วิจัยในชั้นเรียน เนียนไปกับงาน:การมอบหมายงานเด็กอย่างมีความหมาย การมองผลงานเด็กอย่างมีคุณค่า


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือการวิจัยในชั้นเรียน

           วันนี้หลังจาก สอนซ่อมเสริมเด็กชั้น ป.6  ค่อนข้างเหนื่อยเล็กน้อย เดินลงไปหาคุณแม่ที่ขายหมูปิ้ง หน้าโรงเรียน กะว่าจะหาอะไรกินรองท้องสักหน่อย  พอดีผมได้นำผลงานเด็กติดมือมาด้วย เป็นผลงานเด็กในสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) ของนักเรียนชั้น ป.5 เป็นการนำเอาคำศัพท์ ประโยคและสำนวนต่าง ๆ ที่นักเรียน เรียนมาทั้งเทอม โดยให้จัดทำเป็นหนังสือการ์ตูน  บังเอิญ มีครูที่เป็นเวรดูแลเด็กที่หน้าประตูโรงเรียน ยังไม่กลับ เห็นเข้า ทักว่า "โอ้โหครูบรรเจิด ผลงานเด็ก สำหรับใช้ในงานวิจัยเพียบเลยนะ"  ผมก็เลยตอบเขาว่า "ไม่ใช่หรอกครับ ผมทำ ภาษาไทย นี่เป็นงานภาษาอังกฤษ" พอเห็นครูเขาสนใจงานเด็ก เลยถือโอกาสโชว์งานของเด็กเลย เลยบอกว่า  เนี๊ยะ เด็กทำเองนะครับ 1 เล่ม 10 หน้ากระดาษ แต่ก็มีหลายคนทำ  3 หน้า 4 หน้าบ้าง แล้วแต่เด็กจะคิดได้" เพื่อนครูเขาก็บอกว่า "เออไม่น่าเชื่อเนาะว่าเด็กจะทำได้ คิดได้อย่างไร" ผมเลยถามครูเขาต่อว่า "พี่เห็นอะไร ในงานชิ้นนี้ไหม" อาจารย์เขาตอบว่า  "สวยดีครับ   เด็กผม ป.2 ผมให้งาน ง่ายมาก คัด A - Z ก็เพียงพอแล้ว เด็กไม่รู้อะไรซักอย่าง "  แล้วก็หัวเราะ  หลังจากนั้นเขาก็ส่งงานเด็กคืนให้ผม  ผมก็ว่าจะบอกเขาเรื่อง งานเด็กมันสำคัญนะ แต่ไม่ทันพูด พอดีมีเด็กบอกว่ามีเพื่อนครูมาหา เลยแยกออกมาก่อน ในบันทึกนี้เลยอยากมาเล่าให้ฟัง  ก่อนหาโอกาสแนะนำเพื่อนครูในโรงเรียน เผื่อมีใครอ่านแล้วน่าจะเก็บไปคิด และปฏิบัติตาม 

         ในการมอบหมายงานเด็กคุณเชื่อไหมครับว่า ถ้าเราคิดว่ามันเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่จะต้องมีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าแค่ให้คะแนนเด็กแล้วจบไป   จะมีค่าอีกครั้งเมื่อเจอรถรับซื้อของเก่า  คุณเชื่อใหมว่าคุณทำบาปให้กับเด็ก    เมื่อหลายปีผ่านมา ผมก็เคยคิดเหมือนกับที่ข้อความข้างต้นเหมือนกัน เวลาสั่งงานก็คิดว่าเป็นเครื่องมือช่วยในกรณีที่ ไม่อยู่ ติดธุระ  ปัจจุบันนี้ผมหวงผลงานเด็กมากนะครับ ทะเลาะกับแม่ประจำเรื่อง ห้องนอนรกไปด้วยกระดาษ อะไรก็ไม่รู้เยอะแยะ  ที่ผมหวงเพราะแบบนี้ครับ

          1. งานเด็กทุกชิ้นที่เราให้ทำ ต้องวิเคราะห์ พิจารณา

                - เด็กสามารถนำความรู้ที่เรียนมาทำได้หรือเปล่า

                - เด็กมีความคิดอยู่ในขั้นใหน  เชื่อมโยง   หาเหตุผล  คิดเป็นระบบ ขั้นตอน  ฯลฯ

                - การแก้ปัญหาเด็กปรากฎในงานหรือเปล่า

                - ความพยายามอดทน ฉันทะในงาน ของเด็กมีแค่ใหน

                - นักเรียนมีความประณีต เรียบร้อย เพียงใด

                - มีส่วนใหนบ้างที่ต้องซ่อมเสริม

                - มองเห็นเรื่องของการคิดเชิงคุณธรรม จริยธรรมในงานชิ้นนั้นใหม

            2.  เราให้คะแนนเด็กเป็นธรรมหรือยัง

               - คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

               - คะแนนความพยายาม (จากร่องรอยและกระบวนการทำงาน แก้แล้วแก้อีก จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เราสามารถให้คะแนนจากการเปรียบเทียบผลงานกับศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่วัดจากการนำผลงานแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน

               - คะแนนการประสบผลสำเร็จ (ในฐานะที่เราเป็นครูค่อนข้างรู้ว่า เด็กแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราก็ควรจะมีคะแนนในการประสบผลสำเร็จ ตามศักยภาพของเด็กที่พึงมีแต่ละคนด้วย เราไม่อาจวัดเรื่อง การประสบความสำเร็จในงานระหว่างเด็กเก่งและเด็กอ่อน  ระหว่างเด็กชาติพันธุ์และเด็กในเมืองได้ ดังนั้นไม่จำเป็นผลงานที่ดีแต่ไม่สมกับความสามารถของเด็กเก่ง จะได้รับคะแนนมากกว่า  ผลงานที่ดีไม่เทียบเท่าคนอื่นของนักเรียนอ่อน เป็นต้น)

            3. ลองสอบถามดูเบื้องหลังการทำงานของเด็กใหม

               เช่น ในการให้นักเรียนทำงานส่งอาจเป็น รายงาน โครงงาน หรือชิ้นงาน ที่ต้องใช้เวลาในการทำ แล้วเรากำหนดเวลาส่ง แต่เด็กส่งไม่ทัน เราเคยสอบถามกระบวนการทำงานตอนที่เราไม่เห็นหรือเปล่า  ตัวอย่างเช่น เคยมีเด็กในห้อง ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย(ทำหนังสือการ์ตูนภาอังกฤษ ไปคุยกับแม่เด็กว่า เด็กอยู่บ้านเที่ยวเก่งใหม แม่เขาก็บอกว่า งานที่ผมให้ลูกเขาทำนั้น 2 อาทิตย์ ก็ไม่เสร็จ ไม่รู้ว่าส่งหรือยัง ผมก็บอกว่ายังครับ แล้วถามแม่เด็กต่อว่า ทำไมครับ  แม่เด็กบอกว่า ลูกไม่ยอมให้ช่วยเลย (จริง ๆแล้วแม่ก็เป็นครู แต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ(เขาบอกเองครับ) ) นั่งทำที่ผมให้แก้ แก้แล้วแก้อีก ไม่สะอาด ไม่ดี ทำใหม่ จนกระทั่ง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนกระทั่งไม่ดูทีวีเลยก็มี ผมก็คิดในใจว่า เด็กจะรู้สึกอย่างไรหนอ ถ้าเราตอบว่า "ทำไมมาส่งช้า ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ครูว่าจะหักคะแนนเธอ" เด็กจะรู้สึกอย่างไรหนอ?

           4. เคยเอาผลงานเด็ก มีนั่งขีดเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือบ้างหรือเปล่า

              การทำผลงานของเด็กหนึ่งชิ้น เด็กมีความภาคภูมิใจมากนะครับที่ผลงานของเขาออกมาแล้วครู ตรวจทาน ให้แก้ ยิ่งแก้แล้วแก้อีก เด็กยิ่งรู้ว่ามันมีค่า แต่ครูเคยคิดว่ามันมีค่าบ้างหรือเปล่า  งานที่ออกมาไม่ใช่แค่ตีเป็นคะแนน แล้วจบ ความมีฉันทะในงานของเด็ก ความต้องการให้เป็นที่พอใจของครูเด็กเขามีวิธีการอย่างไร สิ่งเหล่านี้ เราไม่เคยนั่งเขียนเป็นจริงเป็นจัง สิ่งเหล่านี้ มันช่วยให้เราต้องแก้ไข/ซ่อมเสริมเด็ก ในส่วนที่เด็กกำลังรอคอยอยู่

           5. เคยสะท้อนผลงานเด็กที่ส่งเราแล้วไปปรับปรุงการสอนหรือเปล่า

               เคยมีคำพูดหนึ่ง บอกว่า "อ๋อเด็กคนนี้มันไม่ฉลาด เคยสอนตั้งแต่รุ่นแม่มันแล้ว มันไม่ฉลาดเหมือนแม่มันนั่นแหละ" ถามว่า ครูคนนี้เจ๋งใช่ใหม รู้และจำแม้กระทั่งประวัติของแม่เด็กแล้ว

คำตอบ เขาก็รู้แต่ก็ไม่เห็นจะแก้ไขเด็กอย่างไร ไม่แน่ใจว่าเจ๋งหรือเปล่า 

               ดังนั้นที่เขียนมาทั้งหมด ก็อยากจะสะท้อนแทนเด็กทั้งหลายที่ไม่มีโอกาสได้ระบาย ว่า

ผลงานของหนู/ผม มีค่าแค่ใหน? 

                

       

หมายเลขบันทึก: 167772เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีใจจังค่ะ ที่ได้ยิน ได้ฟังเสียงความคิดดีๆ ของครูแบบนี้ อยากได้ยินอีกค่ะ

พอดี ครอบครัวเป็นครู ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ คุณน้า คุณอา เรียกว่า..ลูกครูนั่นเอง

แน่นอนค่ะ ครอบครัวครูจนๆ แต่ ก็ปลื้มทุกครั้ง เวลาใคร ยกมือไหว้แม่เรา พูดถึง

พ่อ แม่เรา อยากให้ครูไทย ภูมิใจในอาชีพ และพยายามพัฒนาผลงานของตน

ให้ถึงที่สุดค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ อาจารย์ของหนูก็ให้แก้ไขงานบ่อยๆ จนผลงานเป็นที่น่าพอใจ รู้สึกภูมิใจกับงานมากค่ะ

และยังทำให้รู้ลึกซึ้งมากขึ้นเพราะได้ทำบ่อยๆ

 เยี่ยมค่ะ และขอบคุณสำหรับแง่คิดดีๆๆของพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ค่ะ

ดาด้า(อดีตเคยช่วยราชการโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า)

 ขอบคุณค่ะสำหรับแนวคิด   เยี่ยมมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท