เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำมีผลต่อการเจริญพัฒนาของตัวอ่อนได้หรือไม่


เป็นไปได้หรือไม่ที่เซลล์ต้นกำเนิดในน้ำคร่ำเกิดผลทางชีวภาพต่อตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดา

เซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดโดยใช้เซลล์ น้ำคร่ำเป็นน้ำวิเศษที่ผมทึ่งมาก เพราะเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบในน้ำคร่ำนั้นมีทั้งเซลล์ที่พัฒนาแล้วและเซลล์ที่มีคุณสมบัติเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ที่สำคัญคือตัวอ่อนสามารถกลืนน้ำคร่ำได้

เนื่องจากมีหลักฐานทางวิชาการที่แสดงให้เห็นว่าเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำสามารถเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นนอกได้ ที่น่าสนใจคือเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้ (ที่ผมศึกษาอยู่) มีการแสดงออกของโปรตีน nestin (เซลล์ต้นกำเนิดทั้งหมด!) ซึ่งใช้เป็นตัวระบุเซลล์ต้นกำเนิดประสาท

ภาพแสดงเซลล์ต้นกำเนิดจากน้ำคร่ำของหนูขาวที่บ่มด้วยแอนติบอดีต่อดปรตีนเนสติน

 

ถึงแม้ว่าที่มาของเซลล์ในน้ำคร่ำอาจได้มาจากทั้งเซลล์ของตัวอ่อนในระยะแรกๆ ที่หลุดลอกออกมา หรือแม้กระทั่งปัสสาวะของตัวอ่อน หรือมาจากผนังเยื่อถุงน่ำคร่ำ เป็นต้น หรือมาจากแหล่งอื่นๆก็ตาม สิ่งที่ผมเป็นห่วงและสงสัยในตอนนี้ก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่เซลล์ต้นกำเนิดในน้ำคร่ำเกิดผลทางชีวภาพต่อตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดา

  1. ด้วยความไม่รู้ ผมจึงสงสัยว่าเซลล์ต้นกำเนิดประสาทดังกล่าวสามารถเข้าไปอยู่และเชื่อมต่อกับโครงสร้างสมองของตัวอ่อนได้หรือไม่
  2. ถึงแม้จะเข้าไปเชื่อมกับเซล์ของตัวอ่อนไม่ได้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้สามารถหลั่งสารบางอย่างที่เป็นประโยชน์ (neurotrophic fators) หรือเป็นโทษกับตัวอ่อนได้ ผมจึงคาดว่าสารที่หลั่งออกมาจากเซลล์ต้นกำเนิดประสาทเหล่านี้อาจทำหน้าที่บางอย่างหรือมีผลต่อกระบวนการเจริญพัฒนาของตัวอ่อนโดยเฉพาะระบบประสาท

สาเหตุที่ผมคิดแบบนี้เนื่องจาก

  • มีการทดลองฉีดเซลล์ต้นกำเนิดประสาทจากสมองของหนูที่โตแล้วเข้าไปในถุงน้ำคร่ำของไก่ในระที่ 4 ผลก็คือพบเซลล์ที่ฉีดไปที่เนื่อเยื้อของตัวอ่อนไก่ ผมจึงคาดว่าเซลล์ในน้ำคร่ำสามารถเชื่อมต่อกับตัวอ่อนได้
  • สารอาหารหรือสารเคมีที่มารดาบริโภคบางชนิดสามารถแพร่เข้าไปละลายอยู่ในน้ำคร่ำได้ เช่น เหล้า (ethanol) มีผลต่อกระบวนการหลายอย่าง เด็กที่ได้กลิ่นเหล้าที่อยู่ในน้ำคร่ำเมื่อคลอดออกมาแล้วมีแนวโน้วที่จะบริโภคเหล้ามากกว่าเด็กที่อยู่ท่ามกลางน้ำคร่าที่มีความเข้มข้นเหล้าต่ำๆ
  • เหล้ามีผลปรับเปลี่ยนกระบวนการสร้างสารสื่อประสาท neurotrophic fators และสารชีวภาพอื่น หรืออาจเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดว่าเหล้ามีผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดประสาทในน่ำคร่าไหม รวมทั้งสารอื่นๆ ด้วยที่ละลายอยู่ในน้ำคร่ำ

ผมถกประเด็นนี้กับอาจารย์ที่นี่ แต่ก็ยังเป้นเรื่องพิศวงอยู่ ถ้าสามารถทำการทดลองยืนยันได้ก็น่าจะมีผลต่อองค์ความรู้ในอนาคต ที่สำคัญยังเป็นการปกป้องตัวอ่อน (เด็กในอนาคต) จากการรุกรานของสารเคมีที่มากับแม่ซึ่งอาจมีผลสร้างความแปนปรวนต่อน่ำคร่ำและทำให้เซลล์ต้นกำเนิดน้ำคร่าทำงานผิดปกติ!!!

หมายเลขบันทึก: 170754เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท