จาก Sensation ไปเป็น Perception


จาก "สิ่งเร้าภายนอกกะโหลก" เข้าไปเป็น "การรู้สึกสัมผัส"(Sensation)ในสมอง  ซึ่งขณะนั้นยัง"ไม่รู้ความหมาย" คือยังไม่เกิด "การรับรู้"(Perception)  ขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้น "การเกิดการรับรู้" โดยจะใช้ภาพข้างล่างนี้ประกอบการอธิบาย

How sensation becomes perception.

คำต่างๆที่ปรากฏในภาพนี้  ก็เหมือนหรือคล้ายๆกับภาพที่เคยอธิบายมาแล้วในหลายบันทึกก่อนหน้านี้ 

สมมุติว่า  เด็กอายุสองขวบ ไม่เคยเห็นอักษร  ก  มาก่อนเลย  เราต้องการสอนให้เขาเรียนรู้  ก  นี้  แต่ก่อนหน้านี้  เด็กเคยเห็นตัวไก่จริงๆมาแล้วหลายตัว  และเคยได้ยินเสียงคนข้างเคียงพูดคำว่า "ไก่" มาแล้วด้วย  แต่ไม่เคยเห็นตัว  ก

ขั้นแรก  เรา เสนอบัตรคำ "ก"  ให้เด็กดู  ภาพนั้นจะไปปรากฏในขั้นสุดท้ายที่ "แดนการเห็น" (Visual Area)บริเวณ Cortexด้านท้ายทอย  และทันใดนั้นก็เกิด "การรู้สึกสัมผัสเห็น" (Sensation)ตัว  ก1  จากนั้น เสียงพูดของเราที่ว่า  " ก  ไก่" ก็ทำให้เกิด วงจรนิวโรน " ไก่1" และทำให้เกิด "จินตภาพ ไก่1"ขึ้นเป็น STM ด้วย  ในขณะเดียวกัน  ก1 ก็มาเป็น  ก2  เพราะว่าเวลาผ่านมาช่วงหนึ่งจึงต้องเป็น  STM และ "โยงสัมพันธ์" กันกับ "ไก่1" ใน  STM  ทำให้  ก2  ได้รับ"ความหมาย" คือ "จินตภาพ ไก่1"

และในทันใดนั้น  ก็เกิด "การรับรู้" หรือ  Perception ขึ้นทันที

ในขณะเดียวกัน  ก็ได้เกิด "การเรียนรู้" ขึ้นด้วย  ความรู้ใหม่ที่ได้คือ " ก - ไก่"  หรือ "การโยงสัมพันธ์  ก - ไก่ "

ถ้าต้องการให้ "จำ" ได้นานๆ  ก็ทำได้โดย ให้เขาเห็น และได้ยิน "ซ้ำๆ"

ถ้าจะทดสอบ  ก็ทำได้โดย  เอาตัว  ก  ปะปนกับตัว  ข  ค  ง  จ  ...  แล้วให้เด็กชี้  ถ้าชี้ถูก ก็ "จำได้"  ถ้าผิด  ก็ "ลืม"

หลังจากนัน สองวัน  ให้เขาชี้ใหม่  ถ้าชี้ถูก  ก็แสดงว่า "เขาจำได้"  หรือ "มีความรู้"  และความรู้นี้ "เก็บอยู่ใน LTM "

ความรู้เรื่องนี้มีความจำเป็นสำหรับครูมาก  จึงเห็นว่า  ที่ว่า "ใครๆก็เป็นครูได้"นั้น  ต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่แล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 166810เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ที่น่าทึ่งก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป เด็กน้อยได้เรียนรู้มากเพียงพอ แม้ตัวอักษร ก. ไก่ จะเปลี่ยนรูปร่าง หรือเปลี่ยนสีไป เด็กน้อยก็จะยังสามารถจดจำได้ว่า นี่คืออักษร ก. ไก่

ยิ่งกว่านั้น  "คน" ก็แปลก  เพราะว่า  มีรูปร่างแตกต่างออกไป  บ้างก็สูง  ต่ำ  ดำ  ขาว  เล็ก  ใหญ่  เด็ก  ชรา  แม้เมื่อเขียนรูปเป็นการ์ตูน ก็ยังว่าคน  ยิ่งกว่านั้น  เขียนหัวกลมๆ ขีดเส้นเป็นลำตัว ขีดเส้นเป็นมือ  ก็ยังว่าเป็นรูปคน !!

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นละครับ ?

ในกรณีนั้น ถ้าเอาแนวคิดเกี่ยวกับ Feature มาอธิบาย ไม่ทราบว่าจะพอได้ไหมครับ กรณีของรูปล้อเลียน (ภาพการ์ตูนแบบที่อาจารย์พูดถึง ผมเข้าใจว่าเป็นรูปล้อเลียน) นั้น เรามักจะจดจำเอาลักษณะเด่นๆ ของรูปร่าง หรือหน้าตา ของบุคคลเอาไว้ การเขียนรูปการ์ตูน เขาจะดึงเอาจุดเด่นๆ นั้นออกมา ทำให้เราจดจำได้ว่าคนคนนี้คือใคร

ประกอบกับ เรามีพื้นฐานเดิมอยู่แล้วว่า รูปล้อเลียนนี้ จะเป็นการล้อเลียนใคร (ดารา, นักร้อง, พิธีกร, นักการเมือง, นักกีฬา, เพื่อนของเรา ฯลฯ) ยิ่งทำให้เราสามารถเรียกเอาคุณลักษณะเด่นๆ ของบุคคลเหล่านี้มาเปรียบเทียบได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

คุณ kafaak ถามว่าอธิบายได้ไหม   ตอบว่า  ได้  เพราะว่า  ทฤษฎีเกือบทั้งหมด  สามารถนำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีนั้นๆได้   แต่ความน่าเชื่อถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  (เช่น  ทฤษฎีรามสูรเมขลา ก็สามารถอธิบายฟ้าแลบบฟ้าร้องได้)   ทฤษฎีที่ได้รับการทดสอบมาแล้วว่ายังไม่ผิด  จะเป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือ

เรื่องนี้เป็นที่น่าเป็นห่วงอยู่อย่างหนึ่ง  คือ  ทฤษฎีทั้งหลายที่มีผู้สร้างขึ้นมาใช้ในโลกนี้ จะมีผู้ทำการทดสอบว่าผิดหรือไม่ผิดอยู่เสมอ  ผลการวิจัยทดสอบ  ก็จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการสาขานั้นๆอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น  ถ้าผู้สอนในสถาบัใดๆ  ไม่เคยอ่านวารสารวิชาการในสาขาของตน  หรือ ไม่อ่านสำรวจอยู่ตลอดเวลาแล้ว  ก็ย่อมไม่รู้ว่า  ทฤษฎีใดผิดแล้ว  หรือยังไม่ผิด  จึงเป็นสิ่งที่ผมว่าน่าเป็นห่วงดังกล่าว  

ที่ผมห่วงต่อมา นอกเหนือจากตัวผู้สอนคือ ตัวนักเรียน นักศึกษาครับ

 

พ.ศ. 2550 ทฤษฎี A ยังมีความน่าเชื่อถือ อาจารย์ผู้สอนมีการติดตามวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องตลอด ก็สอนตามทฤษฎี A ให้แก่นักศึกษารุ่น 1 ไป

 

พ.ศ. 2551 นาย ก. ทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี A พบว่า มีจุดที่แย้งกัน ทำให้เกิดการปฏิเสธทฤษฎีขึ้น มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ อาจารย์ผู้สอนมีการติดตาม และได้ปรับปรุงหลักสูตรการสอนของตนเรียบร้อย ทว่า นักศึกษารุ่น 1 ที่ได้รับการสอนทฤษฎี A ไป ไม่ได้ติดตามวารสารดังกล่าว

 

นี่คือจุดที่ผมกังวลครับ

อีกประการหนึ่งคือ นักศึกษาไทยในปัจจุบันจำนวนไม่น้อย ยึดติดกับการรอให้อาจารย์ป้อนข้อมูลความรู้ให้ ทำให้ขาดในเรื่องของการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และนิสัยดังกล่าวก็ติดตัวมาจนถึงตอนเรียนระดับมหาบัณฑิตด้วย

เรื่องของภาษาก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะวารสารต่างๆ ส่วนมากจะตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศ (โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ) ซึ่งนักเรียนนักศึกษาของเราในปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยก็ยังมีเรื่องภาษานี่แหละครับที่เป็นอุปสรรค

อาจารย์มีความเห็นอย่างไรครับ?

 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

(๑) ผมยังไม่ได้พูดถึงอยู่เรื่องหนึ่ง  คือ  รายงานการวิจัยใดๆที่น่าเช่อถือได้นั้น  จะต้องตีพิมพ์ในวาสารทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน  เช่นก่อนพิมพ์ก็ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอ่านตรวจสอบทางวิชาการอย่างเอาจริงเอาจัง  เพราะวารสารเช่นนั้น  ถ้าไม่ถูกหลักวิชาเขาจะไม่ตีพิมพ์ให้

ถ้าเข้าตามเงื่อนไขที่ว่ามา  และเตีพิมพ์ให้  ต่อไปเราก็วิพากษ์งานวิจัยที่สนับสนุนและคัดค้านอีกครั้งตามความคิดของเรา  แล้วลงความเห็นเลือก ถ้างานวิจัยนั้นได้มาตรฐาน และไม่สนับสนุนทฤษฎี  ผู้สร้างทฤษฎีนั้นอาจจะปรับปรุงข้อความที่เป็นปัญหานั้นได้  และทฤษฎีน้นยังคงอยู่ต่อไป  แต่ถ้าผู้สร้างตายเสียแล้ว  และทดสอบหลายครั้งก็ไม่สนับสนุนทุกครั้ง  ดังนี้ต้องทิ้งทฤษฎีนั้นไป  ถ้าพบในตำราใด  ก็อย่าไปเหลียวแล   แต่ถ้างานวิจัยนั้นตีพิมพ์ในวารสารไร้มาตรฐาน  ก็อย่าไปเหลียวแลเช่นกัน

(๒) กรณีมีปัญหาเรื่องภาษา  อันนี้แก้ยาก  ผมเคยอ่านหนังสือปรัชญาบางเล่ม  ผมพบว่า  ในเรื่องเดียวกัน  ผมอ่านฉบับภาษาอังกฤษเข้าใจง่ายกว่าอ่านจากฉบับภาษาไทย 

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ ผมเองก็รู้สึกว่าหนังสือจิตวิทยาภาษาอังกฤษอ่านง่ายกว่าภาษาไทย อาจด้วยเหตุว่า คำในภาษาอังกฤษบางคำ มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าที่จะอธิบายเป็นคึำในภาษาไทยได้

ผมเองก็เคยมีปัญหาในการพยายามแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเหมือนกัน เช่น assertiveness ซึ่งในพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ของผมแปลว่า ยืนยันอย่างมั่นใจ (แต่พอเอาไปใช้ในเนื้อหาแล้ว มันงงๆ) หรือ affect, mood และ emotion ที่ต่างก็แปลว่า "อารมณ์" ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ความหมายของแต่ละคำนั้น ลึกซึ้งกว่า และใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน


อีกประการหนึ่งที่ผมว่าทำให้นักศึกษาเราอ่านวารสารทางจิตวิทยาได้ยาก ก็น่าจะเป็นเรื่องของสถิติครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรครับ

เรื่องของสถิติที่คุณถามนั้น  กว้างมาก  ผมจะตอบดังนี้

(๑) เป็นวิชาหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์ เนื้อแท้ของสถิติในฐานะคณิตศาสตร์ เป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ในแง่ที่ใช้ "ความรู้ที่แน่ใจแล้วว่าเชื่อถือได้" เป็น Prior knowledge มาทำเป็น Major premises  แล้วนิรนัย หรือ Deduced ไปเป็นสมการ เป็นทฤษฎีแบบ "แบบแผน" หรือ Formal Theory  หรือ Formal Equation เช่น  x + y = 10  เราไม่รู้ว่าคืออะไร  จึงไร้ความหมาย มีแต่ FORM เท่านั้น  ไม่มี "เนื้อหา" ดังนี้เป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ แต่ถ้าเราใส่ความหมายให้ว่า x=คน7 คน, y=แมว 3 ตัว, สมการนั้นก็มีความหมายทันที, เป็นประโยคเชิงประจักษ์ทันที, เป็นประยุกต์ทันที, และมีความเป็น Science ทันที,เช่นกัน

(๒) ในแง่ของเนื้อหา  หมายถึงการรวบรวมข้อมูล  จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่,  และหมายถึง "ค่าทางตัวเลขที่คำนวณได้จากข้อมูล" เช่น  ค่าเฉลี่ย, SD, t, F, เป็นต้น

(๓) จาก (๑)และ (๒) เรานำมาใช้เป็น "เครื่องมือ"ในการ "ค้นหาความรู้" ประเภทข้อเท็จจริง หรือ Facts, กฎธรรมชาติ หรือ Natural Laws / Empirical Laws  คือ "การวิจัย" ในสาขาวิชาทาง Sciences ทั้งหลาย ทั้ง Natural Sciences & Social Sciences  องค์ความรู้ในสาขาวิชาเหล่านี้ได้มาจากการ "วิจัย" เป็นส่วนใหญ่

และการวิจัยในสาขาเหล่านี้ต้อง "ยืม"สถิติมาจากคณิตศาสตร์"คนในสาขาเหล่านี้จึงต้องเรียน "สิถิติ"  และ "วิธีวิจัย" อย่างแตกฉาน มิฉะนั้นแล้ว  อย่าว่าแต่จะวิจัยเป็นเลย  แม้แต่อ่านรายงานวิจัยของคนอื่นก็ไม่รู้เรื่อง !!

(๔) ฉะนั้น  สถาบันใดที่ผลิดนักศึกษาระดับปริญญาโท, เอก, ในสาย Natural Sciences (Chemistry, Physics, Biology) หรือสาย Social Sciences (Psychology, Politics, ... ) ถ้าไม่มีรายวิชาทางสถิติ และวิจัย อย่างพอเพียงแล้ว  ก็อย่างหวังเลยว่า  สังคมของเราจะได้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองสองสายนี้ไว้ชื่นชมสมใจ (นอกจากได้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตร)  สถาบันใดที่ยังน่าสงสัย  ก็ต้องรีบทบทวน  และปรับปรุงหลักสูตรทันที

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

  • เข้ามาเยี่ยม...

จากข้อความ ...อย่าว่าแต่จะวิจัยเป็นเลย  แม้แต่อ่านรายงานวิจัยของคนอื่นก็ไม่รู้เรื่อง !!...

ยืนยันได้ว่า อาตมาอ่านไม่รู้เรื่อง (จริงๆ )

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

รู้สึกดีใจและขอบคุณมากที่ท่านได้เข้ามาเยี่ยม การวิจัยในสาขาปรัชญาและศาสนาไม่จำเป็นต้องใช้สถิติมาวิเคราะห์ข้อมูล เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีวิจัยแบบ Rational Research จึงไม่ต้องใส่ใจกับ Empirical Research ในบางครั้งเมื่อไปอ่านรายวิจัยของสาขาอื่น ผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันครับ

ผมเรียนสถิติเพียงแค่ 1 เทอมเท่านั้น แม้ว่าเนื้อหาจะค่อนข้างครบถ้วน เมื่อเรียนจบแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการอ่านงานวิจัย และทำงานวิจัยได้ (ก่อนที่ผมจะเรียน อ. ท่านให้ลองแปลวารสารด้านจิตวิทยา บอกตรงๆ ว่า ผมเข้าใจเพียง 70% ที่เหลือที่ไม่เข้าใจคือส่วนของผลการวิจัย เนื่องจากแปลผล อ่านตารางไม่รู้เรื่อง)

ผมคิดว่า จะดีกว่านี้แน่ หากมีให้เรียนสถิติสัก 2 เทอม โดยเทอม 2 ให้เน้น Advanced statistics สักหน่อยครับ เพราะตอนนี้มีงานวิจัยบางอย่างที่ผมอ่านแล้วก็ยังติดๆ ขัดๆ อยู่ (พยายามหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมอยู่) เช่น การทำ Regression กับตัวแปรที่เป็น Dichotomous ซึ่งเขาใช้ Logistic Regression (ผมเรียนมาแต่ Regression กับ Multiple regression แบบปรกติ)

ปริญญาโทและเอกสาขาต่างๆ ทั้งในสาขาใหญ่ Natural Science ( Chemistry, Physics, Biology, etc. } และ Social Science ( Psychology, Economic, Politics, etc.) และสาขาประเภท Nonsciences เช่น ปรัชญา วรรณกรรม กฏหมาย ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องรู้สถิติทุกอย่าง และการวิจัยทุกชนิด

ในสาขา Sciences ทุกสาขา มีความเชื่อว่า "มีกฎธรรมชาติในธรรมชาติ" และกฎที่ผมกล่าวนี้มีสองประเภทคือ Causal Laws และ Correlational Laws กฎเหล่านี้เป็น "องค์ความรู้" เครื่องมือที่ใช้ "ค้นหา" องค์ความรู้แบบกฎนี้คือ Empirical Research แบบ Experimentation, Correlation และสถิติที่ใช้มากกับการวิจัยเหล่านี้คือ t-test, F-test, Correlation

ในสาขา Nonsciences ไม่มีองค์ความรู้ที่เป็นกฎธรรมชาติ ฉะนั้นจึงไม่ต้องเรียนการวิจัยแบบที่ฝ่าย Sience เขาเรียนกัน และแน่นอนว่าคนจากสองสาขานี้จะอ่านวิจัยของอีกฝ่ายไม่ค่อยรู้เรื่องก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดา

แต่คนในสาขาของตัวเองนี่สิ ควรจะ หรือต้องอ่านรายงานวิจัยของสาขาตัวเองรู้เรื่องถ้าไม่มี Contents เป็นอุปสรรค

ถ้าหลักสูตรของศาสตร์สาขาใดไม่เป็น อย่างน้อย ตามที่ผมกล่าวมาแล้ว หลักสูตร์นั้นต้องปรับปรุง และถ้าหลักสูตรใดผลิตนักกฏหมาย แต่ให้เรียนการวิจัยเชิงทดลอง ก็นับเป็นหลักสูตรที่ปะหลาดที่สุดในโลกทีเดียวแหละครับ

การที่คุณชวนสนทนาเรื่องนี้มันก็ดีเหมือนกันนะ

ณ ขณะนี้ ผมอ่านงานวิจัยในสาย Industrial and Organizational Psychology ที่ผมเรียนได้ค่อนข้าง OK ครับ ประมาณ 95% ที่เหลือผมคิดว่าเป็นระดับ Advanced statistics แล้ว พวก อีต้า ทั้งหลาย พวกความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เชิงเส้นตรง จึงเป็นที่มาว่า ผมอยากให้มีหลักสูตร Advanced statistics จริงๆ ครับ (โดยส่วนตัวผม ไม่ค่อยถูกกับพวกเลขเท่าไหร่ แต่ผมคิดว่า เรียนเพิ่มอีกหน่อย ก็น่าจะมีประโยชน์กับสาขาที่เรียน)

(๑) ดีมาก ขอให้จบเร็วๆนะ ดูเหมือนคุณมีศักยภาพของนักศึกษาป.เอก เลย บะ

(๒) Industrial Psychology เฉพาะกิจการอุตสาหกรรม แคบกว่า Organizational Psychology แต่ทั้งสองเป็น Applied Psychology โดย Applied มาจาก Pure General Psychology และ Social Psychology

ดังนั้น หน้าที่ของคุณคือ ต้องมีความสามารถในด้าน ใช้ "องค์ความรู้บริสุทธิ์ ไป ใช้ Explanation, Prediction, & Control ปรากฏการณ์ในสถานการณ์อุตสาหกรรม" เป็นอันดับหนึ่ง สถิติที่ใช้ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เหล่านี้ หากไปเรียนทุกอย่างเหมือนพวกวิชาเอกสถิติก็เป็นเรื่องแปลก และถ้าคนกลุ่มนี้ไปวิจัยเพื่อค้นหาความรู้บริสุทธิ์เหมือนพวก Pure Psychologists ก็ดูแปลกเช่นกัน

ขออวยพรให้เป็นตามข้อ (๑) นะ

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรครับอาจารย์

พูดถึงปริญญาเอกแล้ว ตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าจะได้เรียนไปถึงหรอกครับ แต่พอได้เรียนปริญญาโทสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การนี้แล้ว ผมเกิดความรู้สึกอยากเรียน อยากศึกษาต่ออยู่เหมือนกันครับ

คงจะรอดูโอกาสตอนเรียนจบอีกที ว่าจะสามารถส่งตัวเองเรียนต่อ ป. เอกได้หรือไม่ครับ

กราบเรียน อ.ไสว ค่ะ

ขออนุญาติแนะนำตัวค่ะ ดีใจมากค่ะที่ได้เสริชหาข้อมูลเรื่องความจำ และได้เจอเวบของอ.ค่ะ

ดิฉันเป็นศิษย์เก่า ป.โท จิตวิทยาการศึกษา จากมอ.ปัตตานีค่ะ รหัส 39 เสียดายอย่างมากที่ไม่ทันได้เรียนกับอ.ค่ะ

ตอนนี้ได้นำความรู้จากวิชาที่เรียนมาใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกค่ะ สิ่งแรกคือเรื่องการเรียนรู้ของเด็กเล็กค่ะ (ลูกชายอายุ 1 ขวบ 7 เดือน) เริ่มเรื่องการสอนเด็กเล็กแบบจริงจังตั้งแต่ 1ขวบ 5 เดือนค่ะ แต่ก่อนหน้านั้นก็พยายามให้เค้าได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว จัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ

โดยเฉพาะเรื่อง "ความจำ" นี้ ได้นำเอาหนังสือเล่มที่อ.เขียนเอาไว้มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประโยชน์มากมายค่ะ 10 กว่าปี แล้วหนังสือยังเก็บไว้อย่างดีเลยค่ะ ได้หยิบมาอ่านแบบจริงจังหลังจากมีลูกค่ะอ.

ตอนนี้ได้เห็นพัฒนาการด้านความจำของลูก หลังจากที่แม่ ได้เอาวิชามาใช้ โดยการเสอดแทรกการสอนลูกแต่ละครั้ง เรียนรู้คำครั้งละ 5 คำ ตัวเลข 5 ตัวเลข เพราะความจำมนุษย์ 7 +/- 2 เลยคิดว่าในวัยเด็กเล็ก เริ่มจาก 5 น่าจะเหมาะสมที่สุด

สอนโดยการใส่ตามลำดับ เพื่อช่วยให้เด็กจำง่ายขึ้น

สอนด้วยรูปภาพก่อน ถึงจะให้เป็นตัวหนังสือ และอื่นๆ

ถึงตอนนี้ได้เห็นพัฒนาการของลูกจากการที่เราได้ทดสอบให้เค้าชี้คำตามคำบอกของเรา

แรกเริ่ม แม่ชี้ตามตำแหน่ง เหมือนเป็นบลอคๆค่ะอ. ก้อคาดว่าลูกจะรับรู้ได้จริง หรือเพียงแค่การจำตำแหน่ง ผ่านมาระยะนึง พบว่า ทดลองถามโดยไม่ติดกับตำแหน่ง จะเห็นได้ชัดว่าลูกไม่ได้จดจำเพียงแต่ตำแหน่ง แต่ใช้วิธีการเลือกก่อนที่จะตอบคำถาม และสามารถตอบคำถามได้ถูกหมดทุกคนด้วยค่ะ ทำให้รู้สึกทึ่งในเรื่องความจำของเด็กเล็กค่ะ

วันนี้นั่งเสริชหาข้อมูลจากอินเตอร์เนต เน้นเรื่องความจำ ถึงได้โชคดี ได้มาเจอเวบของอ.ค่ะ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากๆเลยค่ะ จะติดตามความรู้ดีๆจากอ.ต่อไปนะคะ

รู้สึกดีใจ และขอแสดงความยินดีกับทั้งแม่แลลูก แม่โชคดีที่มีลูกฉลาด ลูกก็โชคดีที่มีแม่ที่ฉลาด และดี ครับ คงเป็นฝีมือของ มอ.ด้วยกระมัง !!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท