ข้อสอบ บทความ 3 บท


นวัตกรรมทางการศึกษา

 ประภาส  ชูภักดี  ป.บัณฑิต (บริหารการศึกษา) กลุ่มเรียน 02 รหัส 5046701091

htt://gotoknow.org/blog/praphatcho

บทความ  1

เทคโนโลยีกับการจัดการศึกษาทางไกล

              ปัจจุบันเทคโนโลยี   ที่ผลิตขึ้นมาใหม่เปิดโอกาสให้ใช้ในการช่วยการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแพร่หลาย อย่างเหลือเชื่อ และมีผู้สนใจนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้กันอย่างมากมาย  โดยเฉพาะในเรื่องการเรียนการสอน   บางครั้งการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ไม่ มีการวางแผน และเตรียมการที่ถูกต้อง  ทำให้เทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องประดับสำนักงานชิ้นหนึ่งเท่านั้น

               สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ ในการจัดการศึกษาทางไกล ปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบ

เทคโนโลยีชั้นสูง หรือใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำ ที่สามารถนำมาช่วยในเรื่องการจัด การศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพ  แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ต้องมีการวางแผนในการที่จะใช้อย่างคุ้มค่า ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักการดังนี้
                 1. เทคโนโลยีเหล่านั้นจะช่วยอะไรเรา
                 2. เทคโนโลยีที่นำมาใช้งานเพื่อใคร
                 3. เทคโนโลยีที่นำมาจะใช้เพื่อทำอะไร
                  เทคโนโลยีแต่ละอย่างมีข้อจำกัดในตัวของมันเอง   ซึ่งบางครั้งการจะใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนต้องมีการผสมผสานกันใน หลายๆ อย่าง   ซึ่ง การเลือกใช้เทคโนโลยีในแต่ละชนิดก็แล้วแต่วัตถุประสงค์  เป้าหมายและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                 ในบางประเทศเขาใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาทางไกลแบบผสมผสานกัน โดยทางสถาบันเป็นผู้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ใน เรื่องของการเรียนการสอน เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), อีเมล์ ระบบการประชุมกลุ่ม การประชุมทางวีดิทัศน์ บริคดิงลิงค์ (briding ling) ห้องเรียนวีดิทัศน์ (Video Class) จดหมาย ฯลฯ โดยทางสถาบันจะเป็นผู้กำหนดว่าเทคโนโลยีแต่ละอย่างจะเหมาะสมกับงานประเภทใด เช่น ถ้าเป็นการประชุมทางไกลก็จะใช้เป็นวีดิทัศน์หรือโทรทัศน์ และงานในรูปแบบอื่น ก็ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละหลักสูตรก็แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ในแต่ละหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่าควรใช้เทคโนโลยีเหมือนๆ กัน โดยตัวโครงสร้างหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่า ควรใช้เทคโนโลยีอย่างไร                                             

                    เทคโนโลยีอาจเป็นทางแก้ปัญหาต่างๆ ได้   แต่ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น   ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการจัดการเรียนการสอน   เนื้อหาในหลักสูตรเป็นสิ่ง สำคัญที่สุด    ถ้าหากปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาได้   มีการวางแผนและเตรียมการในเรื่องการใช้ให้ถูกต้องกับหลักสูตร และกลุ่มเป้าหมาย   ผู้เรียน นักศึกษา ก็สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นได้อย่างคุ้มค่าและสามารถใช้ได้ตลอดเวลา    
                                               ---------------------------------------

 

                                                         บทความ 2

การประกันคุณภาพการศึกษา

การที่เราจะทราบว่าสิ่งใดมีคุณภาพ มีขีดความสามารถในการใช้งานได้ ดีในระดับใดนั้น คงต้องมีการวัด และการประเมินในสิ่งนั้นๆอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการที่ถูกต้อง     การศึกษาก็คล้ายกัน ต้องมีการนำเสนอให้ทราบว่ามีคุณภาพเป็นอย่างไร   อะไรคือตัวชี้วัด    วัดได้อย่างไร       วัดได้แค่ไหนใครเป็นคนทำ    มีการนำเสนอโดยวิธีการอย่างไร   เมื่อใด เพื่อให้ผู้ใช้บริการประกอบการตัดสินใจ และมีความมั่นใจว่าสิ่งที่เขาจะใช้บริการนั้นตรงตามความต้องการ และเอื้อประโยชน์ให้กับเขาได้มากน้อยแค่ไหน   

                            พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่ต้องมุ่งเน้นคุณภาพ และมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6  มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งประกอบด้วย " ระบบการประกันคุณภาพภายใน"  และ  "ระบบการประกันคุณภาพภายนอก"

                การประกันคุณภาพภายในนั้นหน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจะต้องดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่กระทำอย่างต่อเนื่องตลอดจนจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นประจำทุกปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโดย "สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา"  (สมส.)        

                เพราะฉะนั้นการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน        เป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้น และระยะยาว ประเทศไทยมีการได้มีการกำกับมาตรฐาน และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษามาโดยตลอด แต่การดำเนินงานยังไม่เป็นระบบครบวงจร และต่อเนื่อง ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นหรือรับประกันให้กับสาธารณชนได้   เพราะฉะนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจการประกันคุณภาพดังงกล่าว  จำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นการเร่งด่วน 

                                      ----------------------------------

บทความ  3

การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

   การปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการปฏิรูปการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุก

   หลักสำคัญของการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น จะต้องคำนึงถึงหลักที่สำคัญอย่างน้อย 7 ประการ   ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภา    ดาวรรธน์    อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอเอาไว้ดังนี้

1. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด
3. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง หมายความว่าให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง สามารถวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง        4. เป็นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนได้ คือรู้วิธีคิดของตนเองและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเหมาะสม ไม่เน้นที่การจดจำเพียงเนื้อหา
5. เน้นการประเมินตนเอง เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมิน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
6. เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
7. เน้นรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งอาจจัดได้ทั้งในรูปเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล

จะเห็นได้ว่าทั้ง 7 ข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนควรคำนึงถึงอย่างยิ่ง

ส่วนวิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ยังมีอีกหลายวิธี เช่น วิธีสอนแบบแก้ปัญหา หรือ วิธีสอนตามหลักของอริยสัจ 4  หรือ วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์เป็นวิธีสอนที่เริ่มจากทำให้ผู้เรียนสามารถทราบปัญหาก่อน แล้วคิดตั้งสมมติฐาน จากนั้นก็เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและนำผลสรุปไปใช้ ตามลำดับ วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนถามนำ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบได้ ทั้งนี้โดยกระทำสืบเนื่องไปตามขั้นตอนที่สำคัญ คือการเข้าใจปัญหา พิสูจน์หลักการและตัดสินข้อสรุปต่างๆ และนำผลสรุปไปใช้   วิธีสอนแบบแบบอุปนัย เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนอธิบายจากข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่มองเห็นได้ หรือให้ผู้เรียนทำการทดลอง แล้วตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นภายหลัง วิธีสอนแบบหน่วย เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนทำการค้นคว้าหาข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์โดยทำกันเป็นกลุ่ม จากนั้นให้นำมารายงานให้เพื่อนฟังในชั้น   วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนช่วยกันคิดช่วยกันวิเคราะห์ช่วยกันอภิปรายหาข้อสรุปจากประเด็นปัญหาที่ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันคิดขึ้น วิธีสอนแบบมอบโครงงาน  เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ โดยทำเป็นโครงงานแล้วเขียนเป็นรายงานหรือภาคนิพนธ์เสนอต่อผู้สอน วิธีสอนแบบบูรณาการ เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมวิชาใดวิชาหนึ่งผสมผสานกับวิชาอื่นๆ หรือเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆด้วย เช่นผู้เรียนเรียนวิชาภาษาไทย ก็ให้ทำกิจกรรมทั้งในวิชาภาษาไทย และทำกิจกรรมในวิชาสังคมศึกษา ศิลปศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆกันด้วย หรือเป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทุกด้านพร้อมๆกัน คือพัฒนาการทั้งทางกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

การปฏิรูปการศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคนดีได้นั้น ผู้เขียนคิดว่าหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาจะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนหรือปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอันดับแรก โดยครูอาจารย์ในทุกสถานศึกษาจะ ต้องเลิกการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนมาเป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   คือต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนเสียใหม่  ซึ่งเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

 

                                                 ----------------------

 

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรม
หมายเลขบันทึก: 168472เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

*  รักษาสุขภาพนะคะคุณพี่

*  อย่าโหมกระหน่ำ.......หนักหนา

*  แล้วจะทำโครงการ  บาติก  กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตบ้าง

เกลียด ผอ.ประภาส ทำทุกอย่างเพื่อเอาหน้า ตีเด็กเกิบตายแค่คุยนิดเดียวเอง อยากให้ ผอ.เลิศภูมิกลับมาเหมือนเดิมเพราะท่านอยู่โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพลกีฬาก็เด่นการเรียนก็ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท