เทคโนโลยี่สมัยใหม่


เทคโนโลยี่สมัยใหม่กับบทบาทการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

เทคโนโลยี่สมัยใหม่กับบทบาทการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

 

การจัดการศึกษา มีความมุ่งหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยในการศึกษานั้นต้องเปิดโอกาสให้สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างหลากหลายตามแต่ศักยภาพของบุคคล

            การเรียนรู้  ความรู้  นวัตกรรม  สื่อและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้   การส่งเสริมและสร้างกลไกเพื่อให้คนไทยทุกคนมีโอกาสและทางเลือกที่จะเข้าถึงปัจจัยและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย  โดยการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม  จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพ  ประสิทธิภาพและขีดความสามารถของคนไทยในการพัฒนาประเทศ  รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ  (กระทรวงศึกษาธิการ ,2550 : 119 )

กระทรวงศึกษาธิการ ( 2550 : 51 )   กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศว่าหมายรวมถึง

1.       เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ  หมายถึง  คอมพิวเตอร์  เครื่องใช้สำนักงาน  อุปกรณ์คมนาคม

ต่างๆ  รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

2.  กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆข้างต้นมาใช้งาน  รวบรวมข้อมูล  จัดเก็บประมวลผลและแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

ระบบการศึกษาในประเทศไทยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 หมวด 3 เรื่องระบบการศึกษา และ มาตรา 15 ความว่า การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในหมวด 9 เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63 – 69 ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผ่านทางช่องทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อ สิ่งพิมพ์ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนการจัดสรรคลื่นความถี่หรือโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสื่อสาร อาทิเช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปแบบอื่นผ่านการดำเนินการที่หลากหลาย เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาตามระบบการศึกษา ( สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา , 2547 : 37-39)

วีระ   ประเสริฐศิลป์  ( 2546  :   3- 6 ) ได้ให้ความเห็นว่า  ปัจจุบันผู้บริหารในวงการศึกษาได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น   อาทิเช่น    การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วยในการตัดสินใจ   การบริหารทางไกล    มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา   การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศและใช้ในการจัดการศึกษา  เป็นต้น

ดังนั้นในการจัดการศึกษาทั้ง 3 ระบบ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการ จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาในปัจจุบัน การดำเนินการในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สามารถดำเนินการผ่านรูปแบบการบริหารจัดการร่วมกันกับนวัตกรรมทางการศึกษา เช่น การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ ( E –Education & E – Learning ) การศึกษาทางไกล ( Distance Education ) หรือการศึกษาแบบไร้พรหมแดน ( Asynchronous Learning ) ตลอดจน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หรือสื่อ It ต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือหรือตัวช่วยในการศึกษา ย่อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

 

กระทรวงศึกษาธิการ ,   2550.  เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อ

                     รองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา   สำนักพิมพ์

                     คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.  

วีระ  ประเสริฐศิลป์และ คณะ ,    2546.   การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ   เอส  แอนด์  จี  กราฟฟิค. 

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ,   2547   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

                    พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545  บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

www.dms.moph.go.th/mdtc, 

                       :    www.thaiedresearch.org/result/detail_add.php?id=38 - 31k

 

 

หมายเลขบันทึก: 168269เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท