ครูจุ่น
นาย พงษ์ศักดิ์ อัครปรีชากุล

การวิจัยในชั้นเรียนจะเริ่มอย่างไร


ประเด็นในการวิจัยในชั้นเรียน

เท่าที่ได้ติดตามการติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาจากเพื่อนสมาชิกจำนวนมาก  ก็พบว่าเพื่อนสมาชิกมีใจที่จะพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียน  ด้วยกระบวนการทางวิจัย  แต่มีไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นกับการที่จะทำวิจัยอย่างไร  วันนี้ผมเลยอยากจะแนะนำเป็นเบื้องต้นสำหรับเพื่อนสมาชิกที่อยากพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วยกระบวนการวิจัย  หรือที่เราพูดกันติดปากว่าวิจัยในชั้นเรียน

ก่อนอื่นผมก็ขอเริ่มจากเรื่องที่พวกเราคุ้นเคยกันก่อนเลยนะครับ  กระบวนการวิจัยถ้าจะว่ากันง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับสุดยอดของค์ปัญญาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั่นแหละครับ  คือ  อริยสัจ  4  ซึ่งประกอบด้วย  ทุกข์  สมุทัย  นิโรจน์  และมรรค (แต่อย่าลืมว่า อริสัจ 4 นี้ถูกสรุปรวมมาจากประเด็นธรรมถึง  48,000  พระธรรมขันธ์ นะครับ)แต่ก็อย่าเพ่งตกใจไป  เพราะกระบวนการวิจัยไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดนะครับ  เพียงแค่เข้าใจอริสัจสี่  ก็น่าจะสามารถนำตัวเองเข้าสู่กระบวนการวิจัยได้ไม่ยาก

กระบวนการวิจัยตามแนวอริยสัจสี่ผมเองก็ขอเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ครับ

1.  ทุกข์  หรือปัญหาของการวิจัย  ปัญหาของการวิจัยเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทำงานในห้องเรียนของผู้สอนเป็นสำคัญนะครับ(ปัญหาที่อยากศึกษา แต่ไม่เกี่ยวกับห้องเรียนที่สอนผมก็ไม่ขอแนะนำ  เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อการเสนอผลงานครับ)  และปัญหาก็ควรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก  และถ้าแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิจัย  ผลก็ควรต้องเกิดกับนักเรียนนะครับ  ขอยกปัญหาตัวอย่างบางประเด็นนะครับ  เช่น  ครูคนหนึ่งสอนนักเรียนชั้น ป.4 เป็นทั้งคณูผู้สอนและครูประจำชั้น  โดยมีนักเรียนในห้องเรียนนี้จำนวน  35  คน  วันหนึ่งคุณครูสอนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องเศษส่วน  พบว่านักเรียนจำนวนมากไม่สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเศษส่วนได้  การที่นักเรียนเรียนเรื่องเศษส่วนไม่รู้เรื่องนี่แหละครับคือทุกข์  หรือปัญหาของคุณครู  ทุกข์ที่พบนี่แหละเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คุณครูคนนั้นคิดและหาวิธีพ้นทุกข์หรือที่เราเรียกว่าแก้ปัญหานั่นเองครับ(อาจจะยังไม่ต้องคิดถึงหัวข้อวิจัยนะครับ  อาจจะคิดวิธีพัฒนาผู้เรียนหรือแก้ปัญหาก่อนก็ได้  แต่ควรจะมีการบันทึกความคิดและสิ่งที่ได้จากการคิดอย่างต่อเนื่องนะครับ

2.  สมุทัย  หรือสาเหตุแห่งทุกข์  หรือสาเหตุของปัญหา  มาจากเรื่องอะไร  อยากให้เพื่อสมาชิกได้ลองกระบวนการคิดเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาด้วยการวาดรูปนะครับ  ที่เราเรียกว่า  mind map  โดยเริ่มหรือถ้าเขียน  mind map  ไม่เก่งเหมือนอาจารย์แก้วสรรค์  อติโพธิ ก็ใช้การขีดเส้นเป็นรูปก้างปลาก็ได้(Fish bone chart) สาเหตุของปัญหาที่ได้จะพบว่ามีมากมายเลยครับ  สาเหตุต่างๆ เหล่านั้นแหละครับเป็นประเด็นที่จะทำให้เราสามารถเขียนสมมติฐานการวิจัยได้  หรือถ้าเราเลือกศึกษาแต่ละสาเหตุ  ก็จะทำให้เราเข้าใจขอบเขตของการวิจัยได้  เวลาเราศึกษาด้วยการวิจัย  ก็จะทำให้เราไม่หลงประเด็นครับ  อีกอย่างที่เป็นประโยชน์สำหรับการค้นหาสาเหตุของปัญหาอย่างนี้  จะทำให้เกิดแนวคิดในการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ กันไปได้หลายรูปแบบ  หรือสามารถนำแนวคิดที่เกิดจากสาเหตุของปัญหามาสร้างเป็นนวัตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาได้อีกครับ

3.  นิโรจน์  หรือแนวทางในการแก้ปัญหา  เมื่อเราทราบสาเหตของปัญหาแล้ว  เราก็ลองคิดวิธีแก้ปัญหาในแต่ละประเด็นดูว่า  มีแนวทางในการแกปัญหาด้วยการวิจัยอย่างไร  ขั้นตอนนี้อาจจะต้องศึกษากระบวนการวิจัยเพิ่มนะครับ  เพราะกระบวนการวิจัยแต่ละวิธีก็จะมีการวิเคราะห์ทางสถิติที่แตกต่างกันออกไป รายละเอียดเรื่องนี้ค่อยปรึกษาหารือกันหรือจะแลกเปลี่ยนกับผู้รู้ใน webblog แห่งนี้ได้หลายท่านครับ  แต่ที่สำคัญคือประเด็นของสาเหตุแต่ละประเด็นให้คิดถึงวิธีการออกมาให้ตลอด  จนถึงขึ้นตอนสุกท้ายที่คิดว่าจะได้ข้อมูลที่สรุปได้  แล้วเลือกเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่คิดว่าท่านทำได้ดีที่สุด  เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด  เกิดประโยชน์สูงสุด  เอาประเด็นเดียวครับ

4.  มรรค (หนทางพ้นทุกข์) หรือดำเนินการศึกษา  ขอให้ทำการศึกษาด้วยหลัก  8  ประการของมรรคนะครับ  สิ่งต่าง ๆ จะออกมาตามความเป็นจริง  ถ้าสิ่งที่เลือกครั้งแรกไม่เป็นไปตามสมมติฐาน  ก็ให้เลือกอีกวิธี  ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง  คิดว่าได้วิธีที่ดีที่สุด  แล้วเอาข้อมูลทั้งหมด  มาเขียนงานวิจัยต่อไป

การเขียนงานวิจัย  มีรูปแบบตกต่างกันไป  แล้วแต่จะยึดเอารูปแบบของสถาบันการศึกษาใดเป็นหลัก  ตามใจท่านผู้เขียน  รายละเอียดค่อยเพิ่มเติมต่อไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 164382เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท