วิทยฐานะแบบใหม่ (ต่อเมื่อวาน)


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

    ต่อจากเมื่อวานนะครับ พอวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เลยวันวาเลนไทน์มา 1 วันปรากฏว่าอากาศร้อนอบอ้าวมาก เหมือนฝนจะตก มีอาจารย์จากทางเขตการศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 มาฟังบรรยายจำนวนมาก(ลงทะเบียน รับเอกสาร 100 บาท )เริ่มต้นจาก เกณฑ์วิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่ บรรยายโดย ประธาน อคกศ. จากทางเขต 2 ซึ่งเป็นผู้ประสานงาน ของศูนย์พันธุวิศกรรม ในพื้นที่แม่ฮ่องสอน จับใจความสำคัญคร่าว ๆ(เนื่องจากตื่นเต้น จับประเด็น ไม่ได้เยอะนะครับ) ว่า 

1. รายละเอียดที่ชัดเจนและประกาศออกมา อยู่ที่ เวป หมู่บ้านครู นะครับ

2. เกณฑ์ใหม่จะเริ่มใช้ เมษานี้นะครับ ถ้ามีคุณสมบัติที่จะส่งได้ นั่นคือ 1.) ถ้าเรียนจบปริญญาโท เป็นครูมา 4 ปี (ไม่นับรวมครูผู้ช่วย) ปริญญาตรี 6 ปี (ไม่นับรวมครูผู้ช่วย) สามารถส่งวิทยฐานะ ชำนาญการได้  

3. การจะยื่นเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีผลงานย้อนหลัง 2 ปีในดรงเรียนที่สอนอยู่ปัจจุบัน ถ้าย้าย ให้เริ่มนับใหม่

4. เอกสารประกอบการยื่น ให้ยื่น วฐ.1 ก่อนยังไม่ต้องยื่น วฐ.2

5. การประเมินจะแต่งตั้งบุคลากรในเขต หรือในหน่วยงาน แค่ 1 คน ที่เหลือกจากบุคคลภายนอก 

6. ให้บันทึก สมุดคุณความดี  ประกอบการยื่นด้วย

7. เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วจะมีการประเมินรักษาสภาพ ด้วยถ้าประเมินไม่ผ่านให้อบรม ถ้ายังไม่ผ่านอีก รู้สึกว่าไม่ได้ยึดเงินคืนแต่ จะไม่ได้ขั้นนะครับ

      มีอีกมากครับแต่จดไม่ทัน ถ้าจะให้ชัวร์ ต้องไปดูที่เวปเอง หรือติดต่อที่สำนักงานเขตพื้นที่ของตนเองนะครับ

หลังจากนั้นทางคณะของทางโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้าได้ ขึ้นบรรยายพร้อมกับ โรงเรียนราชประชานุเคระห์ 22 (ปาย)  เป็นเรื่อง การจัดการเรียนการสอนทุกวันเกี่ยวข้องกับวิทยฐานะ อย่างไร  จริง ๆแล้วผู้จัดได้ตั้งหวข้อขึ้นมาเพราะว่า อยากให้ครูที่เข้าร่วมฟัง ได้รู้สึกว่า การทำวิทยฐานะไม่ได้ลำบากอะไร เพียงแต่ว่าใช้งานที่ทำทุกวัน เป็นเครื่องมือในการทำ ไม่ต้องคิดนวัตกรรมขึ้นมาใหม่แล้ว ใช้แค่แผนการสอน บันทึกหลังสอน และผลงานเด็ก เราก็สามารถทำได้แล้ว เหมือนเช่น ครูที่โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า ได้ยื่นเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ 3 คน ผ่านทั้ง 3 คน

        ในการทำนวัตกรรมหรือวิจัย ส่วนมากอาจารย์ผู้ตรวจค่อนข้างจะไม่ค่อยจะยอมรับในเรื่องของนวัตกรรมเท่าไหร่ ส่วนมากจะสนใจในเรื่องของงานวิจัย และในปัจจุบันงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมาก คือการวิจัยเชิงคุณภาพ แต่ว่าเราในฐานะครูผู้สอนส่วนมากก็จะมีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียนเราจึงต้องใช้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นการวิจัยที่ผู้ปฏิบัติลงมือทำเอง และสังเกตการสอนของตนเอง ผู้เรียน การเรียนรู้ ดังนั้นอาจารย์มักจะยอมรับในเรื่องงานวิจัยมากกว่า นวัตกรรม

        ในการบรรยายผมได้บอกกับคนเข้ารับฟังว่า ถ้าเรามีแผนการจัดการเรียนรู้  บันทึกหลังสอน  ผลงานเด็ก เราสามารถทำวิจัยได้ และสามารถผ่านการประเมินได้ด้วย   ที่ผมพูดมันจริงหรือ?   คำตอบคือ จริง  สมมุติว่าเราตั้งประเด็นวิจัยในเรื่อง กระบวนการคิด นะครับ เราก็จะใช้การค้นคว้าทฤษีที่เกี่ยวข้องกับการคิดนี่แหละครับมา หลาย ๆ หลักการหรือทฤษฎี เราอ่านและสรุป สร้างกรอบความคิดเราว่าเราจะทำอย่างไร หรือเป็นแนวคิดว่าเราเชื่อว่าอย่างนี้ตามหลักการที่อ่านมา แล้วน่าจะสำเร็จด้วย  เราก็ดำเนินการสอนตาทปกติของเรา นำเอาทฤษฎี มาใช้ในการสอน สังเกตและบันทึกหลังสอนทุกครั้ง ให้บันทึกเป็นเชิงพรรณาบรรยาย (ถ้าลืม ให้กลับดูบันทึกที่แล้วมาเรื่องการเขียนบันทึกหลังสอนนะครับ) แต่ละบันทึกหลังสอน เราถอดรหัสออกมา เป็น Mind Mapping  ตั้งหัวข้อเป็นวิสอน/เทคนิค ที่เราใช้ ผลที่เกิดทีอไรบ้าง มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ในวิธีนั้น ใน14แผนการสอน อาจมีหลายเทคนิควิธีก็ได้ เราก็ถอดรหัสทุกแผน จนครบทุกแผน หลังจากนั้นเราค่อยมาสรุปอีกทีหนึ่ง ว่าเราใช้วิธีการสอนอย่างไร มีเทคนิควิธีอะไรบ้าง  เกิดผลกับเด็กอย่างไร จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละวิธี

สรุปออกมาเป็นทฤษฎี/ความเชื่อส่วนตัว คะแนนของการทดสอบการประเมินของทุกแผนการเรียนรู้ นำมาอภิปราย เป็นรายเดี่ยว รายกลุ่มก็ได้แล้วแต่เทคนิค  การตอบต่อจุดประสงค์การวิจัย ก็ใช้พฤติกรรมของเด็ก คำพูด  คำตอบ  ผลงานเด็กมาตอบ โดยเลือกเอาจากบันทึกหลังสอน ซึ่งคัดกรอง หรือแยกมาแล้ว  เราก็จะนำเอาตัวอย่างแผน  บันทึกหลังสอนทุกแผน ตัวอย่างผลงานเด็กเป็นหลักฐาน แล้วนำข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น มาเรียบเรียงตามระเบียบการวิจัย นะครับ

พรุ่งนี้จะมาเขียนบันทึกต่อนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 166062เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2008 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ 

  • บันทึกนี้มีประโยชน์  ครูอ้อย แอบพริ้นท์เอ๊าท์ ไปให้เพื่อนๆด้วยค่ะ
  • แล้วจะมี  สาวๆๆๆโทร.ไปหานะคะ..เอิ๊กเอิ๊ก

สวัสดีคะ คุณครูบรรเจิด

สำหรับการใส่เบอร์โทรศัพท์แจ้งไว้ในบันทึกนั้น ดิฉันเกรงว่าอาจจะมีโทรศัพท์ที่ประสงค์ไม่ดี โทรไปก่อกวน ดิฉันแนะนำให้เอาออกดีกว่าคะ และหากมีสมาชิกต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถฝากคำถามไว้ในส่วนแสดงความคิดเห็น หรือสามารถอีเมล์ติดต่อคุณครูบรรเจิดผ่านทางระบบของ gotoknow.org คะ โดยไปยังเมนูชื่อคุณครูบรรเจิด จากนั้นเลือกเมนูย่อยอีเมลติดต่อคะ

 

สวัสดีค่ะคุณครู

         *อ่านบันทึกคุณครูแล้ว  ดูง่ายจังเลย  หลายคนมีกำลังใจที่จะยื่นคำขอ

         *ชอบเมืองปายมากๆ  

P  ขอบคุณนะครับ  ที่ให้คำแนะนำ ลบออกเรียบร้อยแล้วครับ แต่ไม่น่าจะมีคนที่ประสงค์ไม่ดีนะครับ แต่ก็ไม่แน่ ขอบคุณอีกครั้งครับ

อดีตครูเมืองปายแต่ย้ายมาแม่สะเรียง

ขอแก้ไขเกณฑ์ข้อ 3 นะคะ สอบถาม จาก อ.สุบัน  ประทุมทอง (081-1181074) มาแล้วว่า ผลงานย้อนหลัง 2 ปีนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ สมมติว่า ผลงานปีแรกสอนอยู่อีกโรงเรียนแต่ปีถัดไปย้ายไปโรงเรียนอื่น ก็สามารถนำผลงานของ2โรงเรียนมารวมด้วยกันได้ อันนี้ conferm ยกเว้นกรณีเดียวคือ เปลี่ยนตำแหน่ง เช่นจากครูผู้สอนไปเป็นผู้บริหาร ต้องดำรงตำแหน่งนั้นก่อน 2 ปี จึงจะมีสิทธิยื่น ค่ะ ถาเป็นครูผู้สอนก็สบายค่ะ ยื่นได้เร๊ย

อ้อ ลืมอีกอย่าง แบบฟอร์มการขอรับการประเมินแบบใหม่จะลงเว๊บไซด์ประมาณอาทิตย์หน้า ที่ www.mou.go.th ยังไงก็ลองเข้าไปดูนะ

น้องครูบรรเจิดครับ

ดีใจครับที่น้องเขียนบันทึกอย่างต่อเนื่อง ชวนเพื่อนครูที่โรงเรียนมาเขียนด้วยดีมั้ยครับ

ตัวอักษรสีที่ใช้อยู่อาจลำบากในการอ่านครับ ควรใช้สีน้ำเงิน หรือ ดำ ก็ดีนะครับ

ติดตามอ่านเสมอๆครับ

 อดีตครูเมืองปายแต่ย้ายมาแม่สะเรียง

 ขอบคุณนะครับที่เข้ามาแก้ไข เรื่องเกณฑ์ของการเลื่อนวิทยฐานะ วันหลังเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันใหม่นะครับ เผื่ออาจจะมีความรู้ที่ผมยังเข้าใจผิดอยู่นะครับ 

P จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 

         ขอบคุณนะครับที่พี่เข้ามาแนะนำ ผมก็ว่ามันไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เดี๋ยวจะเข้าไปแก้ไขนะครับ
  

ขอบคุณหลานบรรเจิด ที่ชี้นำในสิ่งดีๆให้ครูได้เห็นช่องทางและมีกำลังใจในการทำผลงาน อยากให้สมาชิก KM ของสพท.มส. เขต 1 ทุกคน ได้ศึกษาเรียนรู้จากครูบรรเจิด จะได้ทั้งงานที่เป็นประโยชน์ และผลงานสำหรับการเลทื่อนวิทยฐานะด้วย

ลุงเก

P   ขอบคุณครับ อารย์ลุงเกครับ

           หลานคนนี้จะพยายามเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ่อย ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท