รายงานเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต


บทบาทของเทคโนโลยีกับการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

รายงาน

เรื่องบทบาทของเทคโนโลยีในการช่วยให้การจัดการศึกษา

บรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต

 

มาตราที่  8  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้บัญญัติหลักการจัดการศึกษาไว้ ดังนี้ 

(1)    เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

(2)    ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

(3)    การพัฒนาการเรียนรู้และกลุ่มสาระให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

และหมวด 3 มาตรา 15  ได้บัญญัติรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

             ดังนั้นเพื่อให้การจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ ประสบความสำเร็จตามอุดมการณ์ใน (1)  จึงได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการศึกษา  ดังนี้

1.       เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

 

     ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่

ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   

ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก

                ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง 

ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพ

 ในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)  

                รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศ   จำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ

1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ

2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ

3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์

4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ

5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม

6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์,

วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล 

 

เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่

1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้ การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ
2. การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic) เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ในภายท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว

 

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ
3. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN) ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่นในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกัน โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่างๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
4. ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology) ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรองรับการใช้งานแบบสื่อประสม ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภายในองค์กรของตนเอง และมีแนวโน้มการขยายตัวเพื่อรองรับระบบนี้สำหรับเครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อไป
5. ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system) หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้างเคียง โดยที่สัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย
6. ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

 

3.     เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

สื่อ(media) เป็นศัพท์คำหนึ่งที่ถูกใช้โดยทั่วไป"สื่อ"เป็นคำที่คลุมถึงเรื่องทั้งหมดของระบบการสื่อสารสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร การโฆษณา และสื่อที่ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างหลากหลาย อย่างเช่นพวก interactive multimedia. นอกจากนี้เรายังสามารถรวมเอาเรื่องของวิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ อินเตอร์เน็ต และ virtual reality แม้กระทั่งตุ๊กตาสัตว์เลี้ยงทามากอชิ(tamagochi toy pets)เข้ามารวมไว้ด้วยได้

อัตลักษณ์ต่างๆของสื่อ (Media Characteristics)
- สื่อ คือระบบการสื่อสารต่างๆของมนุษย์
- สื่อ ใช้กระบวนการต่างๆทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสารต่างๆ(messages)ขึ้นมา
- โดยทั่วไป สื่อมีเป้าหมายที่จะบรรลุถึงผู้รับจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงถูกอ้างในฐานะที่เป็นปฏิบัติการทางด้านสื่อสารมวลชน โดยผ่าน"การผลิตจำนวนมาก"ที่เรียกว่า mass production; ความสำเร็จของสื่อ บ่อยครั้งถูกสร้างขึ้นบนความนิยมชมชอบ
- ปกติแล้ว สื่อมีจุดมุ่งหมายที่จะยอมให้มีการสื่อสารข้ามระยะทาง(และข้ามเวลา)ระหว่างผู้คน หรือยินยอมให้มีการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งไม่ได้ต้องการให้เป็นปัจจุบัน ดังเช่นที่การสื่อสารจะมีการบันทึกรายการเอาไว้ล่วงหน้า และทำการถ่ายทอดสัญญานทีหลัง
- สื่อได้รับการเรียกขานว่า"สื่อ" เพราะโดยแท้จริงแล้ว พวกมันอยู่ในระหว่างกลางนั่นเอง หรือเป็นกระบวนการตรงกลางของสายโซ่ของการสื่อสารอันนี้(media หมายถึง middle ในภาษาลาติน); มันคือลัทธิจักรกลนิยมที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารทั้งหลาย
- พัฒนาการของสื่อได้รับผลกระทบโดยผลประโยชน์ทางการพาณิชย์ที่ยอมรับว่า สื่อโดยศักยภาพแล้ว เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ผลกำไรสูง

                บทบาทของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา     

การนำเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา  จะช่วยให้     ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า  ทุกกลุ่มเป้าหมาย  ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร  เนื่องจากมีช่องทางให้เข้าถึงสื่อมากมาย โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดาวเทียม เป็นตัวถ่ายทอดโยงใยข้อมูลไปทั่วโลก  ให้ความสะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีความหลากหลาย  แต่ทั้งนี้เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องเกี่ยวพันและดำเนินไปด้วยกัน   การที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับการศึกษาเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต  จะต้องอาศัยยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1  : การจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

  ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

1.1    กลุ่มวัยเรียนในระบบการศึกษา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา  ให้นักเรียนได้สัมผัสและเรียนรู้ตามวัย  อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นสื่อการเรียนรู้  ครูและผู้บริหารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือตัดสินใจในการจำแนกความแตกต่างระหว่างนักเรียนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันตามศักยภาพบุคคล

1.2    กลุ่มวัยทำงาน

1.2.1           กลุ่มที่ทำงานในสถานประกอบการ/โรงงาน/หน่วยงานกำหนดมาตรการให้มีการพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ให้บุคลากร ตลอดจนเผยแพร่       ให้ประชาชนที่สนใจในวงกว้างด้วย สำหรับบริษัทหรือหน่วยงานขนาดเล็ก การสนับสนุนการจัด          การศึกษานอกระบบ / การฝึกอบรม และการศึกษาตามอัธยาศัย

1.2.2           กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและแรงงานทั่วไป เช่น เกษตรกร ชาวประมง พ่อค้ารายย่อย และกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น กลุ่มนี้เป็นเป้าหมายใหญ่ที่ต้องอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงบริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เทคโนโลยีที่จะเข้าถึงและสร้างความรู้ความเข้าใจได้มากได้แก่เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีโทรคมนาคม 

1.2.3  กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการศึกษาตามอัธยาศัยและการ  

           เรียนรู้      ที่จำเป็นในการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมี

           คุณภาพ มีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคมตามที่เหมาะสมกับ

          วัย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การจัดการความรู้และแหล่งเรียนรู้

                                    เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสและสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ และได้รับรู้องค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งที่เป็นทุนเดิมทางสังคม เช่น     ภูมิปัญญาไทย รวมทั้งวิทยาการสมัยใหม่ และข่าวสารข้อมูลของสังคมยุคปัจจุบันที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยง          องค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อบริการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้สะดวกและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้   ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการ คือ

2.1        ให้มีการสำรวจ และจัดการระบบข้อมูล (MIS) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และจัดบริการที่จะให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

            2.2       ประสานและส่งเสริมให้แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นและ          ถ่ายทอด เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบในวงกว้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้              องค์ความรู้ที่จำเป็น

                2.3        ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพ    การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดมาตรการ เช่น การลดหย่อนภาษีเพื่อให้สื่อต่าง ๆ ร่วมผนึกพลัง สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ให้เกิดองค์ความรู้ที่จำเป็น และมีประโยชน์ โดยเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดโครงข่ายการบริการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมให้ทุกองค์กรหน่วยงาน และชุมชน เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และความรู้ของตนอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่ายโดยใช้สื่อและรูปแบบวิธีการที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของประชาชน และกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่ทำให้เกิดความกระหายและสนุกที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์

ยุทธศาสตร์ที่ 3    : การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.1     กำหนดนโยบายให้ชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา

2.2     เร่งรัด ปรับปรุง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ         ประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4   : การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการส่งเสริม ประสานงาน และอำนวยความ

  สะดวก

5.1        ปรับบทบาทของ กศน. โดยลดบทบาทด้านการจัดการศึกษาเอง และเพิ่มบทบาทด้านต่อไปนี้

1)         ส่งเสริมและประสานงานให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีบทบาทในการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง

2)        

หมายเลขบันทึก: 168507เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท