เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข


เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข

เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ บรรยายเรื่องเทคนิคการทำงานอย่างมีความสุขแก่คณาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจำนวน 55 คน ณ ห้องสัมมนา 1 ชั้น 12 อาคารดร.เจริญ คันธวงศ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท

งานนี้ได้รับเกียรติจากดร.ณาณี สวัสดิสรรพ์  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด ท่านดีใจที่ได้มาร่วมงานสัมมนาครั้งนี้  และซาบซึ้งใจที่ดร.จีระมีไมตรีจิตต่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชีวิตของเราทำงานมาก ตั้งแต่อายุ 22-60 ปี เราอยู่ที่ทำงานมากกว่ามาก เราจะทำงานให้มีความสุขได้อย่างไร การมีความรับผิดชอบมากทำให้มีความเครียดมาก ก็ต้องมีเทคนิคที่ทำไม่ให้เครียด คนรอบข้างจะได้มีความสุข

.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ บรรยายเรื่องเทคนิคการทำงานอย่างมีความสุขว่า ประเทศไทยควรมี Happiness Capital Institute ประเทศไทยควรเปลี่ยน entertainment เป็นมูลค่าเพิ่ม ธรรมชาติของโลกให้โอกาสด้านความสุขแก่คน แต่ขึ้นอยู่กับว่าควรจะใช้มันอย่างไร แต่คนเก่งมักไม่มีความสุขในการทำงานถ้าความสุขในการทำงานตก productivity ก็จะตก ประโยชน์ของการมีความสุขก็คือ การที่มีความเครียดน้อย จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีสุขภาพดี การที่อาจารย์มีความสุขเท่ากับสร้างโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม ทำให้ทุนทางความสุขกระจายออกไป อย่าให้เกิดความเหลื่อมล้ำมาก จะทำให้เครียด ควรสร้างบรรยากาศการทำงาน ให้คนมีความสุขในการทำงาน ความสุขเป็นรากฐานไปสู่ความเป็นเลิศ ความสุขอยู่ที่เป้าหมายของการทำงาน อาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะทำให้นักศึกษามีความสุขได้ ก็ต้องทำให้นักศึกษาคิดเป็น งานที่ทำกับความสามารถต้องไปด้วยกันจึงจะมีความสุขในการทำงาน ควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างความสุข ควรคิดในแง่บวก อย่าคาดหวังอะไรที่สูงเกินไป อย่าคิดว่างานเป็นแค่ job หรือ career แต่ต้องคิดว่าเป็น calling (สิ่งที่เราปรารถนา) จะทำให้ทำงานอย่างมีความสุขมากกว่า

ในตอนท้าย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้แสดงความเห็นว่าได้รับประโยชน์อะไรจากการบรรยายครั้งนี้และร่วมถ่ายรูปหมู่

 

 

หมายเลขบันทึก: 170815เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผลการนำเสนอความคิดเห็นหลังการบรรยาย

 

กลุ่ม 1 นำเสนอ โดย ดร.เพ็ญจิรา คันธวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

§       ถ้าเราปฏิบัติตามคำแนะนำในการสร้าง Happiness Capital แล้วล้มเหลวในงานที่ทำ เราจะทำอย่างไร

กลุ่ม 2

§       สิ่งที่จำเป็นคือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

§       ถ้าเลือกเป็นอาจารย์จากความรู้สึกเท่ากับเป็นการสร้างความสุขอย่างยั่งยืน

กลุ่ม 4

§       Sustainability เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขอย่างยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       Sustainability คือการทำให้ระยะสั้นไม่ขัดแย้งกับระยะยาว ตอนที่ผมจบปริญญาเอกใหม่ๆ ยังไม่มีเป้าหมาย แต่ก็ได้รับมอบหมายให้ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมจึงตั้งเป้าหมายให้เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อประเทศ

กลุ่ม 5

§       Happiness ทำให้เราคิดแบบ Global ก่อน จะได้ไม่เห็นแก่ตัว เวลาเราสอน ก็ฝึกให้เด็กคิด แต่เด็กไม่คิด มักมองแค่คะแนนเท่านั้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       ถ้าเราลอก ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ ควรมีสัมมนา Learning Culture อีกครั้ง

กลุ่ม 6

§       จะนำ Positive Thinking ไปใช้

§       จะวัดผลทุนแห่งความสุขอย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       สามารถวัดได้ตามแบบสอบถามทุนแห่งความสุขของผม

กลุ่ม 7 นำเสนอโดย อาจารย์นราธิป อ่ำเที่ยงตรง อาจารย์ประจำสาขาการตลาด

§       ความสุขของการเป็นครู คือ มีอิสระในการทำงาน การหาความรู้ และการคิด และมีความสุขที่กว้าง เช่น รู้กว้าง รู้จักคนกว้าง คิดกว้าง มีเวลากว้าง เราเสียเวลาค้นคว้า แต่เรานำไปถ่ายทอดและต่อยอด อยากให้เด็กเท่แบบมีสมอง สร้างอาจารย์เป็น role model ของเด็ก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       ตอนที่ผมอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีเสรีภาพมาก

§       อามาต้า เซ็นกล่าวว่า การพัฒนาประเทศได้ต้องมีสิทธิเสรีภาพ

ผลการนำเสนอความคิดเห็นหลังการบรรยาย (ต่อ)

กลุ่ม 8

§       ต้องรู้ความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       ต้องอยู่กับความจริง

กลุ่ม 9 นำเสนอโดย อาจารย์จันทนา ไชยเดช อาจารย์ประจำสาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

§       ยอมรับความรู้เรื่องคน ทำงานกับคนมาก คงยากให้เขาเป็นอย่างใจเรา แต่ละคนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       เราไม่ควรคิดว่าตนเองแน่ ทรัพย์สินไม่เท่าความสุข

กลุ่ม 10 นำเสนอโดย อาจารย์นิสิต ตั้งมโนวรพันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

§       การทำงานแบบมีความสุข ต้องมีเป้าหมายส่วนตัว ต้องทำเป็นทีม

§       ถ้าเรามีความสุขส่วนตน และมีเป้าหมายส่วนตนซึ่งต่างกัน หากทำงานร่วมกันอาจทำให้ความสุขไปกันคนละทิศคนละทาง เราควรกำหนดเป้าหมายของทีมและความสุขของทีมให้ไปในทิศทางเดียวกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       เราสามารถทำให้ win-win ได้

§        ควรวิจัย ความสุขส่วนบุคคลและทีม

กลุ่ม 12 นำเสนอโดย ดร.ประภัสสร วรรณสถิตย์ อาจารย์ประจำสาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์

§       ความสุขส่วนบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ แต่ถ้าปัจจัยภายนอกไม่ดี จะทำอย่างไรในฐานะที่เป็นลูกจ้าง

§       จากงานวิจัยพบว่า ถ้าสภาพแวดล้อมขัดแย้งกันเอง ก็ต้องมีวิธีแก้ไขความขัดแย้ง

กลุ่ม 13

§       สภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจส่งผลต่อความเครียด

§       แต่ยังมีหลักเศรษฐกิจพอเพียงลดความเครียด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

§       มหาวิทยาลัยกรุงเทพควรเอาจริงด้านเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีทรงงานของในหลวง

กลุ่ม 14

§       บางทีก็ต้องรู้จักปล่อยวางกับสภาพแวดล้อมภายนอก ต้องคิดว่าตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมจึงจะมีความสุข

ดร.ณีณา สวัสดิสรรพ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

§       การที่ได้ยินว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพสามารถสู้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ ทำให้ความสุขของดิฉันพุ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในองค์กร

§       ถ้าเรายอมรับในองค์กรก็มีความสุข ถ้าคิดว่าองค์กรไม่ดี ก็ไม่มีความสุข

§       การทำงานต้องมีใจรัก มุ่งมั่น เป็นสิ่งที่เราอยากทำ

อาจารย์สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการธุรกิจสมัยใหม่

§       ต้องรู้จักปลง อย่าคาดหวังสูง

§       ต้องทำจิตใจให้เป็นสุข แต่วิธีการต่างกันไปตามกระบวนการคิดของแต่ละคน

§       งานเป็นทาสระบบ ต้องจัดการระบบ บางครั้งผู้บริหารก็ทำอะไรไม่ได้ วันหนึ่งที่เราเป็นผู้บริหาร เราอาจจะต้องคิดแบบนี้

§       ถ้าอยากมีความสุข ก็ต้องวางเฉยบางเรื่อง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท