ความอดทน


ความอดทน

การรณรงค์ส่งเสริมและเผยแพร่คุณธรรมและจริยธรรม

วิธีสร้างตนเอง

อดทน ซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ขยัน ถ่อมตน เป็นคนกตัญญู

อดทน ซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ขยัน ถ่อมตน และเป็นคนกตัญญู คุณธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึง

การส่งเสริมให้คนปฏิบัติธรรมและคุณธรรมทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นวิธีสร้างตนเอง นํ าตนให้อยู่ดี มีสุข มีกิน

มีใช้ และสามารถเอาตัวรอดได้

ความอดทน

ข้อแรก อดทน คํ าว่า อดทน มาจากคํ าว่า ขันติ ซึ่งแปลไว้มีความหมายมาก มีทั้งอด มีทั้งทน

คือ อดทนและอดกลั้น

อดทน
เป็นเรื่องของร่างกาย อดกลั้นเป็นเรื่องของจิตใจ ใครก็ตามไม่เป็นคนอดทนและอดกลั้น
จะกลายเป็นคนเปราะบาง ถูกแดดนิด งานหนักหน่อย ก็บ่นแล้ว มีทุกข์กระทบนิดหน่อยก็ทนไม่ได้

อย่างนี้เขาเรียกว่าขาดขันติ กลายเป็นขันแตก ขันแตก ช่วยใครก็ไม่ได้ นอกจากขันติเท่านั้น

เราต้องอดทนและอดกลั้น ทั้งสองประการนี้ บ่งบอกถึงความเข็มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ

ความซื่อสัตย์

ประการที่สอง ซื่อสัตย์ ข้อนี้สํ าคัญมาก

ซื่อสัตย์ ซื่อตรงนั้นดี ซื่อสัตย์เป็นเรื่องของวาจา ซื่อตรงเป็นเรื่องของจิตใจ พูดอย่างไรทํ าอย่างนั้น

คบกับใครไม่ทรยศ ไม่หักหลัง ไม่หลอกลวง เอาประโยชน์ ฉะนั้นอะไรก็ตาม ถ้าตรงดี ตรงต่อเวลา เขาก็นับถือ

ไม้ที่มันตรงเอามาปลูกบ้านทํ าเรือน เอามาสร้างอะไรก็ดูสวยงาม ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คด ๆ ทางคด ๆ

ก็ทํ าให้การเดินทางเสียเวลา คนคดนี่ใช้ไม่ได้
เหล็กคดก็ไปทํ าขอ ไม้คดก็ไปทํ าขอ เหล็กงอก็ไปทํ าเคียว

แต่ว่า

คนคดอย่างเดียวนี้ใช้อะไรไม่ได้

พระพุทธเจ้าตรัสสนับสนุนข้อนี้ว่า

คนจะมีเกียรติได้เพราะมีสัจจะ มีความจริงจริงใจ จริงวาจา และจริงจัง

จริงใจคบกับใครก็มีความจริงใจกับเขา

จริงจังทํ าอะไรก็ไม่เล่น ไม่เหลาะแหละจริงวาจา

พูดอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น ไม่สวมวิญญาณเด็กเลี้ยงแกะ ซึ่งจะไม่มีใครคบค้าสมาคม

เป็นอันขาด

ความมัธยัสถ์

มัธยัสถ์สอนให้รู้จักการดํ าเนินชีวิตในเฉพาะภาวะที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ต้องเก็บหอมรอมริบ

อดออม จะได้รู้จักการประหยัดและไม่อดอยาก คนที่ไม่อดออมมักจะอดอยาก คือ ให้รู้จักถนอมกินถนอมใช้

ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ทะเยอทะยาน ให้รู้จักการประหยัด ไม่ใช่ไปเที่ยวประชันแข่งกับเขา ประหยัด
ทํ าให้อยู่รอด

แต่ประชันจะทํ าให้อยู่ไม่รอด

สุนทรภู่ท่านกล่าวสอนให้รู้จักเก็บหอมรอมริบ เอาไว้ว่า

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์

มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ

ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน

ท่านบอกเอาไว้ชัด ให้ถามตัวเอง จํ าเป็นไหม? ให้รู้จักคิดก่อนควัก บางคนนี้ประชันกัน เห็นเขาใช้

ก็ใช้ เห็นเขาซื้ออะไรก็ซื้อ เห็นเขาแต่งอะไรก็จะแต่ง อย่าไปทํ าอะไรให้มันเกินฐานะเกินภาวะของตัวเอง

ความขยัน

ประการต่อมา ต้องมีความขยัน

คํ าว่าขยัน เดิมทีมาจากคํ าว่า ขายัน คนขยันเขาใช้ขายัน พยายามก้าวลุกไปข้างหน้า

คํ าว่า ขายันใช้ลุกขึ้น
ในภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้ว่า พร้อมในความขยันลุกขึ้นก้าวไปข้างหน้า

โบราณสอนลูกสอนหลาน บอกว่าคนขยันนี้ต้องตื่นแต่เช้า ตื่นเช้าได้งานหลายตื่นสายได้งานน้อย ตื่นสายขยาย

ตัวไม่ทันตื่นไก่ขันหันตัวได้รอบ ทีนี้ขายัน ฟังไม่เพราะ เลยตัดสระอาออก เหลือเป็น ข ก็เป็นขยันไป

ระหว่างคนขยันกับคนขี้เกียจอยู่ด้วยกัน นอนด้วยกัน พวกเราสังเกตดูไหม คนขยันจะลุกก่อน

ตื่นแต่เช้า คนขี้เกียจลุกทีหลังตื่นสาย สีหน้าจะไม่เหมือนคนตื่นแต่เช้า สีหน้าสดชื่น เบิกบาน แจ่มใส มีเสน่ห์

คนตื่นสายหน้าตายุ่งหยุกหยิก ไม่มีเสน่ห์ เวลาลุกก็ลุกไม่พร้อมกัน คนขยันลุกก่อนแต่เช้า

ฉะนั้น คนเราต้องขยัน ไม่เกียจคร้าน เป็นนักสู้ชีวิต แล้วจะเอาตัวรอดได้ ไม่มีใครสร้างชีวิตได้เพราะ

ความเกียจคร้าน แต่ทุกคนสร้างชีวิตได้ด้วยความขยัน ไม่มีใครมีกินมีใช้ได้เพราะความขี้เกียจ แต่เหลือกินเหลือใช้

เพราะความขยัน

ขี้เกียจแมลงวัน ขยันแมลงผึ้ง

คุณธรรมข้อขยันจึงเป็นเรื่องสํ าคัญ โบราณท่านบอกไว้ว่า ขี้เกียจแมลงวัน ขยันแมลงผึ้ง

ผึ้งมันดีอย่างไร เขาจึงเอามาเปรียบเทียบ

ผึ้งมีความดีถึง ๕ อย่าง ขยันหากิน บินไม่สูงนัก รักความสะอาด ฉลาดสะสม นิยมความ

สามัคคี ผึ้งมันสอนคุณธรรมแก่เรา

ทีนี้เมื่อถอดเป็นคุณธรรมสํ าหรับเราจะมาปฏิบัติได้ ก็คือ ทํ าอะไรก็ตาม ให้ขยันจริง ๆ ไม่เย่อหยิ่ง

ถือตัว ไม่เมามัวทํ าผิด ตั้งจิตสะสม นิยมความสามัคคี รักกันเหมือนพี่ดีกันเหมือนน้องและปรองดองกัน

เสมือนญาติ

ความถ่อมตน

ประการต่อไป เราต้องรู้จักถ่อมตน คือ มีความอ่อนอยู่ในตัว

ความอ่อนที่เป็นคุณธรรมนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ

. อ่อนน้อม

. อ่อนหวาน๓

. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ อ่อนไหว

เป็นมนุษย์สุดดี มีอยู่ ๓ อ่อน อ่อนน้อมอ่อนเคารพ ประสบศรี อ่อนหวานปากภาพพจน์หมดราคี อ่อนโยนดี

มีท่าทางสุภาพกํ าซาบใจ

อ่อนน้อม แสดงออกทางกาย มีสัมมาคารวะต่อผู้หลักผู้ใหญ่

อ่อนหวาน แสดงออกทางวาจา พูดจาไพเราะ ไม่หยาบ ไม่กระด้าง

อ่อนโยน แสดงออกทางจิตใจ มีเมตตา กรุณา มุทิตา ไม่คิดเบียดเบียน ไม่คิดอิจฉาริษยาใคร

ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ไม่เคร่งร้ายป้ายโทษคนอื่น

นี่แหละคือคนที่มีคุณธรรมอ่อนน้อมถ่อมตน

ขอให้คิดดูนะ อะไรก็ตามถ้าแข็งกระด้างเวลามีปัญหามันจะหัก แต่อะไรที่อ่อนถ้ามีปัญหา

มันจะลู่ตาม เช่น ต้นไผ่ ต้นอ้อ ต้นหลิว เวลานํ้ าหลากพายุพัด มันจะอ่อนลู่ไปตามพายุ พอพายุไปแล้ว

นํ้ าไปหมด
มันจะเด่นสง่าดังเดิมต้นไม้ต้นใด พอพายุพัดแข็ง โต้นํ้ าโต้ลม นั่นแหละ หนึ่งกิ่งจะต้องหัก สองกิ่งไม่หัก

ต้นก็จะโค่น รากก็ต้านทานไม่ไหว คนก็เหมือนกัน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนนั่นแหละเป็นเสน่ห์ แต่แข็งกระด้าง

ก้มหัวให้ใครไม่เป็น ไม่มีเสน่ห์

วิชาเป็นอํ านาจ มารยาทเป็นเสน่ห์

วิชาเป็นอํ านาจ มารยาทเป็นเสน่ห์ วิชาเป็นอํ านาจทํ าให้เราประกอบอาชีพได้ ได้รับการยอมรับ

แต่มารยาทเป็นเสน่ห์ คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส นั่นแหละมีเสน่ห์

อ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีไมตรีจิต ยิ่งเป็นคนมีเสน่ห์ คนมีเสน่ห์ต้องหน้ายิ้ม

หน้าเบิกบาน ไม่หน้าบูด หน้าบึ้ง แต่ก็ต้องยิ้มให้เป็นกาลเทศะ ไม่ใช่ยิ้มเรี่ยราด ไม่ใช่ใครเดินผ่าน
นั่งยิ้ม

ลมพัดใบไม้ไหวยิ้ม ถ้าอย่างนี้ใครเห็นเขาก็ว่าไม่สบายแน่ ๆ

ยิ้มนี้คือใจมีความสุข คนยิ้มแย้มแจ่มใสแสดงว่าใจเขามีความสุข สุขกับการได้อยู่ ได้เป็น ได้ทํ างาน

ความเป็นคนกตัญญู

ทีนี้อีกข้อหนึ่งสํ าคัญมาก เป็นคนกตัญญู กตัญญูแปลว่ารู้คุณ คู่กับคํ าว่า กตเวที แปลว่า

ตอบแทนคุณ

พระพุทธเจ้าท่านรับรองไว้ว่า คุณธรรมของความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐานของคนดี จะรู้ว่าเป็นคนดี

หรือไม่ดี จะรู้ได้เลย เพราะว่าเขาเอากตัญญูกตเวทีนี้เป็นเครื่องวัด เช่น

จะรู้ว่าลูกดีหรือไม่ดี ก็ดูว่า

ลูกมีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่ไหม?

จะรู้ว่าลูกหลานดีหรือไม่ดี ก็ดูว่า

มีความกตัญญูกตเวทีต่อปู่ย่าตายายหรือเปล่า?

จะรู้ว่าลูกศิษย์ดีหรือไม่ดี ก็ดูว่า

มีความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์หรือเปล่า?

จะรู้ว่าผู้น้อยดีหรือไม่ดี ก็ดูว่า

มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ใหญ่หรือเปล่า?

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

กตัญญู รู้คุณท่าน สํ าคัญนัก

นี้เป็นหลัก คนดี มีครบถ้วน

ตอบแทนท่าน ให้งาม ตามสมควร

คนดีล้วน ใจมั่น กตัญญู

กตัญญู คือ รู้คุณคนที่บุคคลนั้น ๆ ให้แก่เรา และตอบแทนคุณด้วยการทะนุถนอม

ถ้าเป็นเครื่องใช้
ก็ระวังไม่ให้มันแตก ไม่ให้ทํ าลาย
ถ้าเป็นคนก็ยกย่องให้เกียรติ ประกาศเกียรติคุณงามความดีของท่าน อยู่ที่ไหนอย่าไปทํ าลาย

ต้องสร้างสรรค์

คนกตัญญูตกนํ้ าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ คือไม่อับจน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

อาศัยร่มไม้ชายคาใดต้องกตัญญู ทะนุถนอม

ต้องไม่หักก้านรานกิ่งหรือเนรคุณต่อที่นั้น

แล้วท่านจะประสบความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า

คุณธรรมดังกล่าว ทั้ง ๖ ประการที่กล่าวมา อันได้แก่ อดทน ซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ขยัน ถ่อมตน

และเป็นคนกตัญญูนั้น นับว่าเป็นคุณธรรมสํ าคัญอย่างยิ่ง เป็นแนวทางหรือวิธีสร้างตนเอง อันจะนํ าตนให้เป็น

คนอยู่ดีมีสุข มีกินมีใช้ และสามารถนํ าพาตัวเอง ครอบครัว บริวารได้ในที่สุด

ที่มา
: หนังสือวิธีสร้างตนเอง

โดย พระพิจิตรธรรมพาที

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความอดทน
หมายเลขบันทึก: 166229เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2008 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท