ปุ๋ย ในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม


           จากความสับสนเกี่ยวกับการเรียกชื่อปุ๋ยประเภทต่าง ๆ ข้อดี  ข้อด้อย  และข้อควรระวัง  ในแง่การเกษตรและสิ่งแวดล้อมของปุ๋ย  ประเภทต่าง ๆ คือ ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ  และแนวทางการเลือกใช้ปุ๋ย  จะเห็นว่า ปุ๋ยทั้งสามประเภทล้วนมีทั้งข้อดี  ข้อด้อย  และข้อควรระวังทั้งสิ้น  แต่ข้อดี  ข้อด้อย  และข้อควรระวัง  แตกต่างกันไปตามประเภทของปุ๋ย  ข้อด้อยของปุ๋ยประเภทหนึ่ง  อาจจะชดเชยได้ด้วยข้อดีของปุ๋ยประเภทอื่นได้ 
          
ดังนั้นการเลือกใช้ปุ๋ยทั้งสามประเภทร่วมกันให้เหมาะสมต่อดินและพืช  และเลือกใช้แต่ปุ๋ยที่มีคุณภาพดีจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด  ทีนี้ ลองมาทำความรู้จักกับปุ๋ย กันนะครับ
(ไม่ใช่พรทิพย์นะ)

ปุ๋ยคืออะไร ???

          ปุ๋ย  หมายถึงสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ  หรือทำขึ้นก็ตาม  สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้  ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อบำรุงความเติมโตของพืช

ชนิดของปุ๋ย

          ปุ๋ย อาจจะแบ่งได้เป็น 3  ชนิด  คือ  ปุ๋ยแร่ธาตุ  ปุ๋ยอินทรีย์  และปุ๋ยชีวภาพ

          ปุ๋ยแร่ธาตุ  หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารอนินทรีย์แบ่งออกได้เป็นสองพวกใหญ่ ๆ  คือปุ๋ยแร่ธาตุธรรมชาติและปุ๋ยแร่ธาตุสังเคราะห์  ปุ๋ยแร่ธาตุธรรมชาติ หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสาร อนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น  หินฟอสเฟตบด  และแร่ซิลไวท์  (ปุ๋ยโพแทสเซียม)  เป็นต้น  ส่วนปุ๋ยแร่ธาตุสังเคราะห์ หมายถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มนุษย์ทำขึ้นจากวิธีทางเคมี  เช่น  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต  และปุ๋ยทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต  เป็นต้น

          เนื่องจากปุ๋ยแร่ธาตุสังเคราะห์ได้มาจากการผลิตโดยวิธีเคมี  จึงถูกจัดว่าเป็นปุ๋ยเคมี  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปุ๋ยแร่ธาตุได้จากกรรมวิธีทางเคมี  หรือแร่ธาตุธรรมชาติก็ได้

          ปุ๋ยอินทรีย์  หมายถึงปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์  แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่    คือ ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติและปุ๋ยอินทรีย์สังเคราะห์  ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ หมายถึงปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต  ที่รู้จักกันดีมีอยู่  3  ชนิด   คือ  ปุ๋ยคอก       ปุ๋ยหมัก  และปุ๋ยพืชสด  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงซากพืชซากสัตว์และของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากครัวเรือน  ซึ่งหากนำมาใช้เป็นปุ๋ยก็ถูกจัดว่าเป็นอินทรีย์เพราะมีสารอินทรีย์เป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง  ส่วนปุ๋ยอินทรีย์สังเคราะห์ หมายถึง  ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์  ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์  โดยวิธีทางเคมี  คือปุ๋ยยูเรีย  ซึ่งถูกจัดว่าเป็นปุ๋ยเคมีชนิดหนึ่ง

          ปุ๋ยชีวภาพ  (Biofertilizer)  หมายถึง  วัสดุที่มีจุลินทรีย์เป็นตัวออกฤทธิ์  (active ingredient)  ในการทำให้พืชได้รับธาตุอาหารมากขึ้น  ปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำให้ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  ได้แก่  ปุ๋ยที่มีเชื้อแบคทีเรียบางชนิด  เชื้อราบางชนิด  และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิดเป็นตัวออกฤทธิ์  ปุ๋ยชีวภาพที่รู้จักกันดีที่สุดคือเชื้อไรโซเบียม   

  

          เป็นอย่างไรบ้างครับ ปุ๋ย มีมากมายหลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ ปุ๋ยแร่ธาตุสังเคราะห์ ราคาค่อนข้างสูง บางยี่ห้อ ราคา พันกว่าบาท เข้าไปแล้ว คนที่ใช้ปุ๋ยจึงต้องหันมาคิดดูว่า เราใช้ปุ๋ยคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ไม่ใช่ว่าหาได้มาก แต่จ่ายค่าปุ๋ยไปหมด สำหรับข้อมูล เพิ่มเติม จะนำเสนอในโอกาสต่อไป ครับ

ชัยพร นุภักดิ์

 

(เรียบเรียงจากข้อมูล ผลการวิจัยของ อาจารย์ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์  มก. )

หมายเลขบันทึก: 168849เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับ

  • ไม่ซื้อปุ๋ยเคมีหลายปี เขาบอกว่า 1200 ไม่เชื่อ
  • อะไรจะแพงขนาดนั้น เคยซื้อราคา 550 ยังบ่นว่าแพง
  • แล้วจะทำอย่างไรดีละ พืชบางอย่างใช้ปุ๋ยชีวภาพไม่ได้เสียด้วย
  • ขอบคุณมากครับ 

สวัสดีครับพี่ไมตรี

  • ราคานั้น ไม่ผิดครับ
  • ปาล์ม ถ้าไม่มีเคมีอยู่ด้วย ยากที่จะออกลูก
  • จะช่วยกันอย่างไรดีน้อ

สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์

  • อยากเห็นทีม KM กรมฯ จังเลย ครับ
  • ทำงานอยู่กลุ่มส่งเสริมการผลิต แต่เวลาใครถามเรื่องปุ๋ยเรื่องสารเคมี ใบ้เกือบกินทุกที
  • ขอบคุณที่นำมาให้ได้อ่านได้ทวนกันอีกที
  • ขอบคุณค่ะ
  •  หนุ่ม ร้อยเกาะ ... ผมจะใส่ปุ๋ยแร่ธาตุหรือปุ๋ยประเภทอื่นๆ สูตรอะไร/อัตราเท่าไร/อย่างไรดี? ถึงจะเหมาะสมถูกหลักวิชาในสวนยางพาราพันธุ์ RRIM 600 อายุประมาน3.5ปี แปลงปลูกอยู่ที่หน้าเขามหาชัย ลักษณะดิน เป็นดินร่วนทราย..ตั้งแต่ปลูกมาจนถึงวันนี้ต้นยางฯผมยังไม่เคยลิ้มรสปุ๋ยแร่ธาตุหรือปุ๋ยชนิดอื่นใดของ หนุ่ม ร้อยเกาะ โดยตรงเลย..แต่คงจะแอบไปชิมปุ๋ยที่ใส่ให้พืชผักล้มลุกและต้นมะนาวที่ปลูกอยู่ระหว่างต้น/แถวยางมาบ้างเล็กน้อย
  • ยางฯแปลงนี้ผมทดลองปลูกในเนื้อที่4ไร่ ระยะปลูก 5*5เมตร  เพื่อศึกษาหาข้อมูลบางประการในด้านการเจริญเติบโตและด้านผลผลิตน้ำยาง-เนื้อไม้...(การเจริญเติบโตขณะนี้เป็นที่น่าพอใจ)
  • รบกวนขอคำแนะนำจากพี่  ชาญวิทย์-นครศรีฯ และทุกๆท่าน ด้วยนะครับ
  • องค์ความรู้เรื่องดิน ปุ๋ยและเคมีเกษตรที่  จินตนาภร คงชะนะ พูดถึง นับว่ามีความสำคัญมาก ต่อสมรรถนะในภาระหน้าที่การงานของพวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรทุกคน ทั้งในยุคอดีต ปัจจุบันและอนาคต.. นำมาแลกเปลี่ยนกันเยอะๆนะครับ..ขอบคุณ หนุ่ม ร้อยเกาะ อีกครั้งครับ.

P

 อ้อควั้น

สวัสดีค่ะ...พี่ชัยพร

  • สบายดีนะค่ะ
  • ตามพี่ยาว และเขียว มาเรียนรู้เรื่องปุ๋ยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ปลูกสำปะหลัง 1600 ต้น/ไร่ ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 700 กรัมพร้อมปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินอีกนิดหน่อย ได้น้ำหนักหัวมันสำปะหลังต้นละ 13.50 กิโลกรัม ลองคิดดูว่าได้ไร่ละกี่ตัน ราคาหัวสำปะหลังสดขณะนี้ 2.35 บาท น่าปลูกไหมคับพี่ ถ้าพี่ปราจีนพี่หนุ่มร้อยเกาะสนใจมาดูงานได้ที่สระแก้ว
  • ธาตุอาหารในดินยังมีมากมายคับพี่แต่พืชนำไปใช้ไม่ได้เพราะดินอาจเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ควรส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรนำดินไปตรวจวิเคราะห์ก่อน เมื่อได้ค่าวิเคราะห์แล้วเราค่อยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ บางที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลยเพียงแค่ใส่ปูนขาวนิดหน่อย
  • อย่าหลงประเด็นนะคับพี่ ปุ๋ยอะไรก็ดีหมดละคับ ปุ๋ยเคมีแพงก็ใช้ป๋ยหมักแทนได้อาจไม่ทันใจก็รอหน่อย
  • อย่าลืมคับพี่พืชกินปุ๋ยในรูปแบบใด.....แต่ไม่เหมือนคนบางคน กินได้กินดี กินทางด่วน กินรถไฟ กินสนามบินสุวรรณภูมิแล้วก็กินรถดับเพลิง

หวัดดีครับคุณ น้องเขียว

  • ปุ๋ยแพง ต้องเช็คราคาวันต่อวันเลยครับ
  • ขอบคุณที่มาเยือน

หวัดดีครับคุณพี่ชาญวิทย์

  • เข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว คงคิดงานได้อีกเยอะนะครับ

 

หวัดดีครับคุณพี่ปราจีน

  • สรุปแล้ว ต้องไปดูงานที่สระแก้วก่อนนะ พร้อมเมื่อไหร่ บอกมาด้วยครับ

 

หวัดดีครับคุณอ้อย

  • อ้อย ต้องการปุ๋ยมั๊ยครับ
  • สงสัยว่าทำไมกินปุ๋ย เค็ม ขม แล้วออกมาเป็นน้ำหวานๆได้ 555

 

หวัดดีครับคุณพี่สระแก้ว

  • จะหาโอกาสไปเยี่ยมถิ่นสระแก้วอยู่ครับ
  • รอให้คุณพี่ปราจีนว่างก่อน
  • อย่ามัวแต่ดูเขากินกันเพลิน นะครับ เดี่ยวได้ชิมข้าวแดงหรอก...

สวัสดีค่ะคุณหนุ่มร้อยเกาะ (บ้านเกิดของเรา)

พูดถึงเรื่องปุ๋ยขอเรียนให้ทราบว่าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการมีการวิเคราะห์เรื่องปุ๋ยกันอยู่ สนใจว่าปุ๋ยของเรามีสารเคมีอะไร ปนเปื้อน หรือ ต้องการชนิดไหนดี ลองส่งคำถามมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลเรื่องนี้จะตอบข้อข้องใจให้ เชิญเข้าไปดูในเว็บของสำนักหอสมุด http://siweb.dss.go.th/lo ดูที่คอลัมน์สิ่งพิมพ์ในวศ.มีบทความฉบับเต็มให้อ่าน ลองค้นเช้าภายใต้คำว่า ปุ๋ย หรือจะชนิดของปุ๋ยต่าง ๆก็ได้

ลองดูน่ะค่ะ

หวัดดีครับ คุณ network

  • กำลังต้องการความช่วยเหลืออยู่พอดีเลยครับ เพราะปุ๋ยราคาแพงอย่างนี้ ไม่อยากใส่ปุ๋ยโดยไม่จำเป็น
  • ขอทราบว่าหน่วยงานของท่าน มีเครือข่ายที่จังหวัดสุราษฎร์ฯ บ้างหรือเปล่า จะประสานงานอย่างไรได้
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ทุกๆคน

อยากทำปุ๋ยใช้เองค่ะ พอดีมีที่นา 3 ไร่ แต่ไม่มีหน้าดิน

เจ้าของเก่าเอาหน้าดินขาย ตอนนี้ปลูกอะไรก็ไม่งอกงาม

พอจะมีวิธีการปรับปรุงดินให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้งัยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ปัญหาเกษตรยังมีอีกเยอะที่จะถามแล้วจะเข้ามาใหม่ค่ะ

หวัดดีครับ

  • หวัดดีครับคุณ ไม่บอก ไม่บอกก็แล้วไป..55
  • หวัดดีคุณแว่นตา ...
  • การปรับปรุงที่นาที่โดนทำลายหน้าดินไปแล้ว ต้องใช้เวลา และแรงงาน แรงเงินมากพอควรครับ

1.ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชปุ๋ยสด แล้วไถกลบ หลายๆครั้ง ปลูก-ไถ ๆๆๆ

2. ใช้ปุ๋ย หมัก ปุ๋ยคอก ใส่ ให้เยอะๆหน่อย ปรับปรุงดิน สักปีสองปี ก็น่าจะเริ่มใช้ได้

3.อาจจะทำคอกสัตว์ ในพื้นที่นั้นเลยก็ได้

4.ต้องสร้างชั้นหน้าดินให้เกิดขึ้น ให้ได้ อย่างน้อยหนา สัก 5 ซม.ก็ยังดี

5.ทำซ้ำ ที่ว่ามานี้บ่อยๆ จะใช้ได้ในที่สุด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท