รายงานระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา


ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งทำการรวบรวมประมวลผล,เก็บรักษา และ กระจายสารสนเทศออกไป เพื่อสนับสนุน การควบคุม, การวิเคราะห์, การตัดสินใจ และการวางแผนที่เกิดขึ้นภายในองค์กร กิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศ ได้แก่ การนำเข้า,การประมวลผล และการนำออก โดยการนำเข้าจะรับและรวบรวมข้อมูลดิบภายในองค์กร หรือ จากสภาพแวดล้อมภายนอก การประมวลผลจะเปลี่ยนข้อมูลดิบ ไปอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย หรือเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน และการนำออก จะนำเอาสารสนเทศที่ได้นั้นไปยังผู้ใช้ หรือ ไปยังกิจกรรมที่ใช้งานสารสนเทศนั้น ๆ นอกจากนี้ระบบสารสนเทศยังต้องการสิ่งป้อนกลับ (Feedback) เป็นสิ่งออกที่ย้อมกลับไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมของระบบเพื่อช่วยในการประเมิน และแก้ไข ขั้นตอนนำเข้า หรือประมวลผล

1.    ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

เป็นการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทางการศึกษา  ของสถานศึกษา  ซึ่งสามารถสืบค้นได้ตามหมวดหมู่  เพื่อให้ผู้บริหาร  ผู้เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการพิจารณาวางแผนพัฒนา ปรับปรุงการจัดการศึกษาของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

 

ข้อมูลจำเป็นสำหรับระบบสารสนเทศพื้นฐาน ได้แก่

1.       ข้อมูลสถานศึกษา  เป็นข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา  เช่น

-          ประวัติการก่อตั้ง

-           ข้อมูลอาคารเรียน อาคารประกอบ

-           ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ

-           ข้อมูลชุมชน

-           รายได้ผู้ปกครอง

-          ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-            เกียรติประวัติ ของโรงเรียน

-           จุดเด่น  จุดด้อย

-          ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับภาพรวมของโรงเรียน

-          สภาพเศรษฐกิจการเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน

-          สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ

-          ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา

-          กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา

-          ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา เป็นต้น

2.       ข้อมูลนักเรียน  เป็นข้อมูล

            ข้อมูลเกี่ยวกับเขตบริการ
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับสำมะโนนักเรียน
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการนักเรียนขาดแคลน เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน อาหารกลางวัน
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและประเภทการบริการด้านสุขภาพอนามัย
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการแนะแนว
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรและพัฒนาเยาวชน
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเสริมความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
           -  สถิติการมาเรียนของนักเรียน
           -  จำนวนและอัตราซ้ำชั้นของนักเรียน
           -  จำนวนและอัตราการออกกลางคันของนักเรียน
           -  การจัดกิจกรรมชุมนุมของนักเรียน เป็นต้น

3.       ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ

    -  ข้อมูลรายละเอียดใน ก.พ.7 และแฟ้มประวัติข้าราชการ ลูกจ้างประจำ,ชั่วคราว
    -  ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงคุณภาพทางการศึกษา เช่นวุฒิการศึกษา  ความถนัด  ความสามารถพิเศษ  สถานที่พักอาศัย การเดินทาง  การศึกษา และ ประสบการณ์
สถานภาพครอบครัว
   
     -  ข้อมูลพื้นฐานของบุคลากร เช่นภูมิลำเนาเดิม  ระดับชั้น  เงินเดือน  อายุราชการ  ความดีความชอบ เครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประวัติทางวินัย
     -  การประชุม
     -  การลาของบุคลากร
     -  การพัฒนาตนเองของบุคลากร
     -  การเผยแพร่และแสดงผลงานของบุคลากร  เป็นต้น

4.       ข้อมูลอาคารสถานที่ เช่น

-          จำนวนอาคารเรียนและอาคารประกอบ

-           รูปแบบ ขนาด อายุ งบประมาณการก่อสร้าง สภาพของอาคา

-           ครุภัณฑ์โรงเรียน

-            จำนวนห้องเรียน

-             พื้นที่โรงเรียนและพื้นที่ใช้ประโยชน์

-             สภาพพื้นที่

-            กรรมสิทธิ์ที่ดิน

-            อัตราพื้นที่กับนักเรียน

-            ข้อมูลด้านสาธารณูปโภค

-           บริเวณข้างเคียงกับโรงเรียน  เป็นต้น

   นอกจากนี้ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา      จะประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ   ภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมืองสังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ   เช่น ปฏิทินการปฏิบัติงานของสถานศึกษา กิจกรรมประจําวันของสถานศึกษา ระบบเอกสารที่จําเป็นในสถานศึกษา      ในการทําระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ถ้าระบบข้อมูลสารสนเทศไม่ครบถ้วน ไม่ชัด ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความต้องการของชุมชน ก็จะไม่สามารถที่จะหาสิ่งต่างๆเพื่อมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้

2.       ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด            เช่น  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน  รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน  เป็นต้น

3.       ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ เป็น ผลการพัฒนากิจกรรม เช่น   การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว     การวิจัยในชั้นเรียน     สถิตินักเรียน   สถิติครู      สถิติห้องเรียน เป็นต้น

4.   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ  โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ  เช่น  สภาพการบริหารและการจัดการ  ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา  สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้  ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก  การพัฒนาวิชาชีพ  ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน  อัตราส่วนระหว่างจำนวนนักเรียนต่อครู  อัตราส่วนระหว่างจำนวนนักเรียนต่อห้อง และอื่น ๆ เช่น

            -  ยอดงบประมาณแผ่นดินตามหมวดเงินงบประมาณและแผนงานวงเงินงบประมาณในปีที่ผ่านมา
           -  เงินนอกงบประมาณจำนวนและแหล่งเงิน
           -  เงินรายได้สถานศึกษา
           -  ทรัพย์สินของโรงเรียน
           -  จำนวนหนังสือเข้า-ออก  รับ-ส่ง
           -  ระบบระเบียนและสถิติต่าง ๆ ที่จัดทำในโรงเรียน
           -  งานบัญชีประเภทต่าง ๆ
           -  แบบฟอร์มที่ใช้ จำแนกตามประเภทต่าง ๆ
           -  เงินสวัสดิการ จำแนกตามประเภท/จำนวน
           -  วัสดุอุปกรณ์และแหล่งบริจาคจำนวน/มวลค่า
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับงานสารบรรณ
           -  ข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนพัสดุ/ครุภัณฑ์และการเงิน
           -  ข้อมูลการอยู่เวรรักษาการณ์
           -  จำนวนชั่วโมงผู้บริหารสถานศึกษาไปราชการ
           -  ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับนิเทศ เยี่ยมเยียน   เป็นต้น

การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา

ระบบสารสนเทศในองค์กรหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการสารสนเทศต่าง ๆ  เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ  ทั้งเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคมอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ  ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นของระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านต่าง   (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  2549 : 25) 

ในส่วนของสถานศึกษา  การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ  ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน  โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ  ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ  ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ  ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์  เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์  ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน  เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ  จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา  หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล  เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว  ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ  โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา   ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงความผิดพลาด  ทำให้การตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้องมีความสมเหตุสมผล และมีความเป็นไปได้ รวมทั้งทำให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าก่อนซึ่งย่อมได้เปรียบคู่แข่ง

 

หมายเลขบันทึก: 168505เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจรายละเอียดสารสนเทศ เจอพอดี ขอบคุณนะน้อง

พี่จินดา

รายงานเรื่องนี้ดีมากเนื้อหาของข้อมูลชัดเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท