เศรษฐกิจพอเพียง


  “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พระสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
             เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรู้ความรอบครอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื้อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทางด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทารบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรมราชานุญาต ตามที่ขอพระมหากรุณาตามหนังสือที่ รล 0003/18888 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 สำนักราชเลขานุการพระบรมมหาราชวัง กทม.) สมัยก่อน เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อการบริโภค โดยอาศัยธรรมชาติตามสภาพแวดล้อมมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร พืชใช้สอย ในลักษณะของสวนผสม พืชเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา ซึ่งกันและกัน มีความต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับการเจริญเติมโตแตกต่างกันไป เกี่ยวกับแสงแดด อุณหภูมิความชื้น ดิน เป็นต้น เช่นพืชทรงพุ่มขนาดเล็กต้องการแสงน้อย อยู่ใต้พืชที่ทรงพุ่มใหญ่ การทำลายของโลกแมลงที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นการควบคุมพืชบางชนิดให้มีปริมาณเหมาะสมในระบบนิเวศของพืช พืชที่ขึ้นปะปนหรือคละกันมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการระบาดของโรดแมลงพืชชนิดอื่นได้ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่อมามีการพัฒนาเป็นเกษตรเพื่อบริโภคและจำหน่ายจนถึงปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศมุ่งเพิ่มรายได้จึงทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ต้นทุการผลิตสูงขึ้น กอปรกับเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ต้องหันกลับมาทำการเกษตร เพื่อบริโภคและจำหน่ายในลักษณะทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เศรษฐกิจพอเพียง อาจจะขยายความได้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิตของคนไทยให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียง กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ สิ่งสำคัญต้องรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนำทรัพยากรที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักการนำปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขความสบาย และพอเพียงกับตนเอง

สำหรับการดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับด้วยกัน
1.เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคลทั่วไป
2. เศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร

             เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล เป็นความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างพอประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพและที่สำคัญไม่หลงไหลตามกระแสวัตถุนิยม มีอิสระภาพในการประกอบอาชีพเดินทางสายกลาง ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้

             เศรษฐกิจพอเพียงระดับเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจเพื่อการเกษตรที่เน้นการพึ่งพาตนเอง  เกษตรกรจะใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดินโดยเฉพาะแหล่งน้ำ และกิจกรรมการเกษตรได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกรเอง ด้วยการนำเรื่องทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง : ฐานการผลิตความพอเพียง มาใช้ในไร่นาของตนเอง โดยเริ่มจากการผลิต จะต้องทำในลักษณะพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในไร่นาและทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ให้มีความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรในไร่นา มีกิจกรรมเกื้อกูลกัน กิจกรรมเสริมรายได้ ใช้แรงงานในครอบครัวทำงานอย่างเต็มที่ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการผสมผสานกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง ในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตรในไร่นา
ได้แก่ การทำกิจกรรมหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เช่น
ข้าว : พืชอาหารหลักของคนไทย สำหรับบริโภคในครอบครัว
สระน้ำ : แหล่งน้ำในไร่นาและเลียงสัตว์น้ำ
พืชผัก : ใช้บริโภคในครัวเรือน ช่วยลดรายจ่ายประจำวัน
พืชสมุนไพร : เป็นอาหารและยาพื้นบ้าน
ไม้ยืนต้นและไม้ใช้สอย : ใช้เป็นไม้ฟืน ทำโรงเรือนและเครื่องจักสาน
เลี้ยงสัตว์ : แหล่งอาหารโปรตีนและเสริมรายได้
ไม้ดอกไม้ประดับ : เพื่อความสวยงาม พักผ่อนจิตใจและเสริมรายได้
ปุ๋ยหมัก : บำรุงดิน รักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา
ปลากินแมลงเป็นศัตรูข้าว
มูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว
การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่
ไก่กินเศษพืชผัก
มูลไก่เป็นปุ๋ยสำหรบพืชผัก
การใช้ทรัพยากรในไร่นา
มูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอก
เศษหญ้าใบไม้ทำปุ๋ยหมัก
เศษพืชผักเป็นอาหารปลา
ฟางข้าว ใช้เพาะเห็ด ทำปุ๋ยหมัก คลุมดิน อาหารสัตว์
เกษตรผสมผสาน
ใช้แรงงาน ในครอบครัวทำกิจกรรม ลดรายจ่าย และเสริมรายได้
- แปรรูปและถนอมอาหาร เช่น พริกแห้ง มะนาวดอง กล้วยตาก ไข่เค็มกระเทียมดอง ผักกาด น้ำพริกเครื่องแกง
- จักสานหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ใบยาง เครื่องใช้และ เครื่องจักสาน จากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย

การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง สามารถทำได้ดังนี้
1.ทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
2.ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
3.ใช้ปุ๋ยคอกและทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
4.เพาะเห็ดฟางจากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5.ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้านและไม้ใช้สอย
6.ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7.เลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและสระน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
8.เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ประมาณ 10-15 ตัว เพื่อเป็นอาหารต่อครอบครัว โดยใช้ข้าวเปลือก รำปลายข้าวจากการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูก พืชไร่ เศษพืชผัก จากการปลูกพืชผัก
9.การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร หรือวัว เพื่อใช้เป็นพลังงาน ในครัวเรือน
10.ทำสารสกัดชีวภาพ จากเศษพืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพร ใช้ในไร่นา

             การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการประกอบอาชีพตามทรพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้ ความสามารถ เพื่อให้เกิดความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน ก่อให้เกิดความสุขความสบายภายในครอบครัว หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขายเพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนสำรองต่อไป

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ดังนี้
1.ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตใจสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม vสร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม คำนึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.ด้านสังคมและชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายชุมชนที่แข็มแข็ง
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการอย่างชาญฉลาด รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่ายั่งยืน
4. ด้านเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
5. ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย การออม สะสมเป็นเงินทุน

ทฤษฎีใหม่
             “…หลักมีว่าแบ่งที่ดินเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งสำหรับปลูกพืชไร่พืชสวน และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำดำเนินการไปแล้ว ทำอย่างธรรมดาอย่างชาวบ้าน ในที่สุดได้ข้าวได้ผักขาย…” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ด้วยทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่น ในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ฝนทิ้งช่วง น้ำไหลป่าเมื่อฝนตกหนักอันเกิดจากสภาพป่าถูกทำลาย และเกิดภาวะแห้งแล้งทั่วไป พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และยกระดับการพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรในภาคเกษตรกรรมให้เกิดความ "พออยู่พอกิน" พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัย ค้นคว้า สำรวจ รวบรวมข้อมูล และทดสอบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ดิน พันธุ์พืชสำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง โดยตั้งเป็น "ทฤษฎีใหม่" ซึ่งผ่านการสรุปผลจากการทดลองของมูลนิธิชัยพัฒนาในพระองค ์ที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง และตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเมือง (ปัจจุบันคืออำเภอเฉลิมพระเกียรติ) จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง โดยการผสมผสานกิจกรรมพืช สัตว์ และประมงให้มีความหลากหลายนานาพันธุ์ เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยทำการเกษตรในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิด "พออยู่พอกิน" ในระยะแรก ๆ
ฐานการผลิตความพอเพียง เน้นถึงการผลิตที่พึ่งพาตนเอง สร้างความเข็มแข็งของตนเอง ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง กล่าวคือ “พออยู่พอกิน” ไม่อดอยาก ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย) 1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่) 4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)

             ข้าว พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง คือพื้นที่ทำนาในการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางวด้านเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับครอบครัว ในระดับประเทศถือได้ว่าสามารถนำเงินตราสู่ประเทศอย่างมากมายในแต่ละปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าวเป็นวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของคนไทยในแง่ของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ และข้าวเป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับคนไทยทั้งประเทศเพื่อการบริโภค ในระดับครอบครัว ปลูกไว้บริโภคและหากผลผลิตเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ข้าวยังแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรและทรัพย์สินในแต่ละครอบครัว ข้าวเป็นสินค้าที่เกษตรกรสามารถเก็บไว้ได้นาน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการบริโภคเมื่อไร ต้องการเปลี่ยนจากผลผลิต (ข้าวเปลือก) เป็นเงินตราไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะต่างจากสิค้าเกษตรอื่นๆ โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี

             สระน้ำ พื้นที่ส่วนที่สอง คือ สระน้ำในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นหากเกษตรกรมีสระน้ำก็เปรียบเสมือนมีตุ่มเก็บกักน้ำในฤดูฝน ช่วยป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นาของเกษตรกร ตลอดจนช่วยมิให้น้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำลำคลอง สามารถนำน้ำจากสระน้ำมาใช้ในฤดูฝนกรณีเกิดขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง สำหรับฤดูแล้ง หากมีน้ำในสระเหลือสามารถนำมาใช้ในการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การที่เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นา ยังแสดงถึงการมีหลักประกันความเสี่ยงในการผลิตทางการเกษตร ถ้าเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นในการเพาะปลูก นอกจากนี้ สระน้ำยังเป็นทรัพยากรในการสนับสนุนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ให้ความชุ่มชื้น และสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ขอบสระน้ำ การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพราะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร

             ปลูกพืชแบบผสมผสาน พื้นที่ส่วนที่สาม ไว้เพราะปลูกพืชแบผสมผสานทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอยและเพิ่มรายได้ การปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดจะช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ช่วยกระจายความเสี่ยงจากความแปรปรวน ของระบบตลาดและภัยทางธรรมชาติ การปลูกพืชผสมผสานยังสามารถช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นา และตัดวงจรศัตรูพืชบางชนิดได้อีกด้วย ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก ได้แก่ พืชสวน (ไม้ผล) : เช่น มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้มมะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ และกระท้อน เป็นต้น พืชสวน (ผักไม้ยืนต้น) : เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก และกระถิน เป็นต้น พืชสวน (พืชผัก) : เช่น พริก กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลักสะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว ถั่วพู และ มะเขือ เป็นต้น พืชสวน (ไม้ดอก) : เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รักและซ่อนกลิ่น เป็นต้น เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น สมุนไพร และเครื่องเทศ : เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบกมะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) : เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแกทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัง และยางนา เป็นต้น พืชไร่ : เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น พืชไร่บางชนิดอาจ เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้ พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : เช่น ทองหลาง ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเขียว ถั่ว แดง ถั่ว พร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม โสน ถั่วฮามาต้า เป็นพืชที่ควรปลูกแซม ไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ ปลูกหมุนเวียนกับข้าว หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย

             ที่อยู่อาศัย พื้นที่ส่วนที่สี่ เป็นที่อยู่อาศัยหรือบ้านไว้ดูแลเรือกสวนไร่นา และบริเวณบ้าน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น มีไม้ผลหลังบ้านไว้บริโภคปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างคุณค่าอาหารและโภชนาการ ตลอดจนเสริมรายได้ นอกจากนี้มูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยคอก สำหรับพืชในลักษณะเกษตรผสมผสาน มีการหมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ การจัดการพื้นที่ส่วนที่สี่ให้มีที่อยู่อาศัยนั้นยังหมายถึง การสร้างจิตสำนึก และนิสัยให้มีความผูกพันธ์กับอาชีพการเกษตรของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีจิตฟุ้งเฟ้อหลงไหลในวัตถุนิยม ดังเช่นสังคมเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณบ้านและที่อยู่อาศัย มีเวลามากพอในการทำการเกษตร ดูแลเรือกสวนไร่นาของตนเอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตพื้นฐานอย่างเพียงพอ ได้อาหารจากพืช สัตว์ และประมง มียารักษาโรคจากพืชธรรมชาติและพืชสมุนไพร มีผลไม้ไว้บริโภค และมีไม้ใช้สอยในครอบครัว

             สรุป ความสัมพันธ์ของทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่หนึ่ง คือเน้นการผลิตที่ พึ่งพาตนเอง โดยทำกิจกรรมหลากหลาย เช่น ข้าว ข้าวโพด ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก มีแหล่งน้ำในไร่นา มีที่อยู่อาศัย มีผลผลิตและอาหารพืช การบริโภค มีการใช้แรงงาน ในครอบครัวสม่ำเสมอ และมีงานทำในพื้นที่ตลอดปี มีรายได้จากกิจกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก โดยมีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาอย่างเต็มที่ เพื่อลดความเสี่ยง จากภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของราคาผลผลิต ลดรายจ่ายในครอบครัว ลดการใช้สารเคมี ทำให้คุณภาพของดิน และระบบนิเวศเกษตรของไร่นาและชุมชนดีขึ้น สมาชิกมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ครอบครัวมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นครอบครัวที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

             รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยสร้างความพอเพียงในขั้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดความเข้มแข็งในแต่ละคนแต่ละครอบครัว จนเกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งและเกิดพลัง ในขั้นที่สอง การรวมกลุ่ม จึงร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิใช่มาขอความช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว การรวมกลุ่มให้เกิดพลังในการดำรงชีพ และดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยการร่วมแรงร่วมมือในการผลิต จัดระบบการผลิต การตลาด ร่วมคิดร่วมวางแผน และระดมทรัพยากรในการผลิตร่วมกัน สร้างสวัสดิการความเป็นอยู่ ด้านการศึกษาและอนามัย ร่วมกันในชุมชนและกลุ่มเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มมีความเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้ เกิดความสามัคคีปรองดองกัน สามารถร่วมดำเนินธุรกิจด้วยกันโดยการร่วมกันซื้อขาย ซึ่งจะช่วยในการลดค่าขนส่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้แหล่งผลิต ซื้อขายปัจจัยการผลิตและผลผลิต นอกจากนี้แล้ว การรวมกลุ่มและแปรรูปแบบสหกรณ์ ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอสามารถเพิ่มอำนาจในการรวมกลุ่ม และรูปแบบสหกรณ์ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอ สามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาในการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร

             ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ในขั้นตอนที่สอง เมื่อองค์กรหรือกลุ่มหรือสหกรณ์ เกิดความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือกันเองได้แล้ว จึงร่วมกับคนภายนอกค้าขาย ร่วมประสานประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมมือกับแหล่งเงินทุน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน ในขั้นตอนที่สาม โดยยึดหลักฐานการผลิตเดิม ระบบและรูปแบบการรวมกลุ่มการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และประสานผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้านค้าสหกรณ์ ในลักษณะบริษัทร่วมทุน ช่วยกันลงทุนในรูปแบบทรัพยากรการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ (ตัวบุคคลช่วยกันทำงาน) เงินทุน และ อุปกรณ์การผลิตการก่อสร้าง เป็นต้น ในการร่วมมือร่วมใจกับบุคคลภายนอก ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดหน่วยเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด เช่น หน่วยการผลิต หน่วยขนส่ง หน่วยการจัดการ หน่วยติดต่อหาตลาด หน่วยการจำหน่าย หน่วยการลงทุน เป็นต้น แต่ทุกหน่วยจะต้องทำงานเหมือนบริษัทเดียวกัน ทำงานเป็นทีมประสานงานร่วมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจ เกิดขบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบความต้องการทั้งชนิด ปริมาณ คุณภาพ และราคาสินค้า นิสัยการบริโภคและอุปโภคของลูกค้า สิ่งสำคัญ จะต้องมีกลไก กฎระเบียบข้อบังคับร่วมกัน การจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องยุติธรรมและมีคุณธรรม จากแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งพระราชทานไว้แก่พสกนิกรชาวไทย เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ สระน้ำ พื้นที่ทำนา พื้นที่ทำไร่ ทำสวนและ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ในอัตราส่วน 30:30:30:10 และสามารถนำไปประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคมเกษตรกร โดยพิจารณาถึงความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตร มีระบบ และสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ดังนี้

             1. กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ น้ำมีความสำคัญ ในระบบการผลิตของเกษตรกร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ ่ยังคงอาศัยน้ำฝน และบางพื้นที่ถึงแม้ว่าเป็นที่ราบและที่ลุ่ม สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงไม่กี่เดือน ในฤดูแล้งน้ำจึงมี ความสำคัญยิ่งยวดต่อระบบการผลิตการเกษตร ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ดังนั้น สระน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเป็นแนวพระราชดำริที่เหมาะสมที่สุดในสังคมเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตาม สระน้ำในที่นี้ ยังหมายถึงแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครอบครัวเกษตรกร นอกจากนี้แหล่งน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนนำน้ำจากแหล่งดังกล่าว มาใช้ในการเพาะปลูกพืชผลในเรือกสวนไร่นาและกิจกรรมการผลิตอื่น ๆ เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ และพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ในสภาพพื้นที่ที่มีคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำจากร่องน้ำในสวนไม้ผลและพืชผัก เกษตรกรสามารถนำน้ำมาใช้ในระบบการผลิตในไร่นาได้ อนึ่ง ในฤดูแล้งน้ำในบริเวณสระน้ำ ร่องสวน และคูคลองธรรมชาต ิอาจจะแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และใช้บริโภคและอุโภคในครอบครัว เกษตรกร ควรมีการเติมน้ำจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมือง ฝายทดน้ำ ห้วย คลอง บึง ตามธรรมชาติ เป็นต้น

             2. กิจกรรมด้านอาหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมการที่มนุษย์ใช้บริโภคในครอบครัว ตลอดจนเป็นอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้ เช่น ข้าว พืชไร่ (ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง) พืชผักสวนครัว (แตงกวา ถั่วฝักยาว พริกชี้ฟ้า) พืชสมุนไพร (กระเพรา โหระพา สะระแหน่) ไม้ผล ไม้ยืนต้น บางชนิด (มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง) สัตว์น้ำ (กบ ปู ปลา กุ้ง หอย) การเลี้ยงสัตว์ปีก (เป็ด ไก่ นก) และสัตว์ใหญ่ (สุกร โค กระบือ) เป็นต้น

             3. กิจกรรมที่ทำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ ) โดยพยายามเน้นด้านการเพิ่มรายได้เป็นหลัก และก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก (ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา เป็นต้น) กิจกรรมด้านสัตว์ สัตว์ปีกให้ผล ผลิต ไข่ (ไก่ เป็ด นกกระทา) และการเลี้ยงโคนม รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด เช่น ชะอม กระถิน และผักกินใบ รายได้รายเดือน หรือตามฤดูการผลิต 2-4 เดือน ได้แก่ การทำนา การทำพืชไร่ การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ (การเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อผลิตเนื้อ การเลี้ยงสุกร แม่พันธ์ผลิตลูก การเลี้ยงโคนม และสุกรขุนและการเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กบ เป็นต้น) รายได้รายปี ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ อายุยาว เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด อ้อย การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น โคเนื้อ โคขุน สุกร เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในระยาวสามารถสร้างความสมดุลทางธรรมชาต ิทำให้เกิดระบบนิเวศเกษตรชุมชนที่ดีขึ้น เนื่องจากระบบการผลิตที่มีไม้ผลไม้ยืนต้น ตลอดจนมีพืชแซมและพืชคลุมดิน จะช่วยสร้างสภาพระบบนิเวศเกษตรด้านบรรยากาศ และป้องกันการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งในระบบการผลิตดังกล่าวจะมีความหลากหลายของพืชยืนต้นและพืชล้มลุก

             4. กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มีทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และการเพาะเห็ดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้าน จะช่วยประหยัดรายจ่าย และเหลือขายเป็นรายได้ เสริมสร้างการใช้ที่ดินและแรงงานครอบครัวให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การนำทฤษฎีใหม่มาใช้ในไร่นา
             ทำให้เกษตรกร มีน้ำมีท่า มีกิน มีใช ้และครอบครัวอยู่สุขสบาย
มีน้ำมีท่า มีแหล่งน้ำในไร่นา เช่น น้ำในร่องสวนไม้ผล และพืชผัก บ่อเลี้ยงปลาบ่อบาดาล สระน้ำ เพื่อมีไว้ใช้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง มีกิน มีกิจกรรมพืชอาหารโดยเฉพาะ การทำนามารถมีข้าวไว้บริโภคตลอดทั้งปีในครอบครัว หากเหลือจึงจำหน่าย ทั้งนี้ ยังสามารถปลูกพืชที่เป็นอาหารแทรกในกิจกรรมการเกษตรอื่น ๆ โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแซมในสวนไม้ผล ในพื้นที่ในไร่นา เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ตลอดจนพืชผัก และการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำ มีใช้ มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจรายได้ และลดต้นทุนการผลิต โดยการส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น การปลูกพืชแซมในสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น ได้แก่ กิจกรรมพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเป็นไม้ใช้สอย และใช้ประโยชน์อย่างอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เป็นแนวรั้วและขอบเขตเป็นพืชบังลม เป็นพืชที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับระบบการผลิตการเกษตร ทำให้ระบบนิเวศเกษตรดีขึ้น ครอบครัว
อยู่สุขสบาย เกษตรกรมีบ้านเรือน โดยอยู่อาศัยในพื้นทำการเกษตรทำให้สามารถดูแลเรือกสวนไร่นา และกิจกรรมการเกษตรได้เต็มที่ นอกจากนี้ยังสามารถ ทำกิจกรรมการเกษตรรอบๆ บริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ในการบริโภค และใช้สอยอื่นๆ เช่น ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน พืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสมุนไพร และใช้วัสดุที่มีอยู่ในไร่นา และถ้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ เช่น การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยหมักและการเลียงสัตว์ ทำให้ลดรายจ่ายด้านอาหารและยา นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากการขายผลผลิตที่เหลือจากการบริโภค

แนวทางการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สำหรับเศรษฐกิจพอเพียง
ประกอบด้วย : -
1. ความรู้และความเข้าใจ
1.1 ทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่วิธีการหรือเทคนิคเดียวเท่านั้นในการที่จะแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ทุกกรณีทุกพื้นที่
1.2 ทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหา ให้สาทารถอยู่ได้ในระดับพอเพียง (พออยู่ พอกิน)
1.3 ทฤษฎีใหม่เป็นการจัดการหรือวิธีการจัดการทรัพยากร หรือการจัดการพื้นท ี่ที่เกี่ยวกับดินและน้ำ การปลูกพืชและพันธุ์ไม้ ให้สามารถดำรงชีพ และประกอบอาชีพการเกษตรอย่างเหมาะสม อยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง อย่างพออยู่พอกินในเบื้องต้น
1.4 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นระบบการทำฟาร์ม ที่มีระบบย่อยอยู่ในระบบใหญ่ได้แก่ ระบบการทำนา ระบบการปลูกพืช (ผสมผสาน) ระบบการจัดการน้ำ และระบบครัวเรือนเกษตรกร
1.5 ทฤษฎีใหม่ในขั้นที่หนึ่ง เป็นการจัดการพื้นที่ในสัดส่วน 30:30:30:10 ตามทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมิใช่สูตรตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
1.6 ทฤษฎีใหม่มุ่งพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะการบริหาร การจัดการ และการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
1.7 ทฤษฎีใหม่สร้างความเข็มแ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16812เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท