ช่วยโรงเรียนเคลื่อน KM ต้องนิเทศแบบไหน?


ขั้นการนิเทศที่ว่านี้ ดิฉันได้ใช้เพื่อช่วยผลักดันกระบวนการจัดการความรู้ในโรงเรียนให้สำเร็จ

 

          บันทึกก่อนได้เผยถึงขั้นการนิเทศของตัวเองไว้ ขั้นการนิเทศที่ว่านี้ ดิฉันได้ใช้เพื่อช่วยผลักดันกระบวนการจัดการความรู้ในโรงเรียนให้สำเร็จ บันทึกนี้จะมาขยายความว่าตัวเองทำอะไรบ้างในแต่ละขั้น

          โดยก่อนจะลงมือปฏิบัติการนิเทศ หากหวังจะประสบผลสำเร็จก็ต้องมีการวางแผนเสียก่อน ต้องดูภูมิหลังเขาบ้าง เขาเด่น-ด้อย ในเรื่องอะไร ความพร้อมของผู้บริหาร ครูเป็นอย่างไร ความรู้ที่เป็นทุนเดิมของเขามีอะไรบ้าง เราจะได้นิเทศตรงกับความต้องการของผู้รับการนิเทศ

          เปรียบได้กับคุณครูที่ต้องมีการวางแผนจัดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์ผู้เรียนเสียก่อนเป็นอันดับแรก จึงจะออกแบบการเรียนรู้ได้ตรงกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนนั่นเอง

          วางแผนเสร็จ ก็เริ่มว่าด้วยการนิเทศ
5 ขั้นตอน คือ

         
1) ขั้นปูพื้นความรู้ : เป็นขั้นให้เขาได้เรียนรู้เพื่อให้มีฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM บ้าง ซึ่งดิฉันใช้วิธีให้ศึกษาเอกสาร (ให้เกิดความรู้) กับการประชุมปฏิบัติการฯ เพื่อฝึกปฏิบัติ (ให้เกิดความเข้าใจ และเพิ่มพูนทักษะในการจัดการเรียนรู้)

          ในขั้นนี้อาจจะเป็นการเริ่มจัดการความรู้ที่แตกต่างไปจากการจัดการความรู้ในกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียน เพื่อจะให้รู้ก่อนว่าการจัดการความรู้คืออะไร ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจัดการความรู้ เพราะเรื่องเหล่านี้จะเป็นบทสรุปในตอนท้ายเมื่อปฏิบัติกันแล้ว

          แต่สำหรับในกลุ่มของคุณครู ซึ่งจากการทำงานร่วมกันที่ผ่านมา พบว่า ธรรมชาติของครูนั้น ถ้าไม่ได้รู้ก่อนว่า การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเพื่ออะไร หลายคนมักจะไม่ยอมรับที่จะทำตาม พาลเกิดการต่อต้านกันไปก็มี อย่างนี้ล่ะที่เข้าข่ายว่ากลุ่มคนที่สอนยากบอกยาก ก็คือ ครูเรานี่เอง เพราะไม่ว่าพูดอะไรครูก็รู้ เอาเป็นว่าเมื่อครูได้รู้แล้ว ก็เริ่มนิเทศขั้นต่อไป


          2) ขั้นนำสู่การปฏิบัติ : เป็นขั้นที่นิเทศโดยให้ผู้บริหารและครู ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในโรงเรียน 6 ขั้นตอน (ให้ระยะเวลาโรงเรียนได้ดำเนินการประมาณ 10 เดือน) คือ
                    
2.1) วิเคราะห์ภารกิจคิดประเด็นหัวปลา
                     2.2) ชวนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
                    
2.3) ประสานรวมความรู้นำสู่การปฏิบัติ
                    
2.4) ฝึกหัดจนเชี่ยวชาญนำประสบการณ์บอกต่อ
                    
2.5) ทั่วทั้งองค์กรไม่รั้งรอรีบเรียน
                    
2.6) ประเมินผลหมุนเวียนกลับสู่กระบวนการ

         
3) ขั้นจัดการแลกเปลี่ยน : เป็นขั้นนิเทศเป็นที่จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวาง    ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ โดยเปิดให้ครูทุกคน ทุกโรงเรียนได้มีโอกาสนำ Good Practice หรือ Best Practice ที่ได้จากขั้นทั่วทั้งองค์กรไม่รั้งรอรีบเรียน เตรียมนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกับครูอื่น ๆ ภายนอกโรงเรียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบพบกันจริงในงานมหกรรมการจัดการความรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 (ระยะเวลาการจัดงาน 2 วัน)

         
4) ขั้นเรียนรู้ปรับปรุง : เป็นขั้นกระตุ้นให้ผู้บริหารและครูแกนนำนักจัดการความรู้ได้มีโอกาสทบทวนการดำเนินงานการจัดการความรู้ในโรงเรียนของตนเอง ด้วยเครื่องมือการทบทวนหลังปฏิบัติการ (After Action Review - AAR) ซึ่งจะช่วยให้แต่ละโรงเรียนได้เรียนรู้ภายหลังเทียบเคียงประสบการณ์การจัดการความรู้กับโรงเรียนอื่นในงานมหกรรมการจัดการความรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 นำไปปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนขยายผลการจัดการความรู้ในโรงเรียนของตนเอง

          5) ขั้นมุ่งประเมินงาน : เป็นขั้นของการประเมินผลงานการจัดการความรู้ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 2 ปีงบประมาณของโรงเรียน โดยเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้ประเมินตนเอง และนำผลมาพิจารณาร่วมกับผลการประเมินของคณะศึกษานิเทศก์ด้วย


         
สำหรับรายละเอียดของผลการนิเทศเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ เปิดอ่านกันต่อได้ที่นี่ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 167453เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ
  • ตามมาอ่านครับ
  • ขอไปใช้บ้างนะครับ

แต่ว่าครูบางคนไม่สนใจเลย ผู้บริหารก็คอยแค่หยิบเกียรติบัตรใส่แฟ้ม คนที่ทำเกือบตา..ไม่เห็นท่าน..ดูแลเขาบ้างเลย

สวัสดีค่ะ

* การทำงานที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทุกคนมีส่วนร่วม อยู่ในกระบวนการทำให้ได้ผลดีค่ะ

* ครูพรรณา ก็นำข้อนี้มาใช้กับเด็กๆ ในกลุ่มที่ทำงานร่วมกับครูพรรณา  ทำให้ได้ผลงานออกมาเป็นที่พึงพอใจทุกครั้ง

* หลังการทำงานต้องมีการประเมินแบบเปิดใจ....ว่ากันให้แหลกไปข้างหนึ่ง....แบบว่าเราว่ากันเองก่อนที่จะถุกใครว่า...จากนั้นนำขอเสียไปปรับปรุง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท