ทัศนะการดำเนินชีวิตของนายโรงโนราตามวิถีชาวพุทธใน 3 จังหวัด


การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ล้วนเป็นสิ่งที่น่าสนใจใฝ่รู้ทั้งนั้น จากปรากฏการณ์ทางสังคมของกลุ่มคนทั้งส่วนน้อยและกลุ่มคนส่วนใหญ่ของภาคใต้ที่ได้สืบทอดจนเป็นประเพณีวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมา ล้วนมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ORIGINAL ARTICLE

The Nora Performance Leaders’ Concepts of Life in Buddhist Way in Songkhla,

Nakhon Sri Thammarat and Phattalung Province between B.E. 2500 – 2550

Dr. Uthai  Eksaphang, Ph.D (Philosophy), Lecturer. The Institute for Southern Thai Studies

Thaksin University, 2007. E-mail : [email protected]

Abstract

              The research was aimed to study the culture influences which effected to the Nora performance leaders’ lives and the influences from the Nora performance leaders effected to the Southern value alteration. And to study the cultural encouragement method with the sample for instance 15 Nora performance leaders and a group of sample who have been Nora performance in Songkhla, Nakhon Sri thammarat and Phattalung province, which the result as follows :

              1.  Moral Culture, the Nora performance leaders had the significant moral principles that are

                   to be ashamed to do evil and be afraid of all sins.

              2.  Leqal Culture, the Nora performance leaders had a significant moral principle that is the

                   five commandments.

              3.  Material Culture,  the Nora Performance leaders had the significant moral principle that

                   are the Ta-Lunag worship image, Nora master and hunter mask etc.

              4.  Social Culture, the Nora performance leaders had the significant moral principle that are

                   charity, good speech, do social charity and consistent conduct.

              5.  Instruction Influence reminds people to spend their live based on moral.

              6.  Performance Influence is to be admired and to encourage people to be valued highly in

                   Southern region culture.

              7.  Social Influence is to entertain and to help people to receive update news or information.

              8.  The way to preserve, encourage and develop that are the organization or government department, are the mainstay of Nora activities. They should organize budget to support Nora performance adherer and educate the region people’s conscious of their faith in the valuable of Nora performance preservation. And they should encourage to arrange stage or opportunity to perform consistently and always publicize Nora performance activities through radio or television broadcast.

 

Key words :   The Nora Performance Leaders’ Concepts, Life in Buddhist Way, between

                       B.E. 2500 – 2550

 

นิพนธ์ต้นฉบับ

ทัศนะการดำเนินชีวิตของนายโรงโนราตามวิถีชาวพุทธในจังหวัดสงขลา

จังหวัดนครศรีธรรมราช  และจังหวัดพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2550

ดร.อุทัย เอกสะพัง, Ph.D. (Philosophy), อาจารย์สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของนายโรงโนรา และศึกษาอิทธิพลจากนายโรงโนราที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นภาคใต้        ศึกษาแนวทางส่งเสริมวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่  นายโรงโนรา 15 คน   และกลุ่มคนที่เคยชมการแสดงโนราแล้ว 30 คน   ในเขตจังหวัดสงขลา   จังหวัดนครศรีธรรมราช     และจังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยได้ดังนี้

                   1.   ด้านคติธรรม นายโรงโนรามีหลักธรรมประจำจิตใจที่สำคัญยิ่ง ได้แก่   ความละอายใจต่อการทำชั่ว และความเกรงกลัวต่อความชั่วทั้งปวง

                   2.   ด้านเนติธรรม นายโรงโนรามีหลักธรรมประจำจิตใจที่สำคัญยิ่ง ได้แก่ ศีลห้า

                   3.   ด้านวัตถุธรรม นายโรงโนรามีหลักธรรมประจำจิตใจที่สำคัญยิ่งได้แก่ รูปเคารพตาหลวง ครูหมอโนรา หัวพราน เป็นต้น

                   4.   ด้านสหธรรม นายโรงโนรามีหลักธรรมประจำจิตใจที่สำคัญยิ่ง ได้แก่  การให้ทาน การกล่าววาจางาม การประพฤติตนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการวางตนเสมอต้นเสมอปลาย

                   5.   อิทธิพลด้านคำสอน ทำให้ผู้ชมได้แง่คิดเพื่อใช้ชีวิตอยู่ในศีลธรรมอันดี

                   6.   อิทธิพลด้านศิลปะการแสดง ทำให้ผู้ชมนิยมชมชอบและเกิดความรู้สึกหวงแหนความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้

                   7.   อิทธิพลด้านสังคม ทำให้ผู้ชมได้พบปะกันมีความบันเทิงและได้รับฟังข่าวสารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

                   8.   แนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนานั้น ได้แก่ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมทางด้านโนรา จัดสรรงบประมาณเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนผู้ยึดถือการแสดงโนรา ปลูกฝังจิตสำนึกให้กลุ่มคนในท้องถิ่นให้มีความศรัทธาอนุรักษ์ศิลปะการแสดงโนรา อันมีคุณค่ายิ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ จัดให้มีเวทีเพื่อเปิดโอกาสให้คณะโนราได้ทำการแสดงอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีรายการทางวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับการแสดงโนราอยู่ตลอดเวลา

คำสำคัญ : ทัศนะการดำเนินชีวิตของนายโรงโนรา, วิถีชาวพุทธ, ระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2550

 

บทนำ

                   การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ล้วนเป็นสิ่งที่น่าสนใจใฝ่รู้ทั้งนั้น จากปรากฏการณ์ทางสังคมของกลุ่มคนทั้งส่วนน้อยและกลุ่มคนส่วนใหญ่ของภาคใต้ที่ได้สืบทอดจนเป็นประเพณีวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมา ล้วนมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และการปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรมที่ปรากฎให้เห็นกันอยู่ในสังคมชาวพุทธนั้น ก็จะมีกิจกรรมรักษาศีล การเสียสละทรัพย์เพื่อบริจาคให้เป็นทานและการเจริญภาวนา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีไทย ตามฤดูกาลต่างๆ

                   ในวันสำคัญทางศาสนาวัดมักเป็นศูนย์กลางการดำเนินกิจกรรม โดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์ให้กิจกรรมทางศาสนาดำเนินไปตามเป้าหมาย สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการละเล่นมีการแสดงโนรา หลังตะลุง จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจใฝ่รู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะการแสดงดังกล่าวมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้อย่างลึกซึ้ง ซ่อนปริศนาธรรมเอาไว้อย่างแยบยล เพื่ออบรมบ่มเพาะวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมชาวใต้ให้ดำเนินสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

                   แต่เนื่องจากกาลเวลาผ่านไปทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไป พลวัต วัฒนธรรมที่ปรากฏขึ้นส่อแสดงถึงทุกสิ่งน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไป จากการสนใจในวิถีชีวิตของมนุษย์ทางด้านการแสดงโนราของชุมชนภาคใต้ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนน่าจะมีการค้นหาความหมายวิถีชีวิตของกลุ่มบุคคลดังกล่าว

                   โนราเป็นการละเล่นเก่าแก่ของภาคใต้ โนราคือมรดกอันล่ำค่าของภาคใต้ มรดกเหล่านั้นได้ตกทอดกันมาเป็นเวลานาน ผู้รำโนราเท่ากับว่าเป็นผู้รับมรดกและถ่ายทอดมรดก โดยตรงเพื่อให้ไปสู่กุลบุตรกุลธิดาต่อไปในอนาคต โนราจึงเป็นศิลปะชั้นสูงที่ควรยกย่อง ทะนุถนอมเป็นอย่างมาก (สารภี มูสิกอุปถัมภ์, 2527 : 98) ได้เน้นเห็นความสำคัญและคุณค่าต่อการดำรงอยู่ของโนรา  และ (อุดม หนูทอง, 2536 : 6) ได้กล่าวถึงคุณค่าและความสำคัญว่าสามารถประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับโนราซึ่งกำลังเลือนหายไป    พร้อมกับโนราอาวุโสไว้ได้เกือบหมด... โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมที่ใช้ในการแสดงโนราสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยให้ลุ่มลึกต่อไปได้ และจาก (พิทยา  บุษรารัตน์, 2537 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับโนราโรงครู   ชาวบ้านเชื่อเรื่องครูหมอโนราไสยศาสตร์  ความเชื่อดังกล่าว   เป็นความเชื่อระดับชาวบ้านที่มีการผสมผสานระหว่างความเชื่อในพุทธศาสนากับลัทธิพราหมณ์ และความเชื่อดั้งเดิม หรือลัทธิผีสางเทวดานับเป็นข้อมูลที่นำมาเพิ่มเติมในเรื่องวิจัยนี้ได้

                   สำหรับประเด็นข้อมูลในการวิจัยเป็นการดำเนินชีวิตของนายโรงโนรา และมีระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในช่วงวิถีชีวิตของนายโรงโนราที่สุ่มตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์ในขอบเขตพื้นที่ 3 จังหวัดคือ จังหวัดสงขลา, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง ในประเด็นที่ทำการวิจัยมีข้อมูลเพียงพอทั้งในส่วนที่เป็นวัฒนธรรมวิถีชาวพุทธ ส่วนที่เป็นวรรณกรรมของโนราและส่วนที่ไปสัมภาษณ์นายโรงโนรา เพื่อให้มองเห็นทิศทางการวิจัยตามวัฒนธรรมที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของนายโรงโนราที่แสดงออกมาเป็นการสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรม จารีตประเพณีที่เป็นบทเรียนรู้แทรกอยู่ในเนื้อหา เพื่อให้ผู้ฟังได้เป็นแนวคิดและที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน

                   จากสภาพดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจจะศึกษาวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตตามวิถีชาวพุทธ โดยศึกษาจากนายโรงโนรา เพื่อศึกษาการสืบสานความเป็นนายโรงโนราว่ามีความเป็นมาอย่างไร และศิลปะการแสดงโนรามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตชาวใต้อย่างไร มีวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ยังหลงเหลือตกทอดมาสู่ลูกหลานอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นภาคใต้ และสามารถสืบสานต่อไป

 

วัตถุประสงค์

                   1.   เพื่อศึกษาวัฒนธรรมของชาวพุทธในด้านคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม และสหธรรมจากนายโรงโนรา

                   2.   เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตนายโรงโนราให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป

                   3.   เพื่อศึกษาอิทธิพลจากนายโรงโนราที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นภาคใต้

 

ขอบเขตของการวิจัย

                   1.   ขอบเขตด้านพื้นที่ เน้นพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียดโดยใช้รูปแบบการวิจัย (Research Design) เป็นการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยการสัมภาษณ์ สอบถาม จัดสัมมนากลุ่มย่อย (focus group) ระดมความคิดเห็นและศึกษาข้อมูลเจาะลึกนายโรงโนรา จำนวน 15 คน และชาวบ้านในท้องถิ่นที่เคยชมการแสดงโนรามาแล้ว จำนวน 30 คน

                   2.   ขอบเขตด้านเวลา เน้นระยะเวลาของการศึกษาอยู่ในช่วงวิถีชีวิตของนายโรงโนราที่สุ่มตัวอย่างเพื่อการสัมภาษณ์ ตั้งแต่เข้ารับเริ่มฝึกหัดรำโนรา ออกแสดงจนมาถึงปัจจุบันอยู่ในช่วงระยะเวลา 50 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 – 2550

                   3.   ขอบเขตด้านเนื้อหา ตัวแปรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิตตามวิถีชาวพุทธทั้งสี่ด้าน คือ ด้านคติธรรม ด้านเนติธรรม ด้านวัตถุธรรม และด้านสหธรรม

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

                   1.   ทัศนะการดำเนินชีวิตของนายโรงโนรา หมายถึง บุคคลผู้ปฏิบัติตามหลักวัฒนธรรมสี่ประการ คือ คติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม สหธรรม ที่ปฏิบัติให้ดูเป็นอยู่ให้เห็นตลอดชีวิตของเขาเหล่านั้น

                   2.   คติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับจิตใจที่เป็นหลักธรรมในการดำรงชีวิต ได้แก่ วัฒนธรรมด้านศีลธรรมจรรยา และมารยาทต่างๆ

                   3.   เนติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับกฎกติกาหรือกฎระเบียบข้อบังคับ รวมไปถึงจารีตประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติตาม ได้แก่ กฎหมาย สิทธิ หน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมาย

                   4.   วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ได้แก่ สิ่งที่ก่อให้เกิดการกินดีอยู่ดี และเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของต่างๆ สำหรับเป็นเครื่องสืบทอดทางสังคม วัฒนธรรมของชาติ

                   5.   สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับทางสังคมเป็นเรื่องมารยาทต่างๆ หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติตามกันมา และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

                   6.   วิถีชาวพุทธ หมายถึง บุคคลผู้ปฏิบัติตามหลักวัฒนธรรมสี่ประการ คือ คติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม สหธรรม

                   7.   ในจังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง หมายถึง ขอบเขตพื้นที่ศึกษาเอาเฉพาะ 3 จังหวัดนี้เท่านั้น เพราะมีพื้นที่ติดกับตำนานโนราในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่สืบทอดมายาวนาน

                   8.   ระหว่างปี พ.ศ. 2500 – 2550  หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่นายโรงโนราเริ่มรับการฝึกหัด รำร้อง และออกแสดงโนราเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 

วิธีการวิจัย

                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากนายโรงโนรา และผู้เคยชมการแสดงโนรา มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

                   1.   เครื่องมือในการวิจัย

                         เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นกรอบทางวัฒนธรรมสี่ด้าน เพื่อระดมความคิดเห็นจากการสนทนากลุ่ม ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเพื่อศึกษาการนำวัฒนธรรมไปใช้ในการดำรงชีวิต อิทธิพลต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพัฒนา วัฒนธรรมให้สืบทอดต่อไป

                   2.   การเก็บรวบรวมข้อมูล

                         2.1    กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดสนทนากลุ่ม

                         2.2    นัดวันเวลา และสถานที่ในการจัดทำกิจกรรมสนทนากลุ่ม

                         2.3    คณะวิทยาการสนทนากลุ่ม คือ ผู้วิจัย ผู้มีความรู้ในชุมชน

                         2.4    จัดทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตไปปฏิบัติและอิทธิพลต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาวัฒนธรรม

                         2.5    เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามดังกล่าว

                         2.6    จัดประชุมสัมมนาหาข้อสรุปที่ชัดเจน และจัดให้มีการวิจารณ์เพิ่มเติม

                         2.7    สรุปเป็นผลการวิจัย

                   3.   การวิเคราะห์ข้อมูล

                         3.1    วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหาในเอกสารเกี่ยวกับโนรา (Content Analysis) และการอุปมานเชิงวิเคราะห์ (Analytic Induction)  โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ทางสังคม และหลักจริยธรรมทางศาสนา (Socialnor)

                         3.2    วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์นายโรงโนรา และชาวบ้านที่เคยชมการแสดโนราแล้ววิเคราะห์ความสอดคล้องเชิงเนื้อหาประกอบรายละเอียดของข้อ 1

                         3.3    ศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อหาความถี่ของการนำไปเป็นแนวปฏิบัติในวิถีชีวิตจริง แล้วหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแปลค่าระดับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

                                   ค่าเฉลี่ย  4.51 – 5.00  หมายความว่า นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด

                                   ค่าเฉลี่ย  3.51 – 4.50  หมายความว่า นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมาก

                                   ค่าเฉลี่ย  2.51 – 3.50  หมายความว่า นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง

                                   ค่าเฉลี่ย  1. 51 – 2.50

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัยโนรา
หมายเลขบันทึก: 170486เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท