การจัดสวัสดิการสังคมของรัฐไทย : ปัญหาเชิงระบบ กระบวนทัศน์และวัฒนธรรม(2จบ)


พลังทรัพยากรทั้งกำลังคนและงบประมาณจำนวนมหาศาลได้ถูกพล่าผลาญผ่านกลไกการจัดการหลากระบบโดยหน่วยจัดการและคณะกรรมการชุดต่างๆที่ตั้งขึ้นถมทับเป็นสุสาน

กลไกการจัดการ

การขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมไทยเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องดำเนินการผ่านกลไกของระบบราชการที่แบ่งเป็นราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดยมีรูปแบบและวิธีการจัดสรรงบประมาณดังนี้

1)จัดสรรตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน โดยมีหน่วยจัดการในระดับประเทศและจัดสรรตามขนาดหรือสถานภาพของกลุ่มเป้าหมายในหน่วยจัดการระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และระดับท้องถิ่น รวมทั้งในระดับหมู่บ้านและชุมชน

2)จัดสรรในรูปแบบกองทุนหมุนเวียนและโครงการที่เป็นรายจ่ายประจำปี

แสดงดังตาราง

รูปแบบและวิธีการจัดการ

หน่วยจัดการในระดับต่างๆ

ประเทศ

จังหวัด

ท้องถิ่น

หมู่บ้าน/ชุมชน

กองทุนหมุนเวียน

 

 

 

 

โครงการที่เป็นรายจ่ายประจำปี

 

 

 

 

 

ในการบริหารจัดการ รัฐไทยได้ออกแบบให้มีคณะกรรมการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการบริหารกองทุน โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ และหน่วยจัดการตามกรอบภารกิจในด้านต่างๆในระดับต่างๆซึ่งมีการซ้อนไขว้กันอย่างซับซ้อนและซ่อนเงื่อน เช่น จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่น  ในปี 2550-2551แสดงดังตาราง

งบจัดสรรให้ท้องถิ่นปี2550-2551

2550

2551

ท้องถิ่นเก็บเองรัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้

218,050.2

228,900.0

เงินอุดหนุน

139,374.0

147,840.0

 -อบจ./เทศบาล/อบต.

123,574.9

131,074.9

 -กทม.

14,195.3

15,064.9

 -เมืองพัทยา

1,603.8

1,700.2

รวมทั้งสิ้น

357,424.2

  376,740.0

จัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชนในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจำนวน18,000ล้านบาท และจัดสรรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำนวน 65,375.8ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งแสดงความซับซ้อนของกลไกการจัดการใน 4 ระบบของรัฐไทยได้ดังตาราง

ขอบเขตและ

มิติสวัสดิการสังคม

กลไกการจัดการ

หน่วยจัดการ/รูปแบบ

ประเทศ

จังหวัด/

กลุ่มจังหวัด

ท้องถิ่น

ชุมชน/หมู่บ้าน

ขอบเขต

-การส่งเสริมการพัฒนา

-การสงเคราะห์

-การคุ้มครอง

-การป้องกัน

-การแก้ไขและการบำบัดฟื้นฟู

มิติสวัสดิการสังคม

-การศึกษา

-สุขภาพอนามัย

-ที่อยู่อาศัย

-การทำงานและมีรายได้

-นันทนาการ

-กระบวนการยุติธรรม

-บริการสังคมทั่วไป

กองทุน

(ตัวอย่าง)

-กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

-กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

-กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

-กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

-กองทุนผู้สูงอายุ

-กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

 

-กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

 

 

 

 

 

 

 

 

-กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

-กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

 

 

 

 

 

งบประมาณรายจ่ายประจำปี

 

(ตัวอย่าง)

 

 

งบกระทรวง ทบวง กรม

 

 

 

 

งบบูรณาการจังหวัด

 

 

 

 

งบท้องถิ่น

 

 

 

 

-งบเอสเอ็มแอล

-งบแก้ไขปัญหาความยากจน  (กขคจ.)

 

ปัญหาที่ผ่านมาของระบบจัดการที่ทับซ้อนกันคือ การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการเพื่อไปสู่เป้าหมายที่จินตนาการไว้ทั้งที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาฉบับที่ 10 และเป้าหมายของสวัสดิการสังคม แม้ว่าจะได้วางระบบในการพัฒนาประเทศที่มาจากฐานความรู้ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดและประเทศแล้วก็ตาม กล่าวคือ  ในระดับหมู่บ้าน กำหนดให้มีการจัดทำแผนแม่บทชุมชนจากฐานข้อมูลรับจ่ายและหนี้สินในครัวเรือน ทุนวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประมวลวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของชุมชน แผนแม่บทชุมชน    ที่ได้จะถูกเชื่อมโยงเข้ากับแผนพัฒนาของท้องถิ่น และแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อวางกรอบการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการและศักยภาพของชุมชนในแต่ละระดับโดยหน่วยจัดการระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่นและจังหวัด ซึ่งเชื่อมโยงกับหน่วยจัดการระดับประเทศ แต่เนื่องจากหน่วยจัดการในระดับต่างๆซึ่งมีด้วยกันหลากหลายต่างยึดเอาแผนงานโครงการของตนเป็นตัวตั้ง โดยวางระบบตัวแทนชาวบ้านให้เป็นกลไกอาสาของหน่วยงานตน ต่างคนก็ต่างทำเพื่อตอบตัวชี้วัดของตน แม้ว่าจะมีกลไกคณะกรรมการทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงและบูรณาการความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในระดับต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ยังคงยึดติดหรือจำเป็นต้องติดยึดกับระเบียบและการประเมินผลที่ใช้หน่วยงานเป็นตัวตั้ง อีกทั้งยังขาดทักษะการทำหน้าที่ผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน สาเหตุสำคัญคือ รัฐไทยยังมีกระบวนทัศน์การจัดการเพื่อการปกครองและควบคุม ทำให้ธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆของรัฐที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรยังคงมีเค้าของความคิดในเรื่องเหล่านี้อยู่มาก แม้ว่าโดยรูปแบบจากการวางกลไกการจัดทำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศจะค่อยๆคลี่คลายเป็นการกระจายอำนาจให้กับชุมชนมากยิ่งขึ้นก็ตาม และว่าโดยสายเลือดหรือวัฒนธรรมราชการที่ฝังลึกกว่าตัวอักษรที่ตราไว้ยังคงความเข้มข้นของระบบเจ้านายที่ยึดติดในรูปแบบพิธีการมากกว่าตัวเนื้อหาดังเช่นที่ผ่านมา

แผนที่ความรู้ในกระบวนการพัฒนาประเทศที่เน้นการเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ชุมชนและเรียนรู้โลกโดยการเชื่อมร้อยกันในระดับต่างๆในกระบวนการแผนแม่บทชุมชน แผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาประเทศได้รับการคิดค้นโดยชุมชนไม้เรียงโดยนายประยงค์ รณรงค์และคณะ และได้รับการขยายผลในระดับจังหวัดโดยนายวิชม ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งการผลักดันสู่นโยบายระดับประเทศโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละลอกคลื่นที่โถมมาพร้อมขบวนรัฐยาตราก็กำลังผ่านพ้นไปกับสายลม

พลังทรัพยากรทั้งกำลังคนและงบประมาณจำนวนมหาศาลได้ถูกพล่าผลาญผ่านกลไกการจัดการหลากระบบโดยหน่วยจัดการและคณะกรรมการชุดต่างๆที่ตั้งขึ้นถมทับเป็นสุสาน หมดสิ้นปัญญาของชาวสวนชุมชนไม้เรียงและผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทุ่มเทใส่ใจในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมากที่สุดท่านหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะนี่มิใช่เป็นปัญหาเรื่องความรู้และทักษะการทำงานเท่านั้น แต่เป็นปัญหาเชิงระบบ กระบวนทัศน์และวัฒนธรรมที่ฝังลึกอยู่ในสายเลือดการปกครองและควบคุมของรัฐไทย ซึ่งยังไม่เสื่อมคลายไปจากสังคมไทย

 

*********************************************************************************************************

 

หมายเลขบันทึก: 169367เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นกน้อยทำรังแต่พอตัว

รู้สึกว่าเขียนบทความมันเกิดอะไรขึ้น กับการพัฒนาหลายด้าน มีความรู้สึกว่ามันจะเป็นฝูงปลาที่ว่ายทวนกระแสน้ำที่แรงพอดู เมื่อไหร่จะเจอแหล่งน้ำที่ไม่แรงและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ วันนั้นปลาฝูงนี้คงจะอ้วนตุ้ยนุ้ยดีนะ

ผมหายไปนาน  ลองเข้ามาทักทายใหม่.. คงยังจำผมได้นะครับ..

อาจารย์ให้ภาพของ "อุปสรรค" ที่ชัดเจนครับ

กำลังสงสัยว่า เรื่อง "ปฏิรูประบบราชการ" ทำอะไรแค่ไหน อย่างไร ตอนนี้เงียบกันไปแล้ว  อะไรบ้างที่ต้องปฏิรูป  ชาวบ้านปฏิรูปวิธีคิดวิธีทำงานกันไปถึงไหนๆแล้ว

เริ่มที่คนก็อ้างว่าติดระบบ  เริ่มที่ระบบก็อ้างว่าติดที่คน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท