ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก


ทักษะที่ช่วยในการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ควรจะมี

ทักษะพื้นฐาน  เด็กจะมีการสังเกตเมื่อพวกเขาสามารถ
การสังเกต (Observing)

  • แยกแยะคุณสมบัติของวัตถุเช่นสี ขนาด และรูปร่างโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า อ้าจตั้งคำถามว่า อะไรที่คุณสังเกตได้เกี่ยวกับวัตถุนี้
  • บอกสิ่งที่สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือเหตุการณ์ได้   อะไรที่เธอสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้
  • บอกสิ่งที่สังเกตได้ว่าเป็นวัตถุหรือเหตุการณ์ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน  สิ่งเหล่านั้นเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

  การจัดกลุ่ม (Classifying)  เด็กแบ่งกลุ่มหรือประเภทได้ก็ต่อเมื่อ

  • จัดกลุ่มวัตถุหรือเหตุการณ์ ตามคุณสมบัติหรือหน้าที่ของวัตถุหรือเหตุการณ์  เราสามารถจัดกลุ่มวัตถุเหล่านี้โดยทางใด
  • จัดเรียงวัตถุหรือเหตุการณ์ตามลำดับโดยคุณสมบ้ติหรือค่าของมัน  เราสามารถจัดวัตถุเป็นไปตามลำดับได้อย่างไร

 การวัด (Measuring) เด็กสามารถวัดอะไรได้ก็ต่อเมื่อ

  • ใช้เครื่องมือมาตรฐานเช่นไม้บรรทัดวัด  ไม้หลา ไม้บรรทัด นาลิกา ตาชั่ง และได้บรรทัดโปรแทกเตอร์ เพื่อหาปริมาณ  (เครื่องมือวัดมาตรฐานใดที่คุณสามารถนำไปใช้วัดสิ่งต่อไปนี้)
  • ใช้วัตถุที่คุ้นเคยเป็นหน่วยตามที่กำหนดเองในการหาปริมาณได้  (สิ่งของใดในชีวิตประจำวันใดที่คุณใช้ในการสัดสิ่งดังกล่าว)
  • วาดรูปตาชั่งหรือสร้างแบบจำลอง  (คุณวาดรูปตาชั่งได้อย่างไร หรือแบบจำลองได้อย่างไร)
  • ใช้วิธีการสุ่มง่ายๆ และใช้เทคนิคการประมาณ  (คุณสามารถนำกลุ่มตัวอย่างที่ดีมาได้อย่างไรหรือประมาณค่าสิ่งนี้ได้อย่างไร)

การสื่อสาร (Communicating)  เด็กสามารถจะสื่อสารได้ก็ต่อเมื่อ

  • กำหนดคำในเชิงปฏิบัติการได้ (ด้วยการกระทำอาการบางอย่าง)เมื่อจำเป็น  (อะไรที่จำเป็นต้องกำหนดที่นี่)
  • อธิบายวัตถุหรือเหตุการณ์ (คุณอธิบายสิ่งนี้ได้อย่างไร  หรือใครบ้างที่ทราบ คุณหมายถึงอะไร)
  • สร้างแผนภูมิและกราฟ (คุณสามารถสร้างแผนภูมิหรือกราฟเพื่อแสดงสิ่งที่ค้นพบได้อย่างไร)
  • บันทึกข้อมูลเท่าที่จำเป็น (บันทึกการเฝ้าสังเกตุอย่างไร)
  • สร้างสิงที่นำมาแสดง และแบบจำลอง (เราจะแสดงให้คนอื่นเห็นการทำงานได้อย่างไร)
  • วาดแผนภาพ รูปภาพ และแผนที่ได้ (อะไรที่เราสามารถวาดได้เพื่อที่จะอธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้น แผนที่ใดที่คุณสามารถวาดได้แล้วทำให้ผู้อื่นบอกสถานที่ได้)

การอนุมาน (inferring)

เด็กสามารถอนุมาณได้ก็ต่อเมื่อ

  • แบ่งแยกระหว่างสิ่งที่สังเกตได้กับการอนุมาณ (อะไรที่คุณสังเกต และบอกอะไรคุณได้บ้าง)
  • ตีความข้อมูลที่บันทึก (อะไรที่พบว่าไปด้วยกันบ้าง)
  • ตีความข้อมูลที่ได้รับทางอ้อม (คุณบอกได้อย่างไรว่ามีอะไรข้างใน)
  • ตั้งสมมุติฐานจากข้อมูล (อะไรที่คุณคิดว่าทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น)
  • ให้ข้อสรุปจากข้อมูลได้ (จากข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ คุณค้นพบอะไรได้บ้าง เกี่ยวข้องกับอะไร)

การทดลอง (Experimenting) เด็กสามารถจะทำการทดลองได้ก็ต่อเมื่อ

  • กำหนดสมมุติฐาน หรือคำถามเชิงปฏิบัติการที่จะทดสอบ (อะไรที่คุณคิดว่าทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น  หรือ การพัดลมไปที่น้ำทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น  จะเห็นว่าคำถามเชิงปฏิบัติการนี้ค่อนข้างเป็นแบบปลายปิด
  • ออกแบบขั้นตอนวิธีการที่จะควบคุมตัวแปร (เราสามารถหาได้อย่างไร)
หมายเลขบันทึก: 166085เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2008 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท