เดินทางไกลอย่างไร ปลอดภัยจากโรคเส้นเลือดดำอุดตัน (DVT)


เมื่อคนเรานั่งนิ่งๆ ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป... การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดดำจะช้าลง เลือดส่วนหนึ่งจะค้างอยู่ในเส้นเลือดนานขึ้น

...

ปี 2550 มีข่าวนักท่องเที่ยวเดินทางไกลด้วยเครื่องบินชั้นประหยัดตายจากเส้นเลือดดำที่ขา (ส่วนใหญ่เริ่มที่น่อง) อุดตัน ลิ่มเลือดหลุดไปในเส้นเลือดดำ ผ่านหัวใจ ไปอุดเส้นเลือดที่ปอด ทำให้เกิดชื่อเรียก 'economy class syndrome' หรือกลุ่มอาการเดินทางชั้นประหยัด

ท่านอาจารย์นายแพทย์อลัน เพนซิเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญโรคเลือด แห่งศูนย์การแพทย์ลอร์เดส สหรัฐฯ กล่าวว่า โรคเส้นเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis / DVT) ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นที่เส้นเลือดที่ขาท่อนล่าง

...

เมื่อคนเรานั่งนิ่งๆ ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป... การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดดำจะช้าลง เลือดส่วนหนึ่งจะค้างอยู่ในเส้นเลือดนานขึ้น 

ภาวะเลือดไหลช้าในเส้นเลือดที่ขาจะทำให้สัดส่วนโปรตีนในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น สัดส่วนน้ำ(ในเลือด)น้อยลง เลือดตรงนั้นจะข้นขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น

...

ภาวะเส้นเลือดดำอุดตันจะเพิ่มขึ้นถ้ามีความเสี่ยงต่อไปนี้ได้แก่

  • ประวัติคนในครอบครัว (พ่อแม่ พี่น้อง) เป็นโรคเส้นเลือดดำอุดตัน
  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • อ้วน
  • สูบบุหรี่
  • ตั้งครรภ์
  • ใช้ฮอร์โมนเพศในการรักษาโรค
  • บาดเจ็ดส่วนหัว กระดูกสันหลัง หรือขาท่อนล่าง
  • เป็นมะเร็ง
  • มีเส้นเลือดขอดที่ขา
  • ติดเชื้อในปอด
  • เดินทางไกล ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ฤดูหนาว หรืออากาศเย็นจัด จะทำให้เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว การไหลเวียนเลือดช้าลง

...

อาจารย์เพนซิเนอร์แนะนำวิธีป้องกันโรคเส้นเลือดดำอุดตันระหว่างการเดินทางไกลไว้ 7 วิธีดังต่อไปนี้

  1. งด-ลด-ละ-เลิกสูบบุหรี่
  2. ดื่มน้ำให้มากพอ
  3. ขยับขาท่อนล่าง อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง โดยการเหยียด-งอข้อเข่า เหยียด-งอข้อเท้า กระดกนิ้วเท้าขึ้น-ลง และใช้มือท้ายพนักวางแขน ยกเข่าขึ้นเหนือพื้นเล็กน้อย และหมุนเป็นรูปวงกลม
  4. ไม่นั่งไขว่ห้าง ขัดสมาธิ หรือไขว้ขาระหว่างการเดินทาง เนื่องจากจะการไขว้ขา(ไม่ว่าจะแบบใด)ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง
  5. ออกแรง-ออกกำลังเบาๆ ก่อนและหลังการเดินทาง... วิธีง่ายๆ คือ เดินเร็วบ้าง ช้าบ้างสลับกัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  6. ไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป ไม่ว่าจะเป็นเข็มขัด กางเกง กะโปรง หรือกางเกงใน (กางเกงในแบบนักมวย หรือแบบ boxer น่าจะดีกว่าแบบยางยืด ซึ่งมีแรงกดรัดที่ต้นขาท่อนบน)
  7. ลุกขึ้นยืนและนั่ง หรือเดินทุกชั่วโมง (ถ้าเป็นไปได้)

...

เรียนเสนอให้พวกเราแวะไปชมภาพวิธีบริหารกาย คลายเมื่อย และป้องกันเส้นเลือดดำอุดตันจากการเดินทางจากวารสาร AARP ออนไลน์

โปรดคลิก... กดปุ่ม "เริ่ม (start)" แล้วชมภาพไปตามลำดับได้เลย

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีความสุขกับการเดินทาง เดินทางอย่างปลอดภัย และมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank Lourdes Health System > e-Health Talk > Self-care can help prevent blood clots > [ Click ] > March 2008.
  • Thank AARP > Your health > Interactive guide to air-travel exercises > [ Click ] > March 12, 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 12 มีนาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 170554เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะ

กำลังจะเดินทางพอดีค่ะจะได้นำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันไว้ก่อน

ขอขอบพระคุณอาจารย์แอ๊ว

  • ขอแสดงความชื่นชมที่จะนำความรู้ไปใช้
  • ขอให้เดินทางโดยสะดวก ปลอดภัย และได้คุณค่าจากการเดินทางครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท