มาตรฐานการสอบภาษาอังกฤษ


ผมลองคิดดูเล่นๆ ว่า เอ! เกิดอะไรขึ้น มาตรฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี บ้านเราตกต่ำ หรือว่ามาตรฐานการสอบเราสูงเกินไป อะไรกันแน่

      วันนี้ผมมาเช้า เดินผ่านบัณฑิตวิทยาลัย เห็นประกาศผลสอบภาษาอังกฤษ E500 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ปริญญาโท ปริญญาเอก ประกาศผลสอบ เลยหยุดอ่านซะหน่อยว่ามีใครผ่านบ้าง

          เท่าที่ดู ส่วนใหญ่จะมีข้อความ ติดไว้ตามหลักสูตรที่แต่ละสาขารับ ประมาณ เกือบ 80 หลักสูตร จะติดไว้ว่าไม่มีมีสอบผ่าน ซะเป็นส่วนใหญ่

         เท่าที่ผมนับได้ มีผู้สอบผ่านทั้งหมด 38 คน แต่ผมไม่ทราบจำนวนรับเข้าว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ใช้ตัวเลข บัณฑิตศึกษาที่สำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมาก็แล้วกันนะครับ อยู่ที่ประมาณ 4 พันกว่าคน เทียบเป็นเปอร์เซ็น แล้วประมาณ 1 เปอร์เซ็นเท่านั้นเอง มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย

       ผมลองสังเกตุดูต่อ พบว่า ในจำนวนผู้ที่สอบผ่าน 10 คน เรียนต่อทางด้าน ศศม.ภาษาอังกฤษ และมีอีก 17 คนเรียนทางด้านบริบาลเภสัชกรรม อ้อ ปีนี้ มีเอกเทคโน (เอกผมเองครับ) น่าภูมิใจซะไหมเนี่ย ผ่าน 1 คน และเอกวิจัย ผ่าน 1 คน เป็นนิสิตที่ผมรู้จัก คนนี้ภาษาดี ผมเคยให้เค้าช่วยสอนภาษาอังกฤษให้กับลูกผม และเคยไมฝรั่งเศส มาแล้ว 1 ปี ส่วนที่เหลือกระจายกันในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์       และผมลองดู ปริญญาเอก ก็พบว่าไม่มีผู้สอบผ่านสักคน (ปริญญาเอก เทียบเท่าโทเฟิล 500 คะแนน ปริญญาโท 450 คะแนน)

         ผมลองคิดดูเล่นๆ ว่า เอ! เกิดอะไรขึ้น มาตรฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี บ้านเราตกต่ำ หรือว่ามาตรฐานการสอบเราสูงเกินไป อะไรกันแน่

       และเท่าที่ผมทราบ ผลการสอบภาษาอังกฤษ ของนิสิตปริญญาตรี ของเรา ส่วนใหญ่คะแนนอยู่ที่ 30 จากร้อย อุแม่เจ้า ! อะไรกันเนี่ย ผมอยากรู้จังว่าประเทศอื่นบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา อย่าง มาเลเซีย อย่าง เวียดนาม นี่เค้าเป็นอย่างไรกันบ้าง แต่เท่าที่ทราบ จากการจัดกิจกรรม ดิกชันนารี ไม่ได้มีไว้แค่เปิดศัพท์ ซึ่งวันนั้น มีทั้งนิสิต ทั้งอาจารย์ นิสิตนานาชาติมาเข้าร่วม ผมสังเกตุว่า นิสิตจากเวียดนาม จะตอบ คำถามอาจารย์ฝรั่งได้อย่างคล่องแคล่วมาก

           แล้วคุณล่ะคิดอย่างไรกันบ้าง ?

http://www.grad.nu.ac.th/private/academic/E500.pdf

หมายเลขบันทึก: 166281เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

*ส่วนหนึ่งนักศึกษาเราอ่านน้อยครับ...(โดยเฉพาะวรรณกรรม..อิอิ)

*ส่วนใหญ่ไม่ใช้ดิกชั่นนารี หรือใช้เพียงเล่มเดียว (บางคนซื้อมาไม่ค่อยใช้...หรือ ไม่ใช้เลย.....)

*มีความคิดที่ผิด.......ไม่เปิดใจ

*ขี้เกียจ.....(ข้อนี้...สำคัญ)

*ฯลฯ

  • ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ เลยนะครับที่ช่วยติดตามเรื่องรถ และก็นำข่าวการประกาศผลสอบ ภาษาอังกฤษ E 500 มาบอกต่อ
  • ผมก็เพิ่งทราบว่าสอบผ่านภาษาอังกฤษ จากบล็อก ของอาจารย์นี่เองแหละครับ
  • ทำให้รู้สึกดีขึ้นมากเลยครับ
  • ของมข. เปิดสอบเอง ป โทเอาผ่าน 50 , ปเอกเอา 60 ยังมีคนไม่ผ่านอีกเยอะเลยค่ะ ต้องสอบกันอยู่เนืองๆ แต่ก็ยื่นผลโทเฟล หรือผลที่อื่นได้ เช่น CU-GET , TU-GET , IELT
  • ภาษาไม่ดี ไม่รู้เป็นที่ไหน ระบบการสอนไม่ดี หรือพื้นฐานไม่ดีเอง หรือไม่ได้เป็นเมืองขึ้นเขา (เข้าข้างตัวเองหน่อย)
  • แต่ยังไงก็เห็นว่าภาษาEng สำคัญอยู่ดี เลยต้องพยายามๆๆๆ และพยายาม

       สมัยหนูเรียนปริญญาโท  ที่ มน. เมื่อปี 43 ได้มั๊ง หนูก็เป็นเด็กเทคโนฯ คนเดียวในรุ่นที่สอบผ่าน eng นะคะ อาจารย์  5555  เอิ๊ก ๆ  มันน่าภูมิใจไหมเนี่ย ! 

สวัสดีครับ อาจารย์ :)

  • "ภาษาอังกฤษ กับ ความไม่มีอันจะกิน คือ ศัตรูของนักศึกษาไทยที่คิดจะเรียนปริญญาเอก"
  • การเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ... "ปริมาณ" ไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน แต่ "คุณภาพ" คือ สิ่งที่ต้องสนใจ เพราะคุณภาพของบัณฑิตที่จบไป จะแสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อได้มีโอกาสทำงานและสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง (มหาวิทยาลัยห้องแถว และดอกเตอร์กล้วย - ข่าวฝากจาก "มติชน" บันทึกโดย รศ.ดร.กมลวัลย์)
  • ภาษาอังกฤษ เป็นปัญหามาตั้งแต่การเรียนรู้สมัยอนุบาล ... กระบวนการสร้างคนเหล่านี้ ไม่ได้เดินทางไปถึงเด็กที่ขาดโอกาส ... ครูยังไม่พอ .. อย่าไปบอกเลยว่า เด็กจะได้อะไรจากครูหรือหลักสูตร มันขับเคลื่อนไม่ได้
  • ดังนั้น ทุกวิชามีปัญหาหมดครับ มันส่งผลมาจนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วยว่า การเรียนจบของพวกเขาเหล่านั้น เรียนจบมาได้อย่างไร ได้มีการพัฒนาตนเองพร้อมกับการเผชิญสู่โลกหรือไม่ หรืออาจจะไม่สำคัญก็ได้ครับ
  • จบปริญญาเอก ยังตัดสินใจกลับไปช่วยพ่อทำนาที่บ้านก็มีแล้ว
  • นั่นขึ้นอยู่กับใจของผู้เรียนครับว่า ตนมีภูมิรู้ สมควรได้ปริญญาใบนี้หรือไม่ควรได้ หรือเป็นแฟชั่น ค่านิยม หรือความต้องการการหาเงินเยอะ ๆ หรือต้องการจะยกระดับทางสังคมกันแน่ แต่เรียนไม่รู้เรื่อง ก็เห็นจะมีเยอะไปครับอาจารย์
  • อยากเห็น ... ถ้ามีคนถามผู้เรียนว่า เรียนระดับบัณฑิตศึกษาไปทำไม ถ้าตอบว่า เรียนเพราะความอยากรู้อยากเห็นอยากทำเป็น แบบนี้น่าชื่นใจ แต่ถ้าตอบว่า เรียนเพราะจะได้เงินเดือนขึ้น มีหน้ามีตาในสังคม แบบนี้ควรจะชื่นใจไหมครับ สำหรับครู

บุญรักษา อาจารย์รุจโรจน์ ภรรยา และลูก 3  ครับ :)

 

  • เอ้อ งง อ.หนึ่งมีลูกกี่คนคะ อิอิ
  • ตอนนี้ภาษาอังกฤษเข้าหม้อไปหมดแล้วค่ะ

ผมไปสอบภาษาอังกฤษที่ ม.บูรพา ก็สอบไปผ่านครับอาจารย์ 555+

เดี๋ยวนี้มาตรฐานการศึกษาของเราต่ำเกินไปครับ กลัวแต่ว่าจะเสียงบประมาณการจัดการศึกษาหากผู้เรียนผ่านเกณฑ์การศึกษาน้อย จึงต้องตั้งเกณฑ์ต่า ๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของคนที่ต้องแข่งขันกับนานาอารยะประเทศ แล้วทำไม..ไม่สร้างเกณฑ์มาตรฐานไว้ (ต้องสามารถแข่งขันกับนานอารยะประเทศได้) แล้วส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในเกณฑ์ที่เป็นมารตรฐาน แล้วพยายามทำให้ผ่านให้ได้

ปล..ยังคิดถึงอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้อยู่ครับ จะพยายามติดตามอาจารย์ทางบล็อกนี้ไม่ห่าง ว่างจากงานเมือ่ไรจะไปกราบพระอาจารย์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท