อบรมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาสู่ประชาชน


ความรู้ที่ไม่ควรมองข้าม

  วันนี้  (วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)  ทางคณะได้ส่งผู้เขียนเข้าร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาสู่ประชาชน   ศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ห้อง  Main  Conference  ม.นเรศวร  โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้จัดโครงการดีๆนี้ขึ้นมา 

     การปฏิบัติงานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง    ซึ่งเขตอำนาจในส่วนภูมิภาคยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา  แต่มีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่  6  จังหวัด  ได้แก่  กรุงเทพมหานคร  นครปฐม  นนทบุรี  ปทุมธานี  สมุทรปราการ  และสมุทรสาคร

     โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  เปิดทำการเมื่อวันที่  1  ธันวาคม  2540  ประมาณ  10  กว่าปี  ซึ่งการจัดตั้งศาลเนื่องจากเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม  รวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     ประเภทของคดีที่ขึ้นสู่ศาล  ได้แก่  คดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา  คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา  คดีแพ่งเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ  คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล

     การดำเนินคดีในศาล  มีการพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี  เว้นแต่มีเหตุจำเป็น 

     ระบบไกล่เกลี่ยนั้นถือได้ว่าการไกล่เกลี่ยในศาล  ถ้าสามารถรอมชอมกันได้ก็จะไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาคดีในศาล

   ทรัพย์สินทางปัญญา  หมายถึง  สิทธิเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ  อันเกิดจากความคิดของมนุษย์

     กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน  ได้แก่  พ.ร.บ.สิทธิบัตร  พ.ศ.2522  พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า  พ.ศ.2534   พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์  พ.ศ.2537  พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542  พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม  พ.ศ.2543  พ.ร.บ.ความลับทางการค้า  พ.ศ.2545  และพ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  พ.ศ.2546

          สิทธิบัตร  หมายถึง  หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์

          ลิขสิทธิ์  หมายถึง  เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยแสดงออกเป็นงานประเภทต่าง ๆ คือ วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานอันมีลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทันทีที่มี ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานนั้นขึ้น โดยมิต้องจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครอง

          เครื่องหมายการค้า  หมายถึง  สิ่งที่ให้แยกแยะว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า  แตกต่างจากสินค้าที่ใช้เครื่องหายการค้าของบุคคลอื่น  ผู้ที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองต้องขอจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

          คุ้มครองพันธุ์พืช  หมายถึง  เมื่อนักปรับปรุงพันธุ์พืช  ได้ปรับปรุงพันธุ์พืช  และนำไปจดทะเบียนแล้ว  จะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิต  ขาย  หรือจำหน่วยด้วยประการใด  นำเข้า  ส่งออก  หรือเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม  แบบผังภูมิ  หมายถึง  แบบแผนผังหรือภาพที่ทำขึ้น  เพื่อให้เห็นการจัดวางให้เป็นวงจรรวม  วงจรรวม  หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ สำเร็จรูป  หรือกึ่งสำเร็จรูป  ที่ทำหน้าที่ทางอิเล็กทรอนิกส์ 

ความลับทางการค้า 

ข้อมูลการค้า  หมายถึง  สิ่งที่สื่อความให้ให้รู้ข้อความ รวมถึงสูตร  รูปแบบ  งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น  โปรแกรม  วิธีการ  เทคนิค  หรือกรรมวิธี 

ลักษณะความลับทางการค้า  เป็นข้อมูลที่ยังไม่รู้จัก และมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์  เป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาเป็นความลับ

คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์    

ลักษณะของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  คือ  เป็นชื่อ  สัญลักษณ์  ใช้เรื่องหรือแทนแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถบ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ  ชื่อเสียง  หรือคุณลักษณ์ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น

ผู้มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียน คือ ส่วนราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีเขตรับผิดชอบครอบครอง  หรือ  บุคคลธรรมดา  กลุ่มบุคคล  หรือนิติบุคคล  ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า  หรือกลุ่มผู้บริโภค  หรือองค์กรผู้บริโภค  สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์        

     ซึ่งทางศาลฯ  บอกว่าคดีที่เห็นมากที่สุดที่ละเมิดคือ  เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์  เทป ผี  ซีดีเถื่อน  ซึ่งรายละเอียดที่ผู้เขียนไปนั่งฟังเพียงวันเดียว  ทางศาลฯเองมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ได้มากที่สุด    การพิจารณาโทษนั้นไม่ได้ดูว่าทำมากหรือทำน้อย  แต่จะดูสาระของจำเลยว่ามีความตั้งใจหรือไม่เพียงใด  โดยตัดสินให้ได้รับความเป็นธรรมโดยดูเจตนาของจำเลย   เช่น  จำเลยทำไปเพราะความไม่รู้  ศาลฯ  ตัดสินรอการลงโทษ  แต่ถ้ากระทำด้วยความตั้งใจ  โทษก็ตัดสินไปตามระเบียบ  ซึ่งปัญหาการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา  คือ 

1.       ผู้ใช้  --ไม่เคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา  รู้ว่าละเมิดก็นำมาจำหน่าย

2.       เจ้าของสิทธิ์ --  แสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ  เช่น  แกล้งจับ  ล่อซื้อ 

 

รายละเอียดอื่นๆ  หากใครสนใจก็สามารถเข้าได้ที่  http://www.cipitc.or.th/ 

    

ขอให้ผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เห็นใจคนตั้งใจถ่ายทอดและสร้างสรรค์ผลงานละกันนะค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 166714เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คือตัวอะไรเหรอ อย่าง ในเนตงcopy มาวางในบล็อกตัวเองถือเป็นลิขสิทธิ์ไหม แล้วถ้าเอามาใช้จะผิดรึเปล่า

เหอๆ  คิดอยู่เหมือนกันแหละ  เพราะก็เอารูปมาลงโดยเอามาจากเน็ตบ่อยๆ  เหมือนกัน  จริงๆ  ที่อบรมเห็นว่า  ถ้ารูปที่เอามาลงเป็นของเจ้าของสิทธิ์ แล้วเจ้าของสิทธิ์ไม่ยอม แล้วยื่นฟ้อง นี่แหละที่เรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์  แต่ส่วนใหญ่รูปที่เอาไม่เราเองไม่รู้จักเจ้าของว่าเป็นใคร  แต่ถ้าเจ้าของสิทธิ์มาเห็นรูปของตัวเองแล้วไม่ยอม  คงต้องว่ากันตามขั้นตอน 

ส่วนเรื่องรูปหรอ  เห็นมันเป็นรูปเกี่ยวกับการคิดแหละ  เลยเอามาลงไม่มีใจความอะไรมากจ้า

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทายครับ
  • ขอคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่นำมาฝากกัน
  • แล้วจะแวะเข้าเยี่ยมใหม่
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท