มาก่อนนั่งข้างหลัง & มาก่อนแว๊บก่อน


หรือจะเป็นวัฒนธรรมเชิงลบ

"ใครมาก่อนได้นั่งข้างหลัง ใครมาทีหลังเหลือที่นั่งข้างหน้า" เร่เข้ามาวันนี้มีกิจกรรม ประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ฟังบรรยายพิเศษ....

เคยสังเกตไหมคะ เวลาที่จัดกิจกรรมแล้วมีผู้มาลงทะเบียนก่อน จะเลือกที่นั่งบริเวณไหนของห้องประชุมก่อน

หรือจะเป็นวัฒนธรรมเชิงลบของเราชาวไทย

แอบลองคิดหาเหตุผลเล่น ๆ ก็พอจะพบสาเหตุสองสามข้อ

  • กลัวโดน(วิทยากร)ถาม 
  • ไม่อยากนั่งใกล้ผู้บริหาร
  • กลัวไม่ได้พูดคุยกับคนข้าง ๆ
  • ถ้าเผลอนั่งสมาธิ จะเป็นเป้าสายตา

ดิฉันเป็นทีมงานบุคลากรที่มีหน้าที่อำนวยความสะดวกจัดกิจกรรมการประชุมบ่อย ๆ โดยเฉลี่ยเดือนละ 2 -3 ครั้ง กิจกรรมบางเรื่องเรารู้แล้วล่ะค่ะว่า คนคงไม่เยอะ แต่ห้องประชุมมันใหญ่ อย่างไรก็ต้องใช้ห้องประชุมใหญ่ ๆ เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกให้วิทยากรครบ ก็แก้ไขโดยใช้วิธีดึงเก้าอี้ออก เหมือนเล่นเกมเก้าอี้ดนตรี แล้วก็ส่งทีมงานไปนั่งกันท่า กั้นไม่ให้มือดีไปดึงเก้าอี้เผื่อจะยกไปนั่งให้ไกลวิทยากรมากที่สุดที่จะทำได้

บรรยากาศห้องประชุม

วัฒนธรรมด้านลบอีกอย่างที่เจอเสมอคือ หลังจากกิจกรรมดำเนินไปสักระยะ จะเห็นความเคลื่อนไหว เข้าทำนอง มาก่อนขอตัวกลับก่อน ส่วนคนมาทีหลังนั่งหน้าก็ฝากฟังต่อด้วยแล้วกัน  อันนี้ยกเว้นผู้ที่เขาตั้งใจจริงมาเพื่อเป็น "บุคคลเรียนรู้" นะคะ 

สมาชิกที่ทำอาการเคลื่อนไหวตัวเอง ช่างใจร้ายจัง ไม่รอขอบคุณวิทยากรกันเลย เคยนับจำนวนสมาชิก พร้อมกับดูรายชื่อผู้มาลงทะเบียน บางทีเหลือไม่ถึงครึ่ง ดิฉันก็ได้แต่นั่งมองตา...แป๋ว

ทำอย่างไรดีคะ กิจกรรมที่จัดเราก็ไม่ได้บังคับว่าทุกคนจะต้องมาร่วมกิจกรรม เพียงแต่ว่างบประมาณเราไม่มากพอที่จะจัดอาหารว่าง น้ำชา กาแฟ กันได้บ่อย ๆ เท่านั้นเอง 

หมายเหตุ จากจดหมายข่าวรายเดือน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปี 8 ฉบับที่ 89 เดือนสิงหาคม 2550 (โดย ศรคม เงินศรี (สืบค้นจาก http://202.183.190.2/th/knwinf_pcornerdetailDotnet.php?pdtlid=550 )   อธิบายว่าวัฒนธรรมองค์กร คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในองค์กรคิดและปฏิบัติเหมือนๆ กัน โดยเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน จนเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งอาจสอดคล้องกับค่านิยมองค์กรมากหรือน้อยก็ได้ แต่ถ้าสอดคล้องกันมากก็จะเอื้อต่อการดำเนินการตามพันธกิจขององค์กร

หมายเลขบันทึก: 164020เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาอ่านต่อค่ะ จริงๆ ชอบนั่งกลางๆ แต่เมี่อต้นเดือนมีนาที่ผ่านไปอบรม ลองเดินไปนั่งหน้าสุด หือบรรยากาศการอบรมดีมาก ที่ว่าดีมาก เพราะพอเดินออกไปเข้าห้องน้ำแล้วมายืนที่หลังห้อง เสียงบรรยายฟังไม่ดีเลย ไม่ใสชัดแจ๋วเหมือนนั่งแถวหน้า กะว่าในโอกาสต่อๆไปขอนั่งแถวหน้า ...กะจะเป็นผู้หญิงแถวหน้าแล้วละค่ะ 555

สวัสดีค่ะ คุณดาวลูกไก่

เห็นแบบนี้มามากค่ะ เห็นใจคนจัดงานเลยค่ะ ยิ่งประเด็นวิชาการมากแค่ไหนยิ่งเห็นชัด

แต่หากเป็นการจัดกิจกรรมที่มีประเด็นใหม่ๆ ตามกระแส หรือมีวิทยากรน่าสนใจก็จะช่วยได้มากค่ะ

แจ๋วเคยเห็นกิจกรรมเสวนาในหอศิลป์แห่งเดียวกัน แต่คนละวิทยากรที่มาพูดคุย

ทำให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเลยค่ะ ว่างานหนึ่งคนน้อย ไม่ชอบนั่งหน้า

ส่วนอีกงานทั้งนั่งหน้ากับพื้นและยืนหลังห้องเต็มหมด

เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปล.จะเรียบเรียงเรื่องวาดภาพประกอบนิทานให้อ่านตามคำขอเร็วๆ นี้นะคะ

คุณ newwave1 คะ อยากเลี้ยงกาแฟสักแก้วจังเลยค่ะ

บันทึกนี้คิดอยู่ว่า ถ้าเป็นงานประชุม คงเลี้ยงเบรคดเวยน้ำแห้วแล้วนะคะ เป็นเรื่องจริงที่แปลกมาก ไม่มีความเห็น 555 ความจริงยุคสมัยนี้ อยากได้ความรู้ต้องเลือกแถวหน้านะคะ

นั่งหลังห้อง เสียงวิทยากรอู้อี้ แล้วคนยังชอบคุยแข่งกันด้วย คิดว่าคนข้างหน้าเขาไม่ได้ยินหรืออย่างไรนะคะ...

ขอบคุณค่ะ แวะมา อีกบ่อย ๆ นะคะ ที่บันทึกไหนก็ได้ค่ะ ชอบความอบอุ่นค่ะ

คุณ jaewjingjing ค่ะ

น้ำแห้วไม่เสริฟนะคะ งานประชุมนี้ แหม ดีใจ มีเพื่อนร่วมห้องแล้ว... การประชุม ห้องจะเต็ม จะโล่ง คนจะสวมใส่เสื้อสีขาว หรือสีดำ...ขึ้นกับวิทยากร และหัวข้อจริงๆ ด้วยค่ะ แต่บางทีหัวข้อก็ไม่ใช่ประเด็นนะคะ ถ้าเรื่องเดียวกัน เอาดาราดังมา แทนนักวิชาการ งานนั้นได้เฮนะคะ

วัฒนธรรมนี้ยังคงอยู่ต่อไปค่ะ...เศร้า แต่จะทำใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท