เล่าประสบการณ์บ้านการญจนาภิเษก ซึ่งเป็นบ้านทดแทนชั่วคราวของวัยรุ่นที่ก้าวพลาด ทำให้เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดถึงขั้นถูกพิพากษา  เห็นคุณค่า และความสามารถของตนเอง จนถึงขั้นที่อยากเปลี่ยนแปลงตนเอง เพราะปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เพราะอำนาจของคุกหรือผู้ควบคุม คุณทิชา ได้ใช้ความเป็นมนุษย์ไปต่อยอดความเป็นมนุษย์

ทั้ง 5 ประเด็นข้างต้นก็ได้ เรียนรู้หลากหลายประสบการณ์ในหลากหลายบริบทของแต่ละองค์กร  ในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  การเปิดพื้นที่ทางสังคม  เพื่อสุขภาวะขององค์กรและคนทำงาน

   

หมายเลขบันทึก: 172620เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้เรียนรู้จากปิ่งเพราะไม่มีโอกาสไปค่ะ ขอบคุณที่มาเล่าให้ทราบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท