แนวทาง อบต.ชวนชาวบ้านเลิกเหล้า


สถานการณ์ของคนดื่มกินแอลกอฮอล์มีคนที่ดื่มเป็นประจำ ประมาณ หกล้านสองแสนคนและนานๆครั้งประมาณ หกล้านห้าแสนคน

                        สถานการณ์และแนวโน้ม(ข้อมูลเคลือข่ายองค์กรงดเหล้า)          สถานการณ์และแนวโน้มด้านแอลกอฮอล์นั้นพอแบ่งออกได้เป็น  ด้านของคนดื่มที่มีความต้องการดื่มกิน  ด้านของผู้ผลิตและบริการตอบสนองคนกิน  และด้านที่เป็นผลกระทบการการดื่มกินที่น่าเป็นห่วง  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้                 สถานการณ์ของคนดื่มกินแอลกอฮอล์มีคนที่ดื่มเป็นประจำ  ประมาณ  หกล้านสองแสนคนและนานๆครั้งประมาณ หกล้านห้าแสนคน   ผู้ที่ดื่มประจำทุกวันมีถึง สามล้านแปดแสนคน และคนที่ดื่มทุกสัปดาห์สามล้านสามแสนคน และเดือนละครั้งมีประมาณ สองล้านคน  จะเห็นได้ว่าคนที่ดื่มทุกวันมากที่สุด ถึง เกือบสี่ล้านคน  กลุ่มผู้ดื่มที่มีอายุน้อยจะดื่มนานๆครั้งเมื่ออายุมากขึ้นก็จะดื่มถี่ขึ้นเป็นทุกวัน และหากเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มดื่มแล้ว จะดื่มมากขึ้นและเลิกยาก   การดื่มประจำจะเพิ่มขึ้นโดยภาพรวม เด็ก เยาวชน และสตรีคือกลุ่มเฉพาะที่น่าเป็นหวง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตการดื่มประจำมากกว่ากลุ่มอื่น                สถานการณ์ด้านการผลิตและบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีขีดจำกัดในการตอบสนองความต้องการ มี  แนวโน้มขยายตัวตลอด โดยเฉพาะ เบียร์ สุรานำเข้าจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นความสามารถในการตอบสนองมีสูงไม่จำกัด(มีทุนใหญ่มาก)  
                        สภานการณ์ด้านผลกระทบ          ประเทศเราต้องสูญเสียเงินทองที่เกิดจากผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ประมาณปีละ 197,576.-ล้านบาท  มีการสูญเสียผลิตภาพจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  มีการสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานและขาดประสิทธิภาพในการทำงานมีคดีความ  การบังคับใช้กฏหมายและการฟ้องร้องคดีความ  ทรัพย์สินเสียหายจากอุบัติเหตุจราจรมากมายดังนั้นทางสมาคม อบต.  เครือข่ายองค์กรงดเหล้าและภาคี จึงตระหนักร่วมกันและเห็นว่าจะต้อง ผนึกกำลังร่วมกัน  โดยกำหนด เจตนารมณ์ร่วมกัน กำหนดหลักการสำคัญในการทำงานร่วมกัน  การมีส่วนร่วมและการผนึกกำลัง   เป้าหมายร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ  กลไกและขั้นตอนการขับเคลื่อนโครงการ  รวมทั้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในระดับพื้นที่และส่วนกลาง    โดยมีรายระเอียดดังนี้

เจตนารมณ์ร่วม

n    ผนึกกำลังสร้างสติ ลด  ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อคุณภาพชีวิตคน ครอบครัวชุมชนท้องถิ่นเข้มเข็งยั่งยืน

วิสัยทัศน์

n    องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรในการขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาระบบสุขภาพในระดับครัวเรือนโดย ริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนลด ละ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างสุขภาวะ

เป้าหมาย

n    สร้างต้นแบบ อบต.รณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท้องถิ่นไทยใด้ 20แห่ง ใน 1 ปียุทธศาสตร์

n    ผนึกกำลังสร้างการจัดการความรู้ แกนนำ เครือข่าย

หลักการ

ยึกหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงชี้นำการขับเคลื่อนโครงการ

n    กระบวนการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานความรู้และการเรียนรู้ของภาคีทุกระดับเป็นหัวใจของความสำเร็จอย่างยั่งยืน

n    ยึดหลักธรรมมาภิบาล โปรงใส ตรวจสอบได้ในการดำเนินโครงการ

n    มุ่งความเข้มแข็งของคน ครอบครัว ของชุมชน องค์กรท้องถิ่นและประเทศเป็นเป้าหมายปลายทางn    พลังชุมชน พลังองค์กรท้องถิ่นเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน โดยภาครัฐสนับสนุนนโยบายและทรัพยากรที่จำเป็น

n    ให้ความสำคัญของบทบาท และคุณค่าในศักยภาพที่แตกต่างในหมู่ภาคีที่ขับเคลื่อน การมีส่วนร่วมและการผนึกกำลัง

n    บทบาทขององค์กรบริหารส่วนตำบล

  q   มีบทบาทปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

n    บทบาทสมาคม อบต.

  q   จัดกระบวนการ พัฒนาแกนนำ สร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ของ อบต.ในจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ

n    บทบาทภาคีสนับสนุน

  q   สนับสนุนด้าน นโยบาย วิชาการ ข้อมูล และงบประมาณ

  การดำเนินงานสู่เป้าหมาย  ได้กำหนด เป้าหมายไว้ 4 ระดับคือ

การดำเนนินงานช่วง ตุลาคม-ปี50มกราคม ปี 51 เป้าหมายคือ กำหนดแนวทางและจัดทำฐานข้อมูลให้ เสร็จ  โดยมีกิจกรรม คือ  กำหนด  อบต.และจัดทำแผนปฏิบัติ ในพื้นที่ อบต. 125 อบต.   จัดทำคู่มือและตัวอย่างกิจกรรม  จัดประชุมในกิจกรรมที่ 1 เพื่อชี้แจงโครงการในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง  เมษายน 2551  สนับสนุนงบประมาณทำกิจกรรมในพื้นที่นำร่อง 125 อบต.  ร่วมปฏิบัติการรณรงค์ในพื้นที่  และสร้างอาสาสมัครในพื้นที่ตามกิจกรรมที่ 2 ในโครงการ เป้าหมายสำคัญคือ การสร้างอาสาสมัครนักรณรงค์ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง  กรกฎาคม  2551  มีการจัดทำสรุปรายงานการประเมิน  สรุปปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพื้นที่และสถานการณ์ และจัดให้มีการประชุมระดับภาค  โดยมี เป้าหมายสำคัญคือ การสร้างแกนนำเครือข่ายในระดับ จังหวัดและภาคในช่วงระยะเดือน สิงหาคม ถึง ตุลาคม  2551 จะเป็นกิจกรรมการสรุปบทเรียนสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ 125 อบต. โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างชุดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา                  

                การขับเคลื่อนในพื้นที่ ได้แบ่งระดับการทำงานในพื้นที่ เป็นระเครือข่ายในระดับจังหวัด โดยมีทีมงานรณรงค์ ของอบต.ในพื้นที่ เป็นสมาชิก                มีทีมงานปฏิบัติการในระดับอบต. เป้าหมาย  โดยมีทีมงานอาสาสมัครอย่างน้อยทีมละ 3 คนต่อ อบต. โดยได้มาจากแกนนำกลุ่มกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทำงานกับครอบครัวในพื้นที่

n    แนวทางการกิจกรรมรณรงค์

q   งานบุญ บวชพระ/แต่งงาน/ทำบุญบ้านq   งานประเพณี/วัฒนธรรม ปีใหม่/สงกรานต์/ เข้าพรรษา/กระฐิน/งานประจำปี/งานปิดทอง/ ฝังลูกนิมิต q   งานรื่นเริง/กิจกรรมปกติq   ประชาสัมพันธ์เชิญชวนq   เปิดเวที/ขบวนรณรงค์q   แผน อบต.พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน                 

              การดำเนินการประกอบด้วย งานในส่วนกลาง และงานในระดับพื้นที่  ในงานส่วนกลางประกอบด้วย  งานพัฒนาศักยภาพ  งานสื่อสารสู่สาธารณะ   งานบริหารจัดการ และงานวิชาการติดตามประเมินผล          ส่วนงานในพื้นที่ จะมีงานในระดับจังหวัดและงานในระดับตำบล  งานในระดับจังหวัดจะเป็นงานเชิงเครือข่ายประชาคมท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย อบต. ที่เข้าร่วมโครงการ  และส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องคอยสนับสนุนการทำงานในระดับตำบล                งานในระดับตำบลเป็นงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยมีการจัดทีมแกนนำนักรณรงค์เชื่อมร้อยกับงานอบต.ที่มีอยู่แล้ว  จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมสร้างเวทีประชาคมในระดับตำบลขึ้นมาเพื่อขับเครื่อนงานพัฒนาศักยภาพอบต.อย่างยั่งยืน              การรรจัดกระบวนการเวทีประชาคมตำบล มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้คือ

1.    กำหนดเจ้าภาพ(นายกหรือตัวแทนนายก อบต.)และคณะทำงานรณรงค์

2.    เชิญแกนนำชุมชนเข้าร่วมเวที(หมู่บ้านละประมาณ 10 คน)  ผู้นำองค์กรชุมชนประเภทต่างๆ จากหมู่บ้านและชุมชน  รวมถึงสมาชิก อบต.จากหมู่บ้านต่างๆด้วย

3.    เตรียมจัดเก็บข้อมูลคนดื่มเหล้าและผลกระทบในพื้นที่และข้อมูลจากโครงการ

4.    การปรับเจตคติและพฤติกรรม โดยมีประเด็นการพูดคุยเรื่องความเสียหายและค่าใช้จ่าย   ชุมชนเข้มแข็ง  การลด  ละ  เลิก  และอนาคตลูกหลานตำบลของเรา

5.    การวิเคราะห์สถานการณ์ในตำบลและช่วยกันเก็บข้อมูลหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม  วิเคราะห์แยกแยะเปรียบเทียบข้อมูล กำหนดวิสัยทัศน์ร่วม  เป้าหมายร่วม และวิธีการดำเนินการ

6.    จัดทำแผนแม่บทตำบลพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อลดละเลิกแอลกอฮอล์และอบายมุขอื่นๆ      แนวทางการกิจกรรมรณรงค์งานประเพณี/วัฒนธรรม ปีใหม่/สงกรานต์/ เข้าพรรษา/กระฐิน/งานประจำปี/งานปิดทอง/ ฝังลูกนิมิต

หมายเลขบันทึก: 166036เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • ดีใจด้วยค่ะ ที่มีโครงการดี ๆ อย่างนี้ ภาวะโลกร้อน จะได้เย็นลง
  • การแก้ปัญหา ไม่ใช่เอาโทษกับผู้ดื่ม ผู้เสพ
  • ต้องลงโทษผู้ผลิต ผู้ขาย ไม่ใช่ปรับ จำคุกผู้เสพ
  • ขุดถอน รากเหง้า ให้สิ้นซาก ปราศจากมณฑิล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด ผู้ขาย ประกาศ กฎระเบียบ เพื่อหักล้างซะเอง แล้วอย่างนี้ จะไม่ให้ผู้ดื่ม "เครียดๆๆๆ" ได้อย่างไร
  • ลูกหลาน จะได้ไม่ต้องสืบสาน ปฏิบัติตามแบบอย่างที่ไม่ดี
  • สังคม คงน่าอยู่ !!!! นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท