บุคลิกภาพและวิธีการสอนของอาจารย์:ปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างประเทศ


บุคลิกภาพของอาจารย์ผู้สอนก็ต้องเหมาะแก่การสอนนักศึกษาต่างประเทศ

 บุคลิกภาพและวิธีการสอนของอาจารย์:

ปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างประเทศ

 

                 การสอนภาษาไทยแก่นักศึกษาชาวต่างประเทศในประเทศไทย  กำลังแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะนักศึกษาจีนนิยมเข้ามาเรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยต่างๆ นับหมื่นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ  ทั้งนี้เพราะจีนมีนโยบายส่งนักศึกษาออกไปเรียนต่างประเทศกันมากเนื่องจาก มหาวิทยาลัยของเขามีจำกัดอย่างหนึ่งซึ่งต้องระบายออกไปยังต่างประเทศ  และอีกอย่างหนึ่งก็เพื่อเพิ่มขีดจำกัดในการแข่งขัน นั่นคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเขาให้เป็นคนเก่ง  สามารถออกไปหางานทำในต่างประเทศและกอบโกยเงินเข้าประเทศของเขา  ประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในการช่วยผลิตกำลังคนให้แก่ประเทศจีน

                แม้ว่าเราจะรู้เป้าหมายของประเทศจีนแต่มหาวิทยาลัยไทยก็ยินดีที่จะรับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนเพื่อเพิ่มลูกค้าเข้ามหาวิทยาลัย  และยกระดับสู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้น ทำให้มีชื่อเสียงป็นที่รู้จักในวงกว้าง  ดังนั้นมหาวิยาลัยไทยจึงเปิดหลักสูตรต่างๆ รองรับหรือสนองตอบความต้องการของนักศึกษาต่างชาติ และแน่นอน วิชาภาษาไทย คือวิชาหลักที่นักศึกษาต่างชาติอยากเรียน และต้องเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานเข้าสู่หลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรนานาชาติที่สอนด้วยภาษาอังกฤษ

               การสอนภาษาไทยแก่นักศึกษาต่างชาติเหล่านี้ มีปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างหนึ่งนั่นคือ ตัวอาจารย์ผู้สอน เพราะต้องอาศัยอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยแก่นักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ จะอาศัยอาจารย์ทั่วๆ ไปที่พูดภาษาไทยได้มาสอนคงไม่ได้  แม้จะเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาภาษาไทยโดยตรงก็ตาม  หากไม่มีประสบการณ์มาก่อน หรือไม่ได้ร่ำเรียนวิธีสอนภาษาไทยแก่นักศึกษาต่างชาติมาโดยตรง (ขณะนี้มีหลักสูตรเปิดสอนน้อยมาก) ก็ไม่สามารถสอนได้ดี เนื่องจากไม่รู้หลักและวิธีการสอน

                นอกจากวิธีสอนที่ต้องเรียนรู้มาแล้ว ต้องมีความรู้ภาษาต่างประเทศมาช่วยสอนบ้าง (ภาษาอังกฤษ หรือภาษาของเจาของภาษา) ตลอดจนบุคลิกภาพของอาจารย์ผู้สอนก็ต้องเหมาะแก่การสอนนักศึกษาต่างประเทศซึ่งต้องอาศัยจิตวิทยาเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนชาวต่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร จะปรับวิธีสอนให้เข้ากับบุคลิกภาพของนักศึกษาเหล่านั้นอย่างไร

                 ในบทความนี้จะยกตัวอย่างความคิดเห็นของนักศึกษาต่างชาติ (นักศึกษาจีน) ที่มาเรียนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1 ปีการศึกษา (8 เดือน) ได้แสดงความคิดเห็นต่อบุคลิกภาพและวิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอนไว้อย่างน่าสนใจมาก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่อาจารย์ที่กำลังสอนภาษาไทยแก่นักศึกษาต่างชาติตามสมควร

 

๑)   Zheng Yi   (วัสมน)

            อาจารย์ชาวไทยไม่เพียงแต่มีความรู้ ความสามารถในการสอนเท่านั้น  แต่ท่านดูแล ชีวิตประจำวันของเรา  ท่านจะช่วยเหลือดิฉัน ทำให้ดิฉันซาบซึ้งใจมาก  

 

 ๒) Chen Lianglin  (พิชัย)

             อาจารย์ที่สอนภาษาไทยแก่พวกเราทุกท่านเป็นผู้มีความรู้ดีมาก และใจดีมาก แม้ว่า ตอนแรกภาษาไทยของพวกเราอยู่ในระดับต่ำมาก แต่อาจารย์ชาวไทยก็ใจเย็นและใช้วิธีสอนที่สนุก ทำให้ภาษาไทยของเราดีขึ้นมาก       

 

๓)  Teng   Lifang  (สุธาสินี)

            ดิฉันรู้สึกโชคดีมากที่ได้เรียนภาษาไทยกับอาจารย์ที่ดีมาก เช่น อาจารย์กรเพชร   ท่านสอนวิชาการเขียนแก่ดิฉัน เวลาเรียนกับท่านดิฉันตั้งใจมากเพราะอาจารย์สอนสนุกสนาน ดิฉันไม่เคยรู้สึกเบื่อและมีประโยชน์มาก

 

๔)  Tang   Biwei  (ศศิพร)

            การเรียนที่เมืองไทยสนุกและสบายกว่าการเรียนที่เมืองจีน  อาจารย์ชาวไทยดีต่อพวกเรามากและบางท่านมีอารมณ์ขันทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อเลย การสั่งการบ้านของอาจารย์ชาวไทยก็ไม่เหมือนกับการสั่งการบ้านของอาจารย์ชาวจีน การบ้านที่นี่ต้องวาดรูปด้วย ทำให้ดิฉันรู้สึกสนุกมาก

 

 

๕)  Yin  Lingyun (อัมพร)

           คนที่ดิฉันต้องขอบคุณที่สุดก็คือ อาจารย์ชาวไทยทุกท่าน เพราะว่าถ้าไม่มีพวกท่านที่สอนพวกเราอย่างตั้งใจ ภาษาไทยของเราจะไม่ดีและพัฒนาขึ้นรวดเร็วอย่างนี้อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์ชาวไทยทุกท่านดูแลเราดีมาก ท่านบอกว่าพวกเราเหมือนลูกหลาน

 

๖)  Huang  Xi  (มัลลิกา)

            อาจารย์ที่สอนเรามีอาจารย์กรเพชร  อาจารย์อุไร  อาจารย์ศิวภรณ์ อาจารย์กรรณิการ์  อาจารย์ทุกท่านน่าเคารพมาก อาจารย์ทุกท่านไม่เพียงทำงานหนักเหนื่อยตลอดวัน ตลอดคืนเพื่อสอน ภาษาไทยให้เราเท่านั้นแต่ยังสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อพวกเราด้วย ดังนั้นพวกเราจึงได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์มากมาย  พวกเราโชคดีมากที่มีอาจารย์สอนภาษาไทยเก่งๆ  ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ดิฉันจะไม่ลืมทุกท่านเลย

 

๗)   Jiang  Mei (สายฝน)

            เมื่อพวกเราเรียนวัฒนธรรมไทยทำให้ดิฉันเกิดความประทับใจลึกซึ้ง อาจารย์เอา ผักหลายอย่างมาให้พวกเราดูและดมกลิ่น แล้วมีขนมไทยด้วย อร่อยมาก การสอนอย่างนี้ทำให้ไดรู้จักผักไทยและขนมไทยได้ดี    อาจารย์สอนการเขียนขอให้เราวาดภาพเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง เพื่อนทุกคนรู้สึกว่าแปลกใหม่มาก การบ้านอย่างนี้ทำให้เรา

มีความสุข สนุกดีมาก  สิ่งที่ดิฉันชอบมากที่สุดคือเสียงหัวเราะของอาจารย์ เวลาท่านหัวเราะดิฉันก็อยากหัวเราะไปกับท่านด้วย

 

๘)   Shi   Yan (หยกฟ้า)

             อาจารย์อุไร ท่านเป็นอาจารย์ที่น่ารักที่สุดเท่าที่ดิฉันพบมา  ใบหน้าของท่านเต็มไปด้วยรอยยิ้มเสมอ เมื่อเห็นรอยยิ้มของท่านดิฉันรู้สึกสบายใจ ได้ฟังเสียงที่ท่านพูดทุกครั้งดิฉันก็นึกถึงคุณยายของดิฉัน ดิฉันจะกลับเมืองจีนแล้ว ดิฉันขอให้อาจารย์ชาวไทยทุกท่านสดชื่น แข็งแรงมีความสุขเบิกบานใจทุกวัน

 

๙)   Ren  Xiaoyu (สุภาวดี)

             อาจารย์ชาวไทยของเราดีกับเรามาก การสอนของอาจารย์เราเก่งมาก ที่เมืองจีน อาจารย์เรามีชื่อเสียงมาก ภาษาไทยของเราทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนก้าวหน้าดีมาก 

 

๑๐)   Wei  Songhao (ภูฟ้า)

             อาจารย์ชาวไทยเป็นคนใจดี เมื่อผมไม่เข้าเรียน อาจารย์ก็ยังดูแลผมให้ผมเข้าเรียน  แต่ผมเรียนไม่เก่ง ฟังก็ไม่รู้เรื่อง ทำให้ผมไม่สบายใจแต่ผมก็รักอาจารย์  ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่พยายามสอนผม

 

              

               บทความนี้คงจะพอเห็นบุคลิกภาพและกลวิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ซึ่งมีประสบการณ์การสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศมาไม่น้อยกว่าท่านละ 15 ปี และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยต่อไปครับ
หมายเลขบันทึก: 169548เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

อาจารย์สอนชาวต่างประเทศ ชาติไหนมากที่สุดคะ และมีเปรียบไหมคะ ว่า ภาษาของเขากับเรา ชาติไหนใกล้เคียงกับเรา มีรากศัพท์คล้ายกัน ยกเว้น ลาวค่ะ

อาจารย์ครับ ตอนนี้ผมมีเว็บไซต์เป็นของตนเองแล้ว

มีไว้เพื่อประกอบการสอนและเผยแพร่ผลงานตนเอง

ถ้าอาจารย์ได้รับชมแล้วอาจมีข้อเสนอแนะติชมอย่างไร

ได้โปรดแจ้งให้ผมทราบได้เลยนะครับ

เว็บไซต์สามารถเข้าชมได้ที่www.kruball.th.gs

สวัสดีคุณSasinand

ผมสอนนักศึกษาชาติจีนมากที่สุด รองลงมาก็คือ ญี่ปุ่น เกาหลี ส่วนทางยุโรป อเมริกันนั้นไม่คุ้นเคยครับ อีกทั้งยังไม่มีความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอนภาษาไทยระหว่างสถาบันการศึกษาด้วย

มีงานวิจัยมากมายที่เปรียบเทียบเรื่องภาษาไทยกับภาษาอื่นๆ แน่นอนครับภาษาไทยเราใกล้เคียงกับพวกภาษาในตระกูล ไท-กะได มากที่สุด ในกลุ่มไท มีการศึกษาไว้มากครับ เช่น ภาษาของไทจ้วง เป็นต้น ส่วนภาษาลาวนั้นน่าจะใกล้มากโดยเฉพาะภาษาอีสาน และภาษายวน(ไทล้านนา) ไทย-ลาวพูดกันรู้เรื่องดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท