โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

วันที่ 4 Self Reflection กับคำถามที่ต้องแขวนไว้รอคอยคำตอบ


เชื่อมั่นว่าบรรยากาศที่ดี ในที่ที่เรารู้สึกสบายช่วยให้ความคิดตกผลึกลื่นไหลได้เหมือนสายน้ำ

 

 

 

    วันนี้ตรงกับวันมาฆบูชา รู้สึกปลอดโปร่งใจที่เป็นวันหยุด ไม่ต้องกังวลเรื่องโทรศัพท์จากคนที่ทำงาน แต่แล้วก็มีข่าวจากทางบ้านที่เข้ามารบกวนสมาธิบ้าง ทำให้เป็นอุปสรรคของการเรียนรู้  โชคดี การเปิดวงช่วงแรก เป็นการทบทวน พูดคุย เทียบเคียงสิ่งที่เรียนรู้ตัวตน กับองค์กร จากนั้นเปิดโอกาสให้เวลาครึ่งชั่วโมงให้แต่ละคนไปนั่งที่เงียบๆ หามุมที่ตัวเองชอบ แล้วนั่งไตร่ตรองสิ่งที่เรียนรู้ผ่านมาแล้ว 3 วัน พร้อมทั้งวิเคราะห์ตัวเอง ฟังเสียงภายในของตัวเองด้วย โดยเขียนออกมาในกระดาษตามใจปรารถนา ไร้รูปแบบไม่จำเป็นต้องสวยหรู เขียนเพื่อสืบค้นตัวเอง คุยกับเสียงภายในตัวเอง กิจกรรมนี้เรียกว่า Self Reflection

     สำหรับเวลาครึ่งชั่วโมง ที่ได้รับ คิดว่ามีคุณค่ามาก เหมือนตอบคำถามบางอย่างที่ตัวเองยังค้างคา แม้เพียงบางคำถามก็ช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น เพราะมุมที่เลือกไปนั่ง ช่างเหมาะเจาะลงตัวทุกอย่างที่ทำให้คลื่นสมองเป็น อัลฟา ตาได้สัมผัสสีเขียวของต้นไม้  การไหลของน้ำตกให้ภาพที่งดงาม และเสียงที่ไพเราะ ก่อเกิดความคิดให้ลื่นไหลไปตามสายน้ำ ซุ้มกระดังงา หรือ การะเวกที่อยู่เหนือศีรษะเราให้กลิ่นหอมอ่อนๆ ทุกครั้งที่มีลมพัดมาเย็นๆ สร้างความสงบอ่อนโยนภายในจิตใจ  คิดถึงแล้วยังเสียดาย ที่มีเวลาเพียงเล็กน้อยกับมุมนี้ นี่คือประสบการณ์ตรงของการสร้างบรรยากาศโดยธรรมชาติจัดสรรมาให้แบบเฉพาะตัวจริงๆ

 

     ตอนกลับมาเข้าวงเล็กสี่คน แบ่งปันให้เพื่อนในกลุ่มฟังว่า เราเขียนสรุปบทเรียนออกมารวมทั้งเชื่อมโยงการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ออกมาเป็นแผนภาพ หนึ่งหน้ากระดาษ ในขณะที่อีกสองคนคิดไม่ออก ไม่มีไอเดีย หรือได้ยินอะไร อีกหนึ่งคนเชื่อมโยงตัวตนกับสิ่งที่เรียนรู้ในบางเรื่องได้ ส่วนกระบวนกรที่มาแทรกซึมในกลุ่มเรา ได้บอกความรู้สึกที่มาเจอพวกเราว่า อิ่ม ได้เรียนรู้ความคิด ความอ่านจากการรวมกลุ่มใหญ่ และช่วยตอบคำถามบางคำถามเกี่ยวกับการใช้ สุนทรียสนทนา ในที่ทำงาน รวมถึงศิลปะการจัดการกับความเงียบ เราฝากคำถามให้กลุ่ม ถามว่าเราจะจัดการกับความกลัว (fear) ที่เป็นอุปสรรคของพลังแห่งความมุ่งมั่น (will) ได้อย่างไร คำถามนี้ได้รับการแขวนในทุกระดับ ทำให้เราค้างคาใจจนถึงวันสุดท้าย ไม่แน่ใจว่าจะได้รับคำตอบหรือไม่ รู้แต่ว่าเหมือนคนสติไม่ดี เจอใครที่คิดว่าคุยได้ จะตั้งคำถามนี้ตลอด ไม่มีใครตอบ จนทนไม่ไหว ไปบอกกระบวนกรที่เป็น อาจารย์จาก มหิดลในบ่ายของการเรียนรู้ในวันที่ 5 ว่า เรื่องนี้เราจะมีโอกาสได้พูดคุยไหมคะ กับเวลาที่เหลือเพียง 1 วันกว่าๆ โชคดีที่อาจารย์ช่างน่ารักเหลือเกิน อาจารย์บอกว่าเรื่องการจัดการกับความกลัวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเวทีเล็กหรือใหญ่ของชีวิต เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ อาจารย์จะหาพื้นที่เปิดวงเรื่องนี้ให้สนทนากัน

 ?????????????????????????????????????????????????????????????????????

     กลับมาพูดถึงในเย็นวันที่ 4 ของการเรียนรู้ หลังจากที่อาจารย์ปล่อยให้พวกเราพักผ่อนช่วงเย็นตามอัธยาศัย  เราเกิดความรู้สึกแย่มากๆ มีเรื่องที่สงสัยค้างคาใจและผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม Voice Dialogue เห็นเพื่อนซี้ยังไม่ลุกออกจากวงจึงเดินเข้าไปปรึกษา พร้อมกับสอบถามความคิด ความรู้สึกของเพื่อนในฐานะที่เคยผ่านโปรแกรมนี้มาแล้ว  อยากรู้ว่าจะมีการเยียวยาปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมนี้อย่างไร  จากนั้นก็มีกัลยาณมิตรที่ยังเหลืออยู่ในห้องมาสมทบอีก 2 คน หลังจากพูดคุยกันพักนึงก็เกิดการเรียนรู้วิธีการจัดการกับความเปราะบางโดยบังเอิญ  ขณะที่เรากำลังตกอยู่ในอารมณ์ลบเรื่องหนึ่ง จนเริ่มแสดงความเปราะบาง เมื่อมีอีกเรื่องแทรกเข้ามาแม้จะเป็นเรื่องลบเหมือนกัน แต่ช่วยฉุดเราขึ้นมาจากความหมกมุ่นในเรื่องเดิมจนลืมไปได้ เพราะความเร่งด่วนของเรื่องใหม่ที่ต้องรีบคิด รีบจัดการก่อน  เมื่อถึงเวลาอาหารเย็น เพื่อนคนเดิมได้ช่วยเยียวยา โดยเราไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นจากความตั้งใจของเขาหรือไม่ สิ่งที่เพื่อนทำคือถามคำถามที่ให้เราตอบในสิ่งที่เราเคยมีประสบการณ์ดีๆ กับใครคนหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับเรา เป็นเทคนิคการเยียวยาทางอารมณ์ที่ดีมาก ขอบคุณเพื่อนซี้ (ไม่ซั้ว) จริงๆ คงต้องจำและนำไปใช้เมื่อมีโอกาส แต่การจะนำไปใช้เราต้องมีข้อมูลของคนที่เราต้องการช่วยอยู่บ้างพอสมควร

     ช่วงกลางคืนของวันที่ 4 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับหน้าที่ของ Inno FA ที่ต้องเข้าไปช่วยงานในค่ายน้องใหม่ทั้งหมด 6 วัน การพูดคุยช่วยทำให้ทุกคนนึกถึงความสำคัญและบทบาทหน้าที่ สร้างพลังร่วมแรง ร่วมใจ ก่อเกิดอารมณ์ของพี่นี้มีแต่ให้  โดยการแจกกระดาษให้ทุกคนเขียนจดหมายใต้แสงเทียน บอกความในใจถึงน้องๆ ที่กำลังจะมาเป็นครอบครัวเดียวกัน  พอเขียนเสร็จกลับมาจับกลุ่ม 4 คนคละอายุ เพื่อแลกเปลี่ยนใจความที่เขียนถึงน้องของพี่แต่ละคน สำหรับเราในฐานะอาวุโสสุด ได้เล่าประสบการณ์ตอนเข้างานใหม่ๆ ให้น้องฟัง น้องก็สนใจฟังเพราะเหมือนรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่บริษัทเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นโอกาสดีอีกวาระหนึ่งที่มีพื้นที่นี้ให้สร้างความเข้าใจแก่น้องบางคนที่เข้างานมาไม่นานนักด้วย...    

 เขียนจดหมายใต้แสงเทียน

หมายเลขบันทึก: 167117เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Key Learning : "Self-Reflection" is an important part of "Self Understanding". Self-Reflection could also lead us to new questions / areas to be explored or areas to be improved.

Can I say that "Good Self-Reflection" leads to "Good Planning" ???

Challenge : This seemed to require a lot of practices & skills to be good at.

 

Dear KP

I agree with you that self reflection helps us to organized our thinking or confusion, however I'm not sure it also directly produce good planning. This question must be  discussed among our team.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท