ความเหมือนที่แตกต่าง


ขออภัยที่ห่างหายไปนานครับ

เวลาที่มองดูใบไม้ผมมักจะอดพิศวงไม่ได้กับความแตกต่างหลากหลายของมัน ผมกำลังพูดถึงใบไม้จากต้นไม้ชนิดเดียวกันครับ ตัวอย่างเช่นใบมะม่วง ท่านเคยเห็นใบมะม่วงสองใบที่เหมือนกันทุกอย่างไหม ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ขนาด หรือเส้นลายของใบ ผมเห็นว่านี่เป็น มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ที่ยากที่จะเลียนแบบ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถสรรค์สร้างความแตกต่างที่ว่านี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด!

  

         ท่านเคยสังเกตไหมครับว่า ไม่ว่าใบมะม่วงแต่ละใบจะแตกต่างกันเพียงใด แต่เมื่อเรามองไปเห็นเราก็ยังรู้ได้ว่านี่เป็นใบมะม่วง ไม่ใช่ใบมะยม ไม่ใช่ใบมะขาม นี่คือความสวยงามของความหลากหลายนี้ ความแตกต่างดังกล่าวไม่ได้ทำลายอัตลักษณ์ (identity) ของการเป็นใบมะม่วง ไม่ว่ารูปร่างหน้าตาของมันจะเป็นอย่างไร เราก็ยังมองมันเป็นใบมะม่วงอยู่ดี

 

         ผมเชื่อถ้าเราสามารถนำมุมมองเช่นนี้มาใช้กับกรณีของคน คือเห็นคนแต่ละคนตามที่เขาเป็น เห็นไปโดยที่ใจยอมรับในความแตกต่าง เห็นความหลากหลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกับที่เห็นใบไม้ โดยที่เมื่อมองลึกลงไปข้างในคนแต่ละคนแล้วก็พบได้ว่าภายใต้ความแตกต่างหลากหลายนั้น แท้จริงแล้วเรามี ความเป็นมนุษย์ เหมือนๆ กันอยู่ในนั้น แล้วอะไรกันล่ะที่ทำให้เราได้ชื่อว่าเป็น มนุษย์

ผมคงต้องหยุดแค่นี้ เพื่อรอฟังสิ่งดีๆ จากทุกๆ ท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียน blog นี้ ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ beyondKM ครับ

หมายเลขบันทึก: 170967เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ประเด็นที่เป็นปัญหา มนุษย์มักอยากเปลี่ยนคนตามที่ตนคิด

หรือไม่ก็ไม่เอาอะไรเลย ใครจะคิดอย่างไร ฉันไม่สน ฉันจะทำอย่างนี้

ก็มีคนเดินทางสายกลางอยู่บ้าง โลกมนุษย์..คงอยู่ได้มาจนทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงก็ดำเนินไปอย่างช้าๆ

ถ้าคิดจะเปลี่ยนแปลงโลกเร็วๆ เราต้องใช้พลังมาก เอาความแตกต่างมาว่ากัน สู้กันไป...

อยู่ที่การใช้ความแตกต่างและความเหมือน

สร้างสรรค์โลกนี้ได้เหมือนกันและผลอาจไม่เหมือนกัน

เป็นมุมมองคะ่ ดิฉันคิดว่าก็ดีที่มีทั้งเหมือนและต่าง

ขอบคุณคะ่มีประเด็นดีมาให้คิด

เย้เย้  ได้อ่าน blog อาจารย์แล้ว

อื้มม...อัตลักษณ์  ...คำนี้คุ้นๆค่ะ  ตอนไปประชุมที่ APCD ก็ได้ยินคำนี้เช่นกันค่ะ 

อัตลักษณ์หมายถึงลักษณะเฉพาะที่บอกได้ว่า คือคนๆนั้น  กลุ่มผู้ที่ใช้ภาษามือ  ก็จะดึงเอาอัตลักษณ์  มาใช้เป็นภาษามือค่ะ  เช่น  ทำรูปจมูกชมพู่  ก็หมายถึงท่านนายกสมัคร  เป็นต้น ไม่ได้หมายถึงการล้อเลียนเลยนะคะ   

หรือ อัตลักษณ์คนยุโรปมีจมูกโด่ง  คนอีสานแท้ๆจะจมูกแบน  ...ฯลฯ

ความพิการไม่ใช่ความผิดปกติ  แต่เป็นอัตลักษณ์ของคนผู้นั้น  เช่น คนตาบอดก็มองไม่เห็น  คนตาบอดไม่ได้ผิดปกตินะคะ  ไม่ติดต่อ  ดังนั้นคนทั่วไปไม่ต้องรังเกียจหรอกค่ะ

ขอบคุณ คุณ panornote และ คุณหนิง เข้ามาเร็วจริงๆ ครับ

ไม่เคยเป็นลูกศิษย์.ในห้องอาจารย์..เป็นศิษย์ข้างห้อง ข้าง blog  แต่วันที่ 24-26 มี.ค ที่ศาลายา( fa KM) คงได้เป็นจริงๆๆ เห็นตัวเป็นๆ ซะที (เชิญมา หล่มสักไม่ยอมมาซะที..จนเป็น ผอ.แล้วจะได้มามั๊ยคะเนี๊ยะ)

            ชอบบทความเลยเข้ามาแลกเปลี่ยน..

 

 เคยถามคนที่มีพฤติกรรมแปลกๆว่า...รู้มั๊ยว่าเราเป็นคนแปลก..

ไม่รู้..เพราะคนอื่นเป็นคนบอกว่าเราเป็น....เราไม่ได้บอกว่าเราเป็น

 

แอบคุยกับมะม่วงว่า...

รู้มั๊ยว่า..เราเป็นมะม่วง

ไม่รู้เพราะคนอื่นบอก..ว่าเราเป็น..เราไม่ได้บอกว่าเราเป็น..

 

เราเคยสงสัยและถามตัวเองเหมือนกัน...ว่าเราชอบในสิ่งที่เขาบอกให้เป็นมั๊ย..

และชอบอย่างไหนมากกว่ากัน..เพราะหลายคนบอก..ฝรั่งต่างชาติบอกว่าเราเป็น Mango

แถวข้างบ้านบอกว่าเราเป็นบักม่วง...

คนกรุงเทพ และพวกเขียนหนังสือ.บอกว่าเราเป็นมะม่วง...

 

แต่สิ่งที่เราเป็น..จริงๆคือ สารและสารอาหารที่อยู่ในตัวเรานี่แหละ..อาจมีมากน้อยแต่ละลูก แต่ละใบ แต่ละต้น แต่มีเหมือนกัน..

นั่นแหละธรรมชาติให้มา..อัตลักษณ์

 

แล้วคนละ มนุษย์ละ..คิดยังไง? 

ไม่ว่าจะถูกเรียกว่าอะไร...หรือบอกว่าให้เป็นอะไร..คือสิ่งที่คนอื่นบอก..

แต่สิ่งที่เป็นจริงคือ...ส่วนประกอบที่เป็นชีวิตเราไง?

อะไรละ

อาจารย์ ดร.วัลลพ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาบอกว่า..

อินทรีย์ (กายและใจ)  สิ่งแวดล้อม (มีแต่อินทรีย์ไม่มีสิ่งแวดล้อมอยู่ไม่ได้) มายา.(สิ่งที่ไม่เห็น..แต่มีอิทธิพล..เช่นกลัวผี)..ทั้งหมดนี่แหละ..ชีวิต  หอมปากหอมคอ..แค่นี้นะคะ..ขอบคุณประเด็นดีๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ประพนธ์

  • การเห็นแต่ละคนตามที่เขาเป็น  เป็นการยอมรับในความแตกต่าง...ซึ่งชอบมากค่ะ
  • อยากให้คนในหน่วยงานเล็งเห็นจุดนี้...คงทำให้ทำงานร่วมกันมีความสุขมาก
  • การยอมรับ...คงเหมือนการเชื่อมใจถึงกัน..
  • คงทำให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่มีอยู่
  • ขอบคุณที่เปิดประเด็นดีๆค่ะ.

สวัสดีค่ะอาจารย์ประพนธ์ที่เคารพ

เพราะคนเรามีความแตกต่างและหลากหลาย

จึงทำให้โลกนี้น่าอยู่ ไม่น่าเบื่อค่ะ

  • เคยได้ยินท่านสันติกโร คนลักษณ 1 พูดว่า ผมมักมองเห็นข้อบกพร่องของเรื่องต่างๆ ง่ายมาก ทั้งเรื่องของผู้คน เรื่องราวทางสังคม ฯลฯ  แต่กับธรรมชาติแล้ว มันไม่มีเรื่องต้องปรับปรุง หรือพัฒนา มันสมบูรณ์แบบในตัวของมันเอง

ดีใจที่จะได้เจอ พี่ ฮูโต๋ ใน Workshop วันที่ 24-26 นี้ที่ศาลายา

ขอบคุณ ผึ้งงาน_SDU ที่เปิดประเด็นเรื่อง การยอมรับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมกำลังสนใจอย่างยิ่ง ตามที่ได้เริ่มเปิดประเด็นไปในบันทึกต่อไปแล้ว

เห็นด้วยกับ คุณอุบล ว่าความแตกต่างหลากหลายทำให้โลกนี้น่าอยู่และไม่น่าเบื่อ

 

คุณอัญชลี ครับผมเองก็ (เคย) เป็น Mr.Perfect (และยังเป็น?) แต่ตอนนี้พยายามยอมรับ พยายามเปิดรับมากขึ้น . . . รู้สึกเบาขึ้นกว่าเดิมมาก

  • แนวทางมีง่ายๆ ค่ะ (ดิฉันก็อยู่ระหว่างการฝึกเช่นเดียวกัน) คือ "เห็น" ให้ทัน เวลาลักษณ์ของเรามันทำงานค่ะ ... หรือภาษาทางพุทธ ก็คือ การเจริญสติ ให้ทันเป็นปัจจุบันค่ะ
  • เมื่อหงุดหงิด ไม่ได้ดั่งใจ ที่มันควรจะเป็น ก็แค่เห็น เดี๋ยวมันก็ดับของมันเองค่ะ ....
  • การยอมรับว่า คนอื่นก็มีความสมบูรณ์แบบในแบบของเขา ก็อาจจะทำให้ความรู้สึกดีขึ้นบ้างได้ด้วยค่ะ
  • ขออภัยที่ผู้น้อยบังอาจให้คำแนะนำนะคะ

ติดตามบล็อกอาจารย์ตลอด ขอบคุณมากได้ทั้งความรู้ และประเด็นให้คิด สงสัยจัง24-26 มี.ค.อาจารย์จะไปทำอะไรที่ศาลา ยา ตรงไหนคะ มหิดลรึเปล่า ถามเพราะอยากเห็นตัวจริงอาจารย์ค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ rujires วันที่ 24-26 นี้ สคส. มีจัด Workshop เรื่อง "KM for Facilitator and Change Agent" ที่ ศาลายาพาวิเลียน ครับ . . . สำหรับรายละเอียดดูได้ที่ www.kmi.or.th ครับ

กลับมาจากIOCSmodule4แล้วรีบอ่านเลยค่ะตามมาตั้งนานแล้ว ความแตกต่างทำให้โลกนี้เติมเต็มค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท