การส่งเสริมการเลิกบุหรี่เป็นงานประจำ


การเลิกบุหรี่ ให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

 พรุ่งนี้ต้องไปประชุมวิชาการเรื่อง โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ก็เลยต้องอ่านหนังสือ เรื่อง คู่มือปฏิบัติการพยาบาล การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ ของ ผศ.กรองจิต  วาทีสาธกกิจ

     สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

     แนวทางข้อที่1 พยาบาลที่ให้บริการต่างๆ ถามประวัติ (Ask) การบริโภคยาสูบของผู้รับบริการทุกคน แนะนำให้เลิก(Advise) และแนนำแหล่งช่วยให้เลิกบุหรี่แก่ผู้รับบริการที่สูบบุหรี่ทุกคน

     พยาบาลทุกคนต้องถามประวัติการสุบบุหรี่

คุณสูบบุหรี่หรีอยาเส้นชนิดอื่นหรือเปล่า  มีคนในบ้านสูบบุหรี่ไหม มีคนสนิทหรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ไหม ถ้าคำตอบว่า

           - ไม่มี พยาบาลแสดงความยินดี คือ คุณโชคดี ยินดีด้วย ดีใจด้วย

           - เคยแต่เลิกแล้ว พยาบาลแสดงความยินดี แล้วต่อด้วยคำว่า อย่าไปลองอีกนะ คุณมีความเข้มแข็งมากที่เลิกได้นานแล้ว

           - สูบ พยาบาลให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่และส่งต่อ

     พยาบาลทุกคนต้องแนะนำ(Advise = A2) เพื่อให้ผู้รับบริการทุกคนที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ เป็นการเน้นความสำคัญของการเลิกสุบบุหรี่ซึ่งจะมีลักษณะที่แตดต่างกันไปตามกลุ่มบุคคลที่สูบบุหรี่ เช่น พยาบาลแนะนำว่าคุณควรเลิกสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อการเจ็บป่วยและทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง  พยาบาลบาลแนะนำว่าคุณควรเลิกบุหรี่เพราะควันบุหรี่ทำให้ลูกของคุณเป็นหอบหืดบ่อยขึ้น ฯลฯ

     พยาบาลทุกคนต้องแนะนำแหล่งช่วยให้เลิกสูบบุหรี่แก่ผู้รับบริการที่สูบบุหรี่ทุกคน(Assist A=4) โดยแนะนำแหล่งช่วยเหลือที่มีทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน เช่น แผ่นพับหรือเอกสารที่ช่วยในการเลิกสุบบุหรี่ คลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาล ร้านขายยาที่มีเภสัชกรแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ 1600 ควิทไลท์เพื่อการเลิกสูบบุหรี่

    การติดตาม (Arrage A=5) หากเป็นการทำงานในโรงพยาบาลที่เป็นระบบหน่วยงานรับผิดชอบในการติดตามคือคลินิกเลิกสูบบุหรี่ หรือ หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

    แนวทางข้อที่2 พยาบาลให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เชิงลึกแก่ผู้รับบริการ(ประเมินการสูบบุหรี่และการติดบุหรี่ สร้างแรงจูงใจและแนะนำวิธีการเลิกสุบบุหรี่) เมื่อพยาบาลมีความรุ้และประสบการณ์มากขึ้น

     พยาบาลต้องซักประวัติการสูบบุหรี่และประเมินความพร้อมในการเลิกสุบบุหรี่ และแนะนำให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ทุกคน

     พยาบาลต้องประเมินผู้รับบริการเกี่ยวกับ ประวัติการสุบบุหรี่ การเสพติด สภาพแวดล้อมที่อาจเป็นอุปสรรคในการเลิกสูบบุหรี่ และช่วยให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ เช่น สูบวันละกี่มวน สูบมานานกี่ปี เคยเลิกสูบมาก่อนใหม เลิกโดยวิธีใด ทำไมถึงกลับมาสูบอีก แรงจูงใจที่ทำให้ต้องการเลิกสุบบุหรี่ กำหนดวันเลิก บอกวิธีการเลิกสุบบุหรี่ การระบายความเครียด การจัดการกับปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียด การติดตามให้กำลังใจ

     แนวทางปฏิบัติข้อที่3  (Arrage follow up=A5)พยาบาลควรตระหนักว่าผู้รับบริการที่ได้รับคำปรึกษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ไปแล้วอาจกลับมาสูบอีกหลายครั้งกว่าจะเลิกได้สำเร็จจึงต้องมีกระบวนการติดตามตลอดระยะเวลาที่กำลังเลิกสูบบุหรี่ ต้องมีการขอติดตามผู้ป่วยทุกรายและมีรูปแบบการติดตามที่เป็นระบบอย่างเหมาะสม วงจรการเปลี่ยนแปลงของคนสูบบุหรี่จะวนเวียนอยู่ในแต่ละระยะประมาณ3 - 4 ครั้งก่อนจะเลิกได้อย่างถาวร พยาบาลต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการที่ผู้ป่วยกลับไปสูบุหรี่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการล้มเหลวแต่เป็นประสบการณืที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และนำมาปรับปรุงให้สามารถเลิกได้ในที่สุด ที่สำคัญคือพยาบาลต้องภูมิใจเพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบแล้วยังเป็นการช่วยป้องกันให้บุคคลในชุมชนไม่ให้ได้รับควันบุหรีมือสองอีกด้วย

     แนวทางปฏิบัติข้อที่4 พยาบาลควรทราบแหล่งช่วยเหลือให้เลิกบุหรี่ ที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อการส่งต่อหรือการติดตามตามสภาพหรือความพร้อมของผู้รับบริการแต่ละคน เช่น คลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาล/ชุมชน ร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำ หรือ 1600 ควิทไลท์เพื่อการเลิกบุหรี่

     ทั้งนี้การจัดระบบส่งต่อที่เอื้อต่อการรับบริการหรือการติดต่อให้กำลังใจได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้กระบวนการส่งเสริมการเลิกบุหรี่มีความสมบูรณ์และรองรับคนสูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ได้มากขึ้น

    แนวทางปฏิบัติข้อที่5 พยาบาลต้องมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของคนสูบบุหรี่ ว่ามีความแตกต่างกันในกระบวนการเลิกสุบบุหรี่และสามารถดัดแปลงวิธีช่วยให้ผู้รับบริการเลิกบุหรี่ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ

    พยาบาลต้องประยุกต์หลักการ ค้นหาความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการนั้นๆและให้คำปรึกาที่ตอบสนองการรับรู้ของแต่ละกลุ่มบุคคลให้มากที่สุด

     แนวทางปฏิบัติข้อที่6 พยาบาลต้องกระตุ้นผู้รับบริการและญาติทั้งคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ให้ทำบ้านเป็นเขตปลอดบุหรี่เพื่อป้องกันเด็กและบุคคลในครอบครัวและผู้รับบริการเองไม่ได้รับควันบุหรี่ ทำได้โดย

     พูดคุยกับผู้รับบริการขณะซักประวัติการสุบบุหรี่ ถามประวัติคนสูบบุหรี่ในบ้านแนะนำไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในบ้าน  เช่น ถ้าคุณไม่อยากเลิกก็อย่าสูบบุหรี่ในบ้านเพื่อความปลอดภัยของคนที่คุณรัก

     ระยะความต้องการเลิกสูบบุหรี่

  1. ยังไม่คิดจะเลิกบุหรี่ (Pre contremplation) ยังไม่คิดจะเลิก ไม่ตระหนักถึงผลดีของการเลิก มีความเชื่อบางอย่างที่ทำให้ไม่อยากเลิก เป้าหมายของการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้เริ่มคิดเกี่ยวกับการเลิกสุบบุหรี่
  2. ระยะรังเลใจที่จะเลิก (Contremplation) ลังเลใจแต่คิดจะเลิกภายใน 6 เดือน เป้าหมายของการให้คำปรึกษา คิดถึงการเลิกสุบุหรี่อย่างจริงจังและเกิดความรู้สึกมั่นใจที่จะเลิกมากขึ้น
  3. ระยะพร้อมที่จะเลิกบุหรี่(Preparation) พร้อมจะเลิกโดยกำหนดวันเลิกภายใน 30 วัน เคยพยายามเลิกมาแล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา เป้าหมายของการให้คำปรึกา เพื่อให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการเลิกสูบบุหรี่และกำหนดวันเลิกอย่างชัดเจน นำประสบการณ์จากการเลิกครั้งที่แล้วมาปรับใช้ในการเลิกบุหรี่ครั้งนี้เพื่อให้การเลิกบุหรี่สำเร็จ
  4. กำลังเลิก (Action) เลิกบุหรี่แล้วภายในระยะเวลา 6 เดือน เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ได้ หลุดพ้นจากอาการขาดนิโคตินและไม่กลับไปสูบอีก
  5. เลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว (Maintenance) ไม่สูบบุหรี่นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ปรับพฤติกรรมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ได้ เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันการกลับไปสูบอีก แนะนำการจัดการกับสถานการณ์ที่อาจทำให้กลับไปสูบอีก เสริมแรงจูงใจ

หลักและวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเลิกบุหรี่

  1. อย่าสูบทันทีที่อยากสุบ ยืดเวลาไปเรื่อยๆ การอยากสุบบุหรี่จะน้อยลง
  2. พยายามหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อคลายความรู้สึกเครียดและการอยากบุหรี่
  3. ดื่มน้ำช้าๆ จิบน้ำ อมนำหรืออาบน้ำ บ้วนปากแปรงฟันเพื่อคลายความหงุดหงิดและการอยากสูบบุหรี่
  4. หาสิ่งอื่นทำแทนการสูบบุหรี่เบี่ยงเบนความสนใจจากบุหรี่ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงาน ออกกำลังกาย
  5. คิดถึงความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ สิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้น พูดคุยกับคนที่เป็นกำลังใจ

 

..............................................................................................

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกความตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ค่ะ

เพื่อน

 

 

 

 

 

 

         

หมายเลขบันทึก: 165905เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับผมคนหนึ่งที่ไม่ชอบสูบบุหรี่
  • แต่แพ้ควนบุหรี่ บ้างครั้งเวียนหัวเลยครับ คนที่สูบเป็นเพื่อนผมเอง
  • บางครั้งผมบอกเขาก็รู้ว่าเราไม่ชอบ  แต่บางครั้งผมก็บอกให้เขาเรอก เขาบอกว่าลงทุนเยอะแล้วไม่มีทาง ผมบอกว่าน่าจะลดบ้าง เพราะบุหหรี่แพง ซอง 45 - 50 บาท เอาไปซื้ออย่างอื่นดีกว่า
  • ขอบคุณครับผม สำหรับสิ่งดีๆ
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาทักทาย
  • และคอยติดตามอ่านนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท