เตรียมความพร้อมแม่ซึ่งเป็นเบาหวาน..เพื่อผ่าตัดตา


การเตรียมผ่าตัดตาในผู้ป่วยเบาหวาน

ประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา แม่ดิฉัน  ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานเรื้อรังมาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี

อยู่มาวันหนึ่งแม่บอกว่าตามองไม่ค่อยเห็น ตามัวๆ อ่านหนังสือไม่ได้ ดูทีวีก็ไม่ชัด ทั้งๆที่มีแว่นตา

ดิฉันเคยพาแม่ตรวจตาเป็นระยะอยู่แล้ว เพราะแม่จะมีเบาหวานขึ้นตา ต้องยิงแสงเรเซอร์อยู่บ่อยๆ

รีบไปตรวจตา หมอบอกว่า เป็นต้อหิน เพราะน้ำในลูกตาไม่มีช่องทางออก ดันตาให้ความดันตาเพิ่ม ต้องผ่าตัด ความดันตาจึงจะลด

แต่แม่กลัว ไม่ยอมผ่าตัด หมอให้ยามาหยอดตา เพื่อลดความดันตา ครั้งที่ 1 ไม่ลด ครั้งที่ 2 หยอดตาวันละ 2 ครั้ง ไม่ลดอีก  ครั้งที่ 3 หยอดตาวันละ 2 ครั้ง ความดันตาลดเล็กน้อย

มาพบหมออีกครั้ง หมอบอกว่าเป็น  ต้อกระจก อีก ต้องผ่าตัดต้อกระจก เปลี่ยนเลนส์ ความดันตาจะลดลงด้วย

แม่เลยตัดสินใจผ่า เพราะหมอบอกว่า วันที่ 27 มีนาคม 2551 เข้านอน รพ วันต่อมาผ่าตัด ถ้าไม่มีปัญหาใดๆจะได้กลับบ้านในวันต่อมา ประมาณ 29 มีนาคม 2551

ดิฉันพาแม่ไปเจาะเลือดไว้ เอ๊กซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ ให้แพทย์เบาหวานประเมินร่างกายและระดับน้ำตาล ทุกอย่างผ่าน

เตรียมผ่าตัดได้

ดิฉันไปพบแพทย์ที่จะผ่าตัดตาให้แม่ และหาข้อมูล..ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจะผ่าตัดตา ทั้งเรื่อง ต้อกระจกและต้อหิน ให้แม่อ่านไปก่อน และแนะนำการทำสมาธิไว้ด้วยค่ะ เพราะการผ่าตัดตา หลังผ่าตัดคนไข้จะต้องนอนนิ่งๆได้ และอารมณ์ดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 168395เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ตอนนี้นอกจากปัญหาเรื่อง ตา

ยังมีปัญหาเรื่องขาชา ไม่รู้สึกเวลาเดิน ไม่ยกปลายเท้า

ดังนั้นจึงชอบไปเตะก้อนหินเป็นแผลหลายรอบ

พี่สาวคนโต จะซื้อรถมีล้อใช้จับเวลาเดิน ซื้อจากประเทศเดนมาร์ก

กำลังรอรับของค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่เอ๋

หน้าตาของรถที่มีล้อใช้เดิน กำลังรอของค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

  • คุณแม่ผ่าตัดตา under LA หรือคะ?
  • คุณแม่คงหายป่วยไวแน่นอนค่ะ  เพราะได้ลูกสาว  หลานสาวดูแลดี....ขอให้คุณแม่หายป่วยไวๆค่ะ
  • พี่แก้วดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

P

สวัสดีค่ะน้องติ๋ว

น่าจะผ่า under LA ค่ะ

เพราะหมอบอกผ่าตัดเสร็จ วันรุ่งขึ้นกลับบ้านได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ตอนนี้ป่วยไม่ได้เลยค่ะ ต้องออกกำลังกายไว้ทุกวันค่ะ

  • ขอให้คุณแม่พี่บลหายเร็วๆๆนะครับ
  • คาดว่าจะผ่าตัดเมื่อไรครับ
  • เป็นโรคที่ผ่าแล้วเสียวจังเลย

P

สวัสดีค่ะ

วันที่ 27 มีนาคม 2551 เข้านอน รพ

วันต่อมาผ่าตัด

ถ้าไม่มีปัญหาใดๆจะได้กลับบ้านในวันต่อมา ประมาณ 29 มีนาคม 2551

 

Hi sooksri

แม่มองไม่ค่อยเห็นค่ะ เตรียมผ่าตัด 27 มีนาคม 2551

ส่งรถมาให้แม่ วันจันทร์ 3 มีนาคม 2008 พวกบ้านใผ่จะไปรับที่ไปรษณีย์ บอกว่าต้องจ่ายค่าภาษีหรือค่าธรรมเนียม เพิ่มเป็น ประมาณ 800 บาท

แม่อำ ก็โชคดีนะ จะได้ใช้รถช่วยพยุงตนเองพาเดินไปที่โรงพยาบาล ง่ายขึ้น และแม่มีเวลาฝึกใช้รถคันนี้อยู่บ้านใหญ่ตั้งเกือบเดือน

ที่โรงพยาบาลคนแก่ที่เดนมารคที่พี่ทำงานอยู่ มี่รถชนิดนี้เต็มไปหมด คนแก่จะได้ช่วยตัวเองได้ ค่อยๆเดินออกกำลังกาย และเดินไปห้องทานอาหารเอง บางคนก็จะมาช่วยจัดโต๊ะอาหาร พี่บอกไม่ต้องมาช่วยหรอก ไปนั่งพักผ่อนเถอะ สงสารคนแก่เขาไม่อยากนั่งเฉยๆ

ปัญหาว่าใครจะติดตั้งรถคันนี้ให้แม่ เครื่องอาหลั่ยมี่ในกล่องหมดและมีรูป และวิธีทำ.

สวัสดีค่ะพี่เอ๋

ถ้ารถช่วยพยุงมาถึง คงจะหาช่างมาประกอบไม่ยากหรอกค่ะ

แม่คงเดินง่ายขึ้นค่ะ

วันนี้ 6 มีนาคม 2551 เป็นวันต้อหินโลก

ที่ รพ ศรีนครินทร์ มีการจัดนิทรรศการวันต้อหิน และตรวจตาฟรี

ต้อหินต้องรีบรักษา ถ้ารักษาช้าอาจตาบอดได้ค่ะ

ต้อหินคืออะไร

  • ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทตาและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา(optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน

 

อาการของต้อหิน

ผู้ที่มีความเสี่ยง

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
  • ผู้ป่วยโรคต่อมธัยรอยด์
  • ผู้ที่ใช้ยา steroid
  • เนื่องจากโรคต้อหินมีการดำเนินอย่างช้าๆ
  • ความดันในตาค่อยๆเพิ่มดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการ
  • นอกจากผู้ป่วยบางรายที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการเห็นไม่ชัดเมื่อมองแสงไฟจะเห็นรุ้งกินน้ำเป็นวงๆ ปวดตา ปวดศีรษะ
  • โรคต้อหินเป็นได้ทุกอายุ คนที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
  • ดังนั้นแพทย์แนะนำให้มีการตรวจตาเป็นประจำ แนะนำว่าผู้ที่อายุ 40 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคต้อหิน หากปกติก็ให้ตรวจทุก 2-4 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองทุก 2 ปี สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหินควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 35 ปี

 

 

วิธีการรักษามีอย่างไรบ้าง

  • การใช้ยาหยอดตา

ยาหยอดตาที่ใช้รักษาต้อหินหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะเกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีดังนี้

  • ตรวจชื่อยาว่าถูกต้องหรือไม่

     

  • ล้างมือให้สะอาด

     

  • เขย่ายาให้เข้ากัน

     

  • เอนตัวไปข้างหลัง

     

  • เหลือกตามองไปข้างบน

     

  • ดึงหนังตาล่างออกเพื่อเป็นแหล่งหยอดยา

     

  • หยอดยาลงบนหนังตาล่างแล้วปิดตา เอนนอน

     

  • อย่าให้ขวดยาถูกตา

     

  • กดที่หัวตาเบาๆ 2-3 นาที เพื่อมิให้ยาไหลลงในท่อน้ำตา

     

  • ใช้ผ้าเช็ดยาที่อยู่รอบตา

     

  • ล้างมืออีกครั้ง

     

  • หากต้องหยอดยาอีกชนิดหนึ่งให้รอ 5 นาทีค่อยหยอดชนิดใหม่

การรักษาโดยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดทุกชนิดจะมีความเสี่ยงแพทย์จะเลี่ยงการผ่าตัด แต่การผ่าตัดปัจจุบันก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี
  • การผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิดclose angle glaucoma หรือในรายที่ใช้ไม่ได้ผลหรือมีผลข้างเคียงของยา การผ่าตัดมักจะเลือกผ่าข้างใดข้างหนึ่ง

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นต้อหิน

  • จะต้องตรวจวัดความดันลูกตาทุกสัปดาห์ ทุกเดือนจนกระทั่งความดันในตากลับสู่ปกติ

     

  • ให้ใช้ยาอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าความดันลูกตากลับสู่ปกติ จะหยุดเมื่อแพทย์สั่งให้หยุด

     

  • ให้ใช้ยาเวลาที่สะดวกที่สุด เช่นหลังตื่นนอน หรือก่อนนอน

     

  • หากท่านลืมหยอดยา ให้หยอดยาทันที่ที่นึกขึ้นได้

     

  • หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้

     

  • เตรียมยาสำรองหากต้องเดินทาง

     

  • จดชื่อยาที่ใช้รวมทั้งขนาดที่ใช้ไว้กับตัว

     

  • ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยอดยาที่ถูกต้อง

     

  • จดตารางการหยอดยา และยารับประทานไว้ที่ๆมองเห็นได้ง่าย

     

  • ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียง

     

  • เมื่อไปพบแพทย์ท่านอื่นต้องบอกว่าท่านเป็นต้อหินและกำลังใช้ยาอยู่

     

  • หากมีอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตาต้องรายงานแพทย์

     

  • ไปตามแพทย์นัด และให้แพทย์นัดครั้งต่อไป

     

  • หากไม่ได้ใช้ยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้ง

     

 

การดูและตา

  • สำหรับคุณผู้หญิงต้องใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

     

  • ห้ามขยี้ตาแม้ว่าจะเคืองตา

     

  • หากท่านมีการผ่าตัดตา ให้สวมแว่นกันฝุ่นหรือกันน้ำเวลาทำงานหรือว่ายน้ำ

     

  • ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง

     

  • รับประทานอาหารคุณภาพ ออกกำลังกาย งดบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ลดปริมาณกาแฟ ควบคุมน้ำหนัก

     

  • ลดความเครียด

     

  • เมื่อดื่มน้ำให้ดื่มครั้งละไม่มากแต่บ่อยๆได้

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/eye_ent/glaucoma/glaucoma.htm

 

*หากลืม*กินยา*ให้*กินยา* ทันทีเมื่อนึกขึ้นได้

น่าสงสารคนแก่ *ที่เป็นโรคลืม* ฮึมมมมมม!!!!!!!

น่าสงสาร *คนแก่* ที่ เมืองไทย ลูกหลาน *ดูแล*

*Denmark* เดนมาร์ค

เขาจำป็นต้องเก็บคนแก่ไว้ในที่เดียวกัน เขาจะได้รู้สึกว่าเขาไม่ได้แก่และคอยวันตายคนเดียวอย่างเดียว  ลูกๆจะมาเยี่ยมบ้าง ถ้าพวกเขามีเวลา แต่ในช่วงที่ไม่มีใครมาเยี่ยม เขาจะคุยกับคนแก่ด้วยกัน

อย่าไปบอกใครนะ*ที่จริงก็สงสารคนแก่ แต่ก็เข้าใจพวกชนรุ่นใหม่

นั่งเฝ้า*คอม*  จนไม่มีเวลาไปเยี่ยมคนแก่ ที่ฝากไว้ตาม โรงพยาบาลต่างๆ

สวัสดีค่ะพี่เอ๋

คนสูงอายุ ควรจะอยู่กับลูกหลาน

เมืองไทยก็มีสถานที่ให้อยู่รวมกันบ้าง เช่น บ้านบางแค

แต่ก็มีไม่เพียงพอ แต่การอยู่กับลูกหลานก็อบอุ่นดี ถ้าลูกหลานเอาใจใส่ เพราะส่วนมากท่านจะชอบอยู่บ้านเดิม

เหมือนแม่เรา ได้กลับบ้านใหญ่ที่เคยอยู่ แม่มีความสุขมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท