ภูมิปัญญาท้องถิ่น:กรณีศึกษาการผลิตเครื่องจักสานใบเตย บ้านโต๊ะบัน อ.สิเกา ต. ตรัง


ภูมิปัญญา การผลิตเครื่องจักสานใบเตย บ้านโต๊ะบัน อ.สิเกา จ. ตรัง

    คำว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" แรกๆเลยผมเองเคยแต่ได้ยินเขาพูดกัน ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร แต่พอมาศึกษาต่อทำให้เข้าใจมากขึ้น ว่า ภูมิปัญญานั้น เป็นความรู้ ความสามารถ ของคนที่มีมาตั้งแต่อดีต มีการสั่งสม ถ่ายทอด จากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน และเป็นสิ่งดีมากอย่างหนึ่งสำหรับตัวผม ที่ได้มีโอกาสได้ศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาการผลิตเครื่องจักสานใบเตย บ้านโต๊ะบัน อ.สิเกา จ.ตรัง ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ถึงได้ใช้ใบเตยมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน  จากที่เคยศึกษามาส่วนมากจะเจอกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้ไผ่ หวาย ใบตาล ใบลานและผักตบชวา  ทำให้ผมสนใจเครื่องจักสานที่ทำจากใบเตยประเภทนี้

ความเป็นมา

   คุณยาย บุอะ ประธานกลุ่มสตรีเครื่องจักสานบ้านโต๊ะบัน เล่าให้ฟังว่า ต้นเตย ถือว่าเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน และบันโต๊ะบัน อ.สิเกา จ.ตรัง ก็จะมีพืชชนิดนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้คนสมัยก่อนคิดค้นนำใบเตยมาสานเป็นเสื่อ สำหรับปูนอนในบ้าน บางครั้งถึงกับใช้เสื่อที่สานกันนี้ เป็นสินสอดอีกด้วย การสานเสื่อใบเตย เป็นอาชีพที่นิยมกันมากในหมู่สตรีทางภาคใต้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถานได้แทบทุกครัวเรือน แต่เดิมมักสานเสื่อสำหรับรองนั่งหรือปูนอน ชาวบ้านเรียกว่าสาดอ่อนหรือสาดปาหนัน เสื่อปาหนันเสื่อเตยในอดีตที่มีความประณีต งดงามมากคือ "ยอดสาด" ซึ่งเป็นเสื่อผืนสุดท้าย หรือผืนบนสุดที่สานพิเศษสำหรับใช้ในพิธีแต่งงาน โดยคู่บ่าวสาวจะต้องช่วยกันสานเสื่อไว้ ใช้ปูนอนอย่างน้อย 12 ผืน จำนวนของเสื่อขึ้นอยู่กับฐานะของคู่บ่าวสาว เมื่อสานเสื่อเสร็จแล้วจะนำมาวางซ้อนกันแทนที่นอนเสื่อผืนบนสุดหรือ "สาดยอด" นั้นจะสานให้ประณีตสวยงานเป็นพิเศษและประดับกระจกปักด้วยตามุมเสื่อ จึงทำให้ยอดสาดยอดเป็นเสื่อที่สวยงามเป็นขึ้นเศษ การสานเสื่อปาหนันนั้นแต่เดิมจะสานด้วยตอกใบปาหนันย้อมสี  ต่อมาจึงมีคนนิยมทำกันมาก จักสานเป็นรูปแบบต่างๆหลากหลายชนิด เช่น หมวก เสื่อ ปลอกหมอน และสอบตั้ง เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผมสนใจการผลิตเครื่องจักสานใบเตย ว่ามีวิธีและขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่ การคัดเลือกใบเตย จนถึงขั้นขึ้นรูปเครื่องจักสานใบเตยออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ

ขั้นตอนและวิธีการผลิตเครื่องจักสานใบเตย

ขั้นเตรียมใบเตยและวัสดุอุปกรณ์

                1. การเตรียมใบเตย

                จากการศึกษาขั้นตอนการเตรียมใบเตย ซึ่ง นอต รักสะอาด รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมใบเตยบ้านโต๊ะบัน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเตรียมใบเตยว่า การเตรียมใบเตยประกอยด้วย 7 ขั้นตอน คือ

1.1      การคัดเลือกต้นเตย ต้นเตยที่จะนำมาทำตอกเตยนั้น เรียกว่าเตยปาหนัน มีลักษณะคล้ายเตยหอมแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบหนากว่าและมีหนามที่ใบ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเข้าไปตัดในป่าที่ลึกเข้าไป จะไม่เอาต้นเตยที่อยู่ด้านนอกๆเพราะต้นเตยในป่าลึกจะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า  จากนั้นก็คัดเลือกเอาต้นเตยที่มีใบบางๆยาวๆเพื่อเอามาทำเป็นตอกเตยและสมบูรณ์มากกว่า จะไม่เอาใบที่ผอมๆเพราะเมื่อกรีดแล้วจะได้ตอกจำนวนน้อยเส้น

 

 

 

1.2   การตัดใบเตย เริ่มแรกตัดจะใช้มีดพร้าที่มีความคม ฟันวัชพืชรกๆรอบๆต้นเตยออกเสียบ้าง เพื่อความสะดวกในการเข้าไปตัด ซึ่งการที่ได้ใบเตยที่พอเหมาะนั้นผู้ตัดจะเลือกใบเตยที่ตั้งแต่ประมาณชั้นใบที่ 4  นับจากโคนต้นขึ้นไปและไม่เอาใบยอดที่ยังอ่อนๆ2-3 ชั้นใบนับจากข้างบน จากนั้นจึงฟันมีดพร้าลงไปเฉียงๆให้ติดหัวอ่อน  การไม่ตัดที่โคนต้นนั้น ไม่เพียงให้ได้ใบที่เหมาะเท่านั้น แต่ยังเพื่อให้หัวอ่อนแตกหน่อภายหลัง

 

 

1.3      การริตัดหนามใบเตยและย่างใบเตย การย่างใบเตยมีประโยชน์คือ ทำให้ใบเตยนิ่มสะดวกในการรีดและไม่กรอบหักเมื่อสาน ทั้งยังกันขึ้นราได้อีกด้วย ก่อนที่จะนำใบเตยมาย่างไฟนั้น จะต้องใช้มีดริดหนามด้านหลังกลางใบออกเสียก่อน โดยจะริดจากโคนไปหาปลายใบตามยาว  จากนั้นจึงเอามาทัดรวมกันประมาณ 10-15 ใบ  สำหรับไฟที่เหมาะสมในการย่างใบเตยนั้น จะต้องเป็นไฟถ่านและไม่มีควัน เพราะไฟที่ลุกและมีควันจะทำให้ใบเตยไม่เป็นสีขาวตามต้องการ การย่างใบเตยจะย่างสุก สังเกตได้โดย เมื่อใบเตยมีสีเขียวเข้มขึ้นเป็นเงาก็เป็นอันว่าใช้ได้

 

 

1.4      การกรีดใบเตย นำใบเตยที่ย่างไฟแล้วมากรีดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเล็บแมวโดยเว้นระยะจากโคนใบไว้ก็เพื่อสะดวกในการหยิบและการขูดด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป หลังจากการริดแล้วก็ฉีกเอาเส้นที่เป็นหนามทั้ง 2 ข้างของใบออก และเส้นตรงกลางที่เป็นรอยกรีดเอาหนามออกทิ้งไป ใบเตยหนึ่งใบกรีดล้วได้เส้นตอก ประมาณ 3-6  เส้น

 

 

 

1.5      การแช่น้ำ เพื่อให้ตอกเตยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวถ้าต้องการให้ขาวมากยิ่งขึ้นก็ให้เติมน้ำส้มสายชูลงไปประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ แช่ 2 วัน  2 คืน หลังผ่านคืนที่ 1 ไป ต้องเปลี่ยนน้ำ 1 ครั้ง  ในการแช่ต้องเอาของหนัก เช่น ก้อนหินใส่ถุงพลาสติกทับตอกเอาไว้เพื่อให้ตอกจมน้ำหมดทุกเส้น

 

 

 

 

 

1.6 การตากตอกเตย  ถ้าแดดจัด วันเดียวก็ใช้ได้

 

 

 

1.7 การย้อมสีตอกเตย   ชาวบ้านจะแยกตอกเตยส่วนหนึ่งจากตอกเตยที่ตากแห้งและขูดด้วยไม้ไผ่แล้วมาย้อมสี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายที่สวยงาม สีที่ใช้ย้อมเป็นสีเคมี ส่วนใหญ่จะใช้สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม  การย้อมสีตอกเตยจะเริ่มต้นโดยการต้มน้ำประมาณครึ่ง กะละมังให้เดือดแล้วใส่เกลือแกงลงไปประมาณ 1 กำมือเพื่อจะช่วยป้องกันตอกเตยสีตก และใส่หัวน้ำส้มประมาณ 3 หยด จะช่วยให้ตอกเตยลื่นยิ่งขึ้น จากนั้นเอาสีที่ต้องการย้อมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน ต้องรอให้น้ำเดือดจึงเอาตอกเตยซึ่งชุบน้ำให้เปียกก่อนใส่ลงไปได้

 

 

 

2.ขั้นสานและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

         ในการสานลายพื้นฐานจากกันของผลิตภัณฑ์โดยใช้หุ่นหรือแบบขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นเบ้าในการสาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รูปแบบและประเภทต่างๆ  ลายที่นิยมสานได้แก่  ลายขัด ลายสอง ลายสาม  ลายดอกพิกุล ลายงูเหลือม ลายอกปู  ฯลฯ      ยกตัวอย่าง

การขึ้นผลิตภัณฑ์  กระเป๋าสตรี ทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กลาง เล็ก โดยมีขั้นตอนการขึ้นรูปต่อไปนี้

     2.1.1 การขึ้นรูปเริ่มต้นจากการทำก้นกระเป๋า โดยสานด้วยลายหนึ่งตามขนาดกระเป๋าที่ต้องการผลิต สานก้นกระเป๋าจนเต็มพื้นที่ของหุ่นแล้วขึ้นส่วนขอบล่างเพื่อขึ้นรูปทรงของกระเป๋าต่อไป แล้วสอดสีด้วยตอกเตยสีต่างๆเพื่อเพิ่มความสวยงาม

                     2.1.2 การขึ้นรูป โดยใช้ตอกสีที่ต้องการสานขึ้นต่อจากขอบล่างในแนวเฉียงทแยงมุมซ้ายขวาจนถึงขอบด้านบน

                     2.1.3 ขึ้นใส่หูกระเป๋าและตกแต่งรายละเอียด นิยมถักด้วยลายหนึ่งโดยใช้สายยางขนาดที่เหมาะสมกับกระเป๋าเป็นแกนกลาง ความยาวของหูกระเป๋าขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า แต่โดยส่วนมากกระเป๋าที่ส่งขายจะไม่ต้องใส่หู เพราะทางลูกจะนำไปตกแต่งเพิ่มเติม

 

 

 

                   2.2 ขั้นเก็บความเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์ หลังจากการสานตัวกระเป๋าเสร็จแล้วก็จะมีการเก็บความเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์โดยการสานพับลงด้านล่าง

 

 

                   2.3 ขั้นเก็บและรักษาผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ใบเตยจะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมจึงไม่ต้องกังวลเรื่องความชื้นหรือการขึ้นรา สามารถเก็บรักษาได้ในทุกที่

 

 

 

 รูปแบบ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานใบเตย

 

 

                          

                                กระเป๋า                                    ปลอกหมอน

 

 

 

                         หมวก                                                         เสื่อ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168649เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สนใจภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเครื่องจักสานอยู่แล้ว  เพิ่งรู้ว่าใบเตยสามารถนำมาทำเครื่องจักสานได้  ชื่นชมคนต้นคิดจริงๆ สามารถประยุกต์นำเอาว้สดุจากในท้องถิ่นนำมาทำให้เกิดประโยชน์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน  ว่างๆขอดูของจริงหน่อยนะค่ะ

http://gotoknow.org/profile/moluedeeขอบคุณครับ..จานแดงที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

 เป็นที่น่าเสียดายมากๆ ในการจัดนิทรรศการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่เช่นนั้น จานแดงจะได้เห็นของจริง ว่าใบเตยที่นำมาจักสาน ต่างกับใบเตยหอมของบ้านเรามากครับ

ตามมาอ่านงานดีๆครับ คุณนพรัตน์

ผมคิดว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นศาสตร์ต่างๆหากเรารวบรวมขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ดีมากครับ ในการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นและคนรุ่นหลัง

ที่กำแพงเพชรไม่ทราบว่าจะได้ไปมั้ยครับ (สอบถามรายละเอียดที่พี่โยชน์)

ขอบคุณ...คุณเอก

      P  ที่เข้ามาเยี่ยมชม ...ไม่ทราบว่าคุณเอกจะเข้ามาร่วมด้วยหรือเปล่าครับ

คุณอ้วน

พอดี ท่าน ผศ.สุนีย์  ชวนผมมาแลกเปลี่ยนประเด็น BBL. ให้กับครูปฐมวัยในวันที่ ๒๕ มีค.ครับ  เดินทางไป น่าจะ ๒๔ มีค.(นอนดูดาวกลางดิน กินกลางทราย)ครับผม

***BBL :  Brain Based Learning

สวัสดีค่ะ

ตอนแรกนึกว่าเตยหอม

แต่พออ่านว่า..ใบเตยที่นำมาจักสาน ต่างกับใบเตยหอมของบ้านเรามากครับ

รู้ว่าไม่ใช่ ภูมิปัญญาไทย นี่สุดยอดค่ะ

สวัสดีครับคุณ...เอก

 วันนี้ได้พบพี่อ๋อย(อ.สุนีย์ )ก็คุยกันว่าคุณเอกจะมาร่วมด้วย ก็รู้สึกดีใจและอยากไปร่วมด้วย...แต่ยังไม่ได้รับปากพี่อ๋อยครับ...หวังว่าผม คงได้เจอคุณเอกนะครับ ถ้าพลาดโอกาสนี้

ขอบคุณ...คุณSasinand

   วันนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่คุณSasinand ได้เข้ามาเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ว่างๆ ปรด. น่าจะไปดูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นครวัด กันเนอะ

ดีครับ...พี่ไก่

    P   ต้องหาโอกาสดีๆอยากไปมากครับ

ไปเที่ยวไกลจังเลยนะครับ

ชอบดูของสวย ๆ งาม ๆ ค่ะ ขอบคุณมาหาอ้วนที่นำภูมิปัญญาดี ๆ ของภาคใต้มาเผยแพร่ให้ได้รับทราบค่ะ

ร่วมด้วยช่วยกัน ส่งเสริม สนับสนุน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น....เพื่อลูกหลานไทย....

ขอเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนค่ะ

เก่งมากคนตรัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท