เราจะเลือกเรียนสาขาอาชีพทางวิศวกรรม...อะไรดี..?


สาขาอาชีพทางวิศวกรรม

        เมื่อเราสนใจงานด้านวิศวกรรมแล้ว และตกลงใจที่จะเรียนทางด้านวิศวกรรม ก่อนอื่นต้องมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ชอบจริง เพราะนั่นมันจะเป็นการเลือกอาชีพของเราในอนาคตเลยทีเดียว ดังนั้นเราต้องถือว่าเป็น อุดมการณ์  การที่จะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายในภายหลังก็เป็นไปได้ เมื่อสภาพการเปลี่ยนไป ต้องไม่ลืมว่าสังคมและเศรษฐกิจหรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ มีส่วนให้เราปรับเปลี่ยนอาชีพได้เสมอ

       แล้วอะไรละ..? ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการเลือกอาชีพทางวิศวกรรม ความชอบอย่างเดียวคงไม่ใช่แน่ ! แต่ต้องประกอบด้วยกันหลายสิ่ง เช่นความสำคัญของอาชีพที่มีต่อสังคม การได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มกำลัง ผลที่จะได้รับทั้งในแง่ของค่าตอบแทน ความพึงพอใจหรือความสุขในงานที่ทำ ผู้ร่วมงาน สถานที่ ความก้าวหน้า โอกาสสำหรับชีวิต ครอบครัวและการทำให้สังคมเป็นสังคมที่ดี ต้องนำพิจารณาทั้งหมด

      สาขาต่างๆ ทางวิศวกรรมมีมากมายในปัจจุบัน จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราชอบเป็นงานสาขาอะไร จากคำกล่าวของฝรั่งที่กล่าวไว้นานแล้วว่า ถ้าจะแยกหรือจำแนกว่าเป็นงานวิศวกรรมสาขาอะไรมีหลักง่ายๆ คือ

        If it smells, it is chemical engineering!         ถ้าคุณได้กลิ่น นั่นคือวิศวกรรมเคมี

        If it sits still, it is civil engineering!              ถ้ามันอยู่กับที่ นั่นวิศวกรรมโยธา 

        If you can't see it, is electrical engineering!  ถ้าคุณมองไม่เห็นอะไร นั่นคือวิศวกรรมไฟฟ้า 

        If it move, it is mechanical engineering!      ถ้ามันเคลื่อนที่ นั่นคือวิศวกรรมเครื่องกล

        นี่เป็นสิ่งที่จะทำให้เห็นสาขางานทางวิศวกรรมแบบง่ายๆ ซึ่งในปัจจุบันมีสาขาแตกย่อยมากมาย เป็นต้นว่า

         วิศวกรรมโยธา(civil) ก่อสร้าง(construction) โครงสร้าง (strucural) ผังเมือง(urban) การทาง(highway) ขนส่ง(transportation) ธรณี(geotechnical) แหล่งน้ำ(water resources) สิ่งแวดล้อม(environmental)

         วิศวกรรมเครื่องกล(mechanical) กลศาสตร์ประยุกต์(applied mechanics) พลังงาน(energy) ออกแบบ(design) โรงงานไฟฟ้า(power plants) กลศาสตร์ของไหล(fluid mechanics) ฯ

         วิศวกรรมเคมี(chemical) อาหาร(food) การควบคุมมลพิษ(pollution) เคมีไฟฟ้า(electrochemical) การผลิตพลังงาน(energy production) โพลีเมอร์(polymeric) ฯ

         วิศวกรรมไฟฟ้า(electrical) อิเล็กทรอนิกส์(electronic) การสื่อสาร(communication) คอมพิวเตอร์(computer) เครื่องมือวัด(instrumentation) การผลิตและการส่งผ่านกำลังงาน(power generation and transmission) ฯ

         วิศวกรรมอุตสาหการ(industry) การจัดการ(management) การผลิต(manufacturing) ออกแบบโรงงาน(plant design) การควบคุมการผลิตและคุณภาพ(production and quality control) การวิเคราะห์ระบบ(system analysis)

         รายละเอียดในแต่ละสาขาจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป

ก่อนจากกัน....ขอยืมภาพจากเว็ป 9engineer.com มาฝาก

จะเกิดอะไร...หากโลกนี้ไม่มีวิศวกร
HAPPY ENGINEERS DAY...
World without Engineers:

ดูภาพได้ที่ www.9engineer.com/555/no_eng.htm

หมายเลขบันทึก: 171835เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท