R2R : R2R ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ใช่ใครคิดค้นขึ้นมาใหม่


จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกระบวนการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ และมาตกผลึกจากการเข้าประชุมของ สวรส. ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน ได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ จากหลายๆ ที่หลายๆ แห่ง ทำให้ตระหนักและชัดเจนยิ่งขึ้นว่า "R2R" ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่ของใหม่ และไม่ใช่ใครคิดค้นขึ้นมาใหม่... หากแต่ว่า... มีเกิดขึ้นมายาวนาน...มาก

 

R2R หรือ Routine to Research เป็นคำที่ อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิชท่านบัญญัติและใช้เรียกเพื่อให้ฟังดูติดหู ติดตลอด และง่ายต่อการจำ โดยท่านพูดเล่นๆ ว่า มัน sexy ดี...^__^... และมีการเริ่มใช้คำนี้ ที่ "ศิริราช" โดยจัดตั้งเป็น "โครงการ R2R ศิริราช" โดยมีกระบวนการทำงานและมีรูปแบบการบริหารและพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม (อ่านเพิ่มเติม)

 

จากการประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 พี่ลำภาส จากโรงพยาบาลหล่มสัก... ได้สักถามทำนองว่าเพิ่งได้ยินคำนี้ เมื่อมาฟังและเข้าร่วมประชุม ก็ทำให้รู้สึกและคิดสงสัยขึ้นมาว่า...สิ่งต่างๆ เหล่านี้ตนเองก็ทำมาแล้ว

 

....

ท่าน อ.หมอวิจารณ์ ... ท่านจึงบอกว่า...

R2R คือ ชื่อสมมติ -------> อย่าไปติดที่ชื่อ

ให้ตระหนักมาที่ประเด็นว่า..."เราทำงานที่เราทำทุกวันนี้อย่างมีคุณค่าต่อผู้ป่วย"

 

"ทำเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆ..ใช้ concept success story telling มาเป็นเครื่องมือกระบวนการ

และ R2R ไม่จำเป็นต้องทำเป็นเรื่องใหญ่..."

  

 

และเมื่อถอดบทเรียนจากการทำ R2R ยิ่งทำให้ตระหนักถึงตำนานอย่างยาวนานของการทำวิจัย เพื่อพัฒนางาน และที่สำคัญไม่ได้จำกัดแวดวงเฉพาะในกลุ่มบริการทางด้านสุขภาพ แม้แต่ในแวดวงการศึกษาเองก็เช่นเดียวกัน ลักษณะงานวิจัยที่เป็น "การวิจัยในชั้นเรียน" หรือ แม้แต่งานวิจัยที่คุณอ้อ - สุชานาถ แห่งมหาวิทยามหาสารคามจับไม่ปล่อยเอง ก็เป็นหนึ่งในลักษณะการทำ R2R

 

อ.หมอโกมาตย์ จึงเสถียรทรัพย์... แห่ง สวสส. ที่เดินเรื่อง..นี้มานาน... โดยมีจุดเด่นเน้นกระบวนการ "วิจัยเชิงคุณภาพ"...

หรือชมรมพยาบาลชุมชน ที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาพอสมควร จนมีผลงานเกิดขึ้นหลายผลงาน..

ที่คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ------> ที่ อ.หมอสมบูรณ์ ได้กรุณาเล่าความเป็นมาให้ฟัง... ภาควิชาพยาธิ มอ. สถาบันพระบรมราชนก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ที่ อ.หมอวิศิษย์ ผอ.ศูนย์วิจัยฯ ขับเคี่ยวเรื่องนี้มามากกว่าสิบปี หรือแม้แต่โรงพยาบาลยโสธรเองที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี 38 -39 ก่อนดิฉันจะมาร่วมทำงาน...

 

เพียงแต่ว่า...ตอนนั้นเราไม่ได้เรียกว่า "R2R..."

 

ดังนั้น...การทำ R2R จึงไม่ใช่เรื่องใหม่...

และไม่ใช่ใครคิดค้น พัฒนาขึ้นมาใหม่...

ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่... จนบางครั้งต้องมาคอยกังวลว่าเป็นเรื่องใหม่เข้ามาในชีวิตอีกแล้วเหรอ...

 

หากแต่โจทย์ ที่ควรมอง...ในเรื่อง R2R ก็คือ

ทำอย่างไร "จึงจะเกิดความยั่งยืนในการพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัย"นี้... มากกว่า เพราะประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่องานนั้น ส่งผลอย่างมีคุณค่า...อย่างยิ่ง

 

คำว่า R2R จึงเป็นเพียงสิ่งสมมติเรียกขึ้นมา...ดังที่ อ.หมอวิจารณ์ท่านบอก...

 

 .....................................................

 

 ทำให้งานวิจัยที่ไม่ถูกผูกขาดโดยนักวิจัย (อ่านเพิ่มเติม)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168509เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท