สร้างเวทีเสริมหนุนคนทำงานที่ชุมชนวังตาปลั่ง( 1 )


ได้ยกทีมไปเสริมหนุนคนทำงานในระดับอำเภอและชุมชน

วิถีชุมชนบ้านวังตาปลั่ง ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

            เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 ทีมงานของคนทำงาน ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย ผม อ.สิงห์ป่าสัก คุณกมลรัตน์ นาคคำ (นวส.7ว.) และคุณสราญจิต หรุ่นขำ (นวส.7ว.) ได้ยกทีม ไปเสริมหนุนคนทำงานในระดับอำเภอของสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร คือคุณรัตติยา ขวัญคำ (นวส.6ว.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังควง และคุณบุญส่ง จอมดวง (เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร) ซึ่งได้กำหนด Action  Plan  เพื่อลงปฏิบัติงานโดยจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวขาวหอมมะลิอินทรีย์บ้านวังตาปลั่ง 

 

 

 

              ในขณะที่ทีมงานกำลังอยู่ระหว่างเดินทาง เข้าชุมชนบ้านวังตาปลั่ง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ 30 กว่า กิโลเมตร ในช่วงที่เข้าชุมชน ได้เห็นระบบการผลิตพืช ซึ่งก็จะเห็นทุ่งนา ที่มีแต่ตอซัง เพราะว่าเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วช่วง พย.-ธค  แต่ก็จะมีเกษตรกรบางครอบครัว ที่ปลูกพืชหลังนา คือ ถั่วเขียวและถั่วเหลือง  และมีเกษตรกรส่วนหนึ่ง นอกจากจะปลูกข้าว ไว้บริโภคในครัวเรือนแล้ว  หากเหลือจากการบริโภคก็จะจำหน่าย

  

    

                นอกจากนี้เกษตรกรบางรายนอกจากจะปลูกข้าวขาว หอมดอกมะลิ  ในหนึ่งปี ปลูกครั้งเดียวโดยอาศัยน้ำฝน  และ ยังเลี้ยงโค  และไก่พื้นบ้าน เป็นอาชีพเสริม ส่วนบุตรหลานของเกษตรกรที่อยู่ในวัยทำงาน หลังฤดูการเก็บเกยี่วผลผลิตแล้ว ก็จะออกไปรับจ้างในตัวจังหวัดและเมืองหลวง

                    จุดเด่นที่ผมได้เห็นก็คือ เตากลั่นน้ำส้มควันไหม้ ของกลุ่มนี้ได้ช่วยกันผลิต เพื่อที่จะนำไปใช้และนำไปแบ่งปันให้กับเครือญาต เพื่อนบ้าน ที่มีการทำกิจกรรมทางการเกษตรได้ใช้เพื่อที่ส่งเสริมหรือขยายไปสู่ชุมชนข้างเคียงอีกด้วย 

 

 

                      เมื่อทีมงานของเราได้เดินทางไปถึงศาลากลางบ้านตาปลั่ง มีเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวขาวหอมมะลิอินทรีย์บ้านวังตาปลั่ง กำลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมี คุณรัตติยา ขวัญคำ นักส่งเสริมการเกษตร(เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ) และคุณบุญส่ง จอมดวง (เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร ) เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านวังตาปลั่ง

    

               ช่วงแรกที่ผมได้เข้าไปในชุมชนบ้านตาปลั่งนี้ จากการได้สังเกต พบว่าความเป็นอยู่ของชุมชนนี้ ยังรักษา หรืออนุรักษ์ สิ่งที่ยังเป็นสภาพชุมชนเดิม ที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ด้านวัตถุที่นำไปจากข้างนอกเข้าไปสู่ในชุมชนเอง ผมเห็นแล้วกลับภูมิใจต่อคนในชุมชน ที่ยังมีความรัก ความสามัคคี การร่วมมือ รวมถึงการรวมกลุ่ม ตลอดจน เห็นการตั้งบ้านเรือน การประกอบอาชีพ โดยไม่หลงกระแสของความเปลี่ยนแปลงมากนักมากนัก

    

             ชุมชนในลักษณะนี้จะหาดูได้ยากมากในเขตพื้นที่ของจังหวัด ทำให้ผมสนใจอยากจะศึกษาเรื่องของวิถีชุมชนบ้านตาปลั่ง ว่าชุมชนแห่งนี้เขามีจุดแข็งอะไรบ้าง ที่คนในชุมชนนี้ได้ช่วยกันรักษาไว้ รวมถึงประเพณี วัฒนธรรม สำคัญที่สุดก็คือด้านภายในจิตใจของคนที่อยู่ร่วมกันในชุมชนและสิ่งที่มองเห็น ณ.เวลานี้ก็คือ ผมเห็นผู้นำชุมชนวังตาปลั่งคือคุณอรุณ พงษ์เสือ เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้ ซึ่งชาวบ้านจะให้การยอมรับและเชื่อถือ

              ช่วงแรกของบรรยากาศการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ เขามีเป้าหมายเพื่อที่จะร่วมกันประเมินศักยภาพของกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ว่ากิจกรรมของกลุ่มที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พศ.2547 นั้น มีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร มีจุดอ่อนที่พบว่ามีอะไรบ้าง และมีแผนของการพัฒนากลุ่มในฤดูการผลิตต่อไป จะทำอะไรกัน ซึ่งทางสมาชิกกลุ่มก็จะได้แลกเปลี่ยนหารือร่วมกัน ในเป้าหมายของการผลิตข้าวขาวหอมมะลิอินทรีย์ต่อไป

                   ทีมงานของเราต้องขอชื่นชมความมุ่งมั่นของนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบงานระดับตำบล  ที่ยังมีพลังใจที่จะทำงานร่วมกับชุมชนอย่างไม่ย่อท้อ ถึงเงินเดือนจะเต็มขั้นมาหลายปีอย่างคุณรัติยา ขวัญคำและคุณบุญส่ง จอมดวง   หากเราอยู่ระดับจังหวัด ไม่ลงไปเสริมหนุนนักส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลและกลุ่มอาชีพทางการเกษตรแล้ว  เป้าหมายของการผลิตข้าวขาวมะลิอินทรีย์ หรือ การผลิตพืช GAP ของกลุ่มเป้าหมายอาชีพ ที่ไปรับการจดทะเบียนตามพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนแล้ว  จะเกิดการเรียนรู้ หรือไม่ และจะยั่งยืนแค่ไหน นั้น  มิใช่แต่เพียง สั่ง มอบหรือ Top Down เท่านั้น เพื่อให้เขาเหล่านั้นต้องลงไปทำงานกับกลุ่มอาชีพทางการเกษตร    จึง ยังจะต้องเสริมหนุน พัฒนา ช่วยให้เกิด Competency  รวมทั้งการปรับแนวคิดในการทำงาน  อาจจะต้องรวมถึงขัวญและกำลังใจเป็นสำคัญ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทีมงานเสริมหนุนคนทำงาน  จึงได้ตระหนักอยู่เสมอ เพื่อที่ช่วยนักส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ได้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งต่อไปครับ

(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปจะกล่าวถึงบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้)  

         

     

หมายเลขบันทึก: 164262เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

  • ขยันจริง ๆ พี่ชายผม
  • เตาน้ำส้มเหรอครับ  นึกว่าปืนใหญ่

 

  • น่าจะไปเที่ยวดูงานที่กำแพงสักครั้ง
  • มีของดีมากมายจริงๆ
  • ขอบคุณที่นำมา ลปรร.
  • ขอบคุณ อ.ชาญวิทย์ ที่มาแวะเยี่ยม
  • ไม่ได้ลปรร.กันนานพอสมควร
  • ใช่ครับ ณ.ปัจจุบัน พยายามสร้างทีมเสริมหนุน นักส่งเสริมการเกษตร น้องๆที่อยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน ให้มีไฟอีกสักครั้งครับ.
  • รูปที่เห็นเป็นเตากลั่นน้ำส้มควันไม้ ทางกลุ่มเขาทำกันเองครับโดยมีปราชญ์ชาวบ้านที่เคยทำมาสอนให้
  • ความจริงปราชญ์ชาวบ้านก็เป็นเครือข่ายคนทำงานเดียวกันครับ
  • ขอบคุณพี่ไมตรี ที่มาแวะให้กำลังใจกันมาตลอด
  • หากมีโอกาสผ่านทางกำแพงเพชร หรือมาทางภาคเหนือ ก็มาสักครั้งยินดีต้อนรับเสมอครับ
  • ทางยะลา อากาศช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง  ฝนยังตกอยู่ไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท