เพียงผีเสื้อขยับปีก ก็ทำให้กบร้องระงม


“ฝนเอยทำไมจึงตก จำเป็นต้องตก เพราะกบมันร้อง กบเอยทำไมจึงร้อง จำเป็นต้องร้องเพราะว่าท้อง มันปวด ท้องเอยทำไมจึงปวด เพราะว่าข้าวมันดิบ ข้าวเอยทำไมจึงดิบ เพราะว่าฟืนมันเปียก ฟืนเอยทำไมจึงเปียก เพราะว่าฝนมันตก”

                ฤดูกาลผ่านเปลี่ยนมาจนถึงปลายฤดูหนาวแล้ว คลื่นความร้อนที่ก่อตัวขึ้นทั่วภูมิภาคของโลกยังทวีความรุนแรงสร้างความเสียหายให้กับโลกของเราไม่หยุดหย่อน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเจริญและทันสมัยที่สุดมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดกลับกลายเป็นผู้ที่สร้างความเสียหายต่อธรรมชาติอันมีผลกระทบต่อโลกและประชากรโลกมากที่สุด เช่นกัน

               โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลายสิ่งอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดเหมือนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ดินฟ้าอากาศเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือแผ่นดินไหวส่งผลให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรง  นี่คือผลพวงที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ในอดีตย้อนหลังไปนับแต่ยุคอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษและเริ่มนับหนึ่งเมื่อ 70-80 ปีที่ผ่านมาและเพิ่งจะมาเห็นผลกันในวันนี้เกิดอะไรขึ้นกับโลกนี้หรือ...โลกตามธรรมชาติ มีความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อน เหตุและผลซับซ้อนไม่ได้อยู่ใกล้กันให้เห็นได้ง่าย ทุกอย่างเกี่ยวข้องสัมพันธ์อิงอาศัยกันอย่างเป็นระบบ จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ ตัวอย่างระบบในธรรมชาติได้แก่ระบบดินฟ้าอากาศ ระบบนิเวศหรือแม้แต่ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษาหรือแม้แต่ในตัวของเราก็มีระบบเช่น ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ฯลฯ ทุกคนเกี่ยวข้องกับระบบและไม่อาจแยกตัวออกจากระบบได้ 

          ฝนเอยทำไมจึงตก จำเป็นต้องตก เพราะกบมันร้อง กบเอยทำไมจึงร้อง จำเป็นต้องร้องเพราะว่าท้อง มันปวด ท้องเอยทำไมจึงปวด จำเป็นต้องปวดเพราะว่าข้าวมันดิบ ข้าวเอยทำไมจึงดิบ จำเป็นต้องดิบเพราะว่าฟืนมันเปียก ฟืนเอยทำไมจึงเปียก จำเป็นต้องเปียกเพราะว่าฝนมันตก หลายท่านคงจำได้ ตัวอย่างวงจรของเหตุและผลที่อธิบายได้ว่าองค์ประกอบหนึ่งมีผลต่อองค์ประกอบต่อไปและต่อไป...จนกระทั่งวนมาถึงจุดเริ่มต้นเป็นวงจรป้อนกลับ ดั่งนี้เรื่อยไป...

         แต่หลายอย่างไม่เป็นเช่นนั้น วงจรป้อนกลับได้ทวีคูณเป็นสองเท่า ก่อให้เกิดผลของความรุนแรงอันใหญ่หลวงจากสาเหตุเพียงเล็กน้อยเหมือนการไหวตัวของกระแสลมเบาๆ อันเกิดจากการกระพือปีกของผีเสื้อ ค่อยขยายตัวเกิดผลกระทบทางดินฟ้าอากาศ กลายเป็นพายุได้ในเวลาต่อมา ผีเสื้อขยับปีกที่ปักกิ่ง ทำให้เกิดพายุ ทอร์นาโดที่อเมริกา  ตาม ทฤษฎี  Butterfly Effect

                           ทีนี้ลองมองไปรอบตัวของเราเถิดว่าเกิดอะไรขึ้น เสียงรถมอเตอร์ไซค์ของวัยรุ่นแข่งซิ่ง...หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวเลวร้ายและความรุนแรงเกี่ยวกับเด็กของเรา ดังเสียงกบร้องระงมในท้องนา มีใครลองถามเจ้ากบหรือไม่ว่าทำไมจึงร้อง... ปรากฏการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในวันนี้กับเด็กๆ ของเรา ระบบการศึกษาของเรา... ปัญหาคืออะไร...อยู่ที่ไหน...จะทำอย่างไร...ใครจะต้องทำ... คำตอบอยู่ที่ไหน...ฯลฯ...หรือว่าคำตอบทั้งหลายอาจจะซ่อนตัวอยู่ในสายลมที่ปลายปีกของผีเสื้อแสนสวยตัวใดตัวหนึ่งสักตัว... หลายคนคิดว่ามันทำให้เกิดพายุสร้างความเสียหายให้กับผู้คนพลเมือง...ดังนั้นเราต้องจับมันมาขังหรือไม่ก็เด็ดปีก ลงโทษมันให้เข็ดหลาบจะได้ไม่ทำผิดอีก ความคิดชนิดที่ไม่ได้มองเหตุปัจจัยที่มาของวงจรเลวร้ายนี่แหละก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้าไปในวงจรได้อีก...เหมือนกับลงโทษผีเสื้อที่กระพือปีก เป็นเหตุทำให้กบมันร้องระงม...กรรมของเจ้าผีเสื้อ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 166527เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แน่นอนที่สุด เหมือนดั่งเช่นเสียงตะโกนระหว่างช่องเขา เสียงก็สะท้อนมาให้เราได้ยินเช่นกัน

ผีเสื้อกินอาหารอะไร อยู่อย่างไร มีกี่สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ชื่ออะไรยกตัวอย่างมาทีซิค่ะ ด่วนด้วย ใครรู้ช่วยบอกที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท