การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “อยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกันตรวจ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ


วิถีเศรษฐกิจพอเพียง โดย นายปรีชา ศรีพูล ครูโรงเรียนบ้านกันตรวจ สพท.ศก. 3

บทคัดย่อ

หัวข้อในการวิจัย    การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “อยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านกันตรวจ   อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้วิจัย                      นายปรีชา   ศรีพูล

กลุ่มสาระ              สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------                     

                  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าสาระการเรียนรู้อื่นจึงได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “อยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง”  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านกันตรวจ   อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เรื่องอยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สื่อประสม 3)ศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านกันตรวจ  โดยอาศัยตัวอย่าง 8  ตัวอย่าง  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3  ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้  12 แผน  ชุดสื่อประสม ซึ่งมี 4 ชนิด ใบความรู้ ใบงาน  แบบฝึกและรูปภาพ  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test                    

ผลการวิจัยปรากฎผลดังนี้                        

1. นักเรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้เรื่องอยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้สื่อประสม  สูงขึ้น                                

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้เรื่องอยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01                       

3. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนเรื่องการอยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับสูง คะแนนร้อยละ 86.11                          

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่อง อยู่ดีกินดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงภายหลังสิ้นสุดการวิจัยอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก

หมายเลขบันทึก: 166029เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นงานวิจัยที่ดีครับ

เดี๋ยวนี้เศรษฐกิจพอเพียงกำได้ได้รับความสนใจอย่างมาก

ผมจะนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาคณิตศาสตร์ของผมบ้าง

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท