สภามหาวิทยาลัย (5)


การกำกับด้วยหลัก 7 ประการเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีผลงานที่คาดหวัง

         อย่าลืมว่าหัวใจของมหาวิทยาลัยคือการเป็นองค์การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของสังคม

หลักข้อที่ 1
           ประชาธิปไตยไม่ใช่มนต์วิเศษที่จะทำให้งานทุกอย่างสำเร็จ   การพัฒนางานบางอย่างอาจไม่สามารถทำได้โดยการทำให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น
           การเอาหลักประชาธิปไตยทางการเมืองมาใช้ในมหาวิทยาลัยต้องใช้อย่างจำกัดและระมัดระวัง

หลักข้อที่ 2
          สิทธิของความเป็นพลเมือง  กับสิทธิในการเป็นอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน
          สิทธิของสมาชิกในมหาวิทยาลัยไม่เท่าเทียมกันในคนต่างกลุ่ม

หลักข้อที่ 3
          สิทธิและความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยควรเป็นไปตามระยะเวลาที่ผู้นั้นจะอยู่ในมหาวิทยาลัย

หลักข้อที่ 4
          ผู้มีความรู้มากกว่า   ควรมีสิทธิมีเสียงมากกว่า
          เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งความรู้   ผู้มีความรู้มากกว่าจึงควรมีสิทธิมีเสียงมากกว่าภายใต้ระบบการถกเถียงโต้แย้งที่ละเอียดซับซ้อน

หลักข้อที่ 5
          คุณภาพของการตัดสินใจสูงขึ้นได้จากการลดผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างเอาจริงเอาจัง

หลักข้อที่ 6
          การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยควรช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัย

หลักข้อที่ 7
          ระบบการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย   ต้องมีส่วนที่เป็นอนุระบบของการปรึกษาหารือ (consultation) และอนุระบบด้าน accountability   อนุระบบทั้งสองต้องมีความชัดเจน

 

คุณภาพของมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับ
 - การมีภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง
 - การเปิดช่องให้มีการทดลองแนวความคิดใหม่ ๆ
 - การมีทั้งการแข่งขันและความเป็นอิสระ   เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศที่ยกระดับขึ้นไปไม่มีที่สิ้นสุด

Ref.  Henry Rosovsky.   The University : An Owner's Manual.   New York : Norton Paperback, 1991

สภามหาวิทยาลัย (1)

สภามหาวิทยาลัย (2)

สภามหาวิทยาลัย (3)

สภามหาวิทยาลัย (4)

วิจารณ์  พานิช
 20 ก.พ.49

หมายเลขบันทึก: 17243เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2006 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท