ทรัพยากรมีเหมือนกันแต่พัฒนาต่างกัน


แล้วทำไมเราไม่พัฒนา

      ผมมีโอกาสได้นั่งพูดคุยกับเพื่อนๆที่ในงานโรงเรียนของหาดใหญ่วิทยาคารเมื่อคืน มีประเด็นที่เราได้นั่งถกกันคือ ทำไมสังคมบ้านเราไม่พัฒนาเสียที ในเมื่อหากจะถามว่าเราไม่มีเหมือนเพื่อนหรือผมมองว่าเปล่าเลย  เขามีโรงเรียน/มหาวิทยาลัย เราก็มี เขามีนักวิชาการเราก็มี  เขามีทรัพยากรต่างๆ  เราก็มี มีอะไรบ้างที่ประเทศไทยของเราไม่มีเหมือนเพื่อน เพราะหากจะมองภาพรวมแล้วโดยพื้นฐานเราก็มีแทบทุกอย่างแล้วทำไมเราไม่พัฒนา  ก็ถกกันไปถกกันมา ผมมีความคิดหนึ่งขึ้นมา ที่เราไม่มีเหมือนเพื่อนบ้านก็คือ ทิศทางที่แน่นอนครับ  ทิศทางที่ว่าคืออะไร ทิศทางที่มันควรจะเป็น ผมขอมุ่งเป้าไปที่การศึกษา ลองคิดดูนะครับว่า มาเลเซียเด็กเขาเรียนกันครึ่งวันแต่กลับมีการพัฒนามากกว่าเมืองไทย ทั้งๆที่เราเรียนกันจะเป็นจะตาย เดี๋ยวหลักสูตรโน่นหลักสูตรนี่แล้วแต่ผู้เกี่ยวข้องจะกำหนดขึ้นมา  หลายต่อหลายเรื่องเราทำประชาพิจารณ์ได้ แต่ทำไมเราไม่ลองทำประชาพิจารณ์เรื่องการศึกษาให้เด็กเข้ามีส่วนร่วมบ้างหล่ะครับ (แค่ข้อคิดเห็นของผม) เพราะอย่าลืมว่าการศึกษาจะนำไปสู่การพัฒนามที่ยั่งยืนในหลายๆเรื่อง อย่างที่มีคำกล่าวว่า "ผู้รู้กับผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ" อันนี้แน่นอนผมคิดว่าคงไม่เท่ากันแน่ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้รู้บ้านเรารู้แล้วปฏิบัติกันมากน้อยแค่ไหน(อันนี้ผมก็ไม่ทราบได้)

          หากจะถามว่าถึงเวลาหรือยังที่ทุกฝ่ายควรหันมาถกคิดแก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที หลายคนอาจคิดว่า เป็นคำถามล้าหลังเพราะเขาก็ทำกันอยู่ แต่ที่มองดูทำแล้วทำไมไม่พัฒนาเสียที หรือเมืองไทยยังขาดทรัพยากรอะไรอีก  รีบคิดนะครับเพราะหากคิดช้าไปในอาเซียนเราอาจเห็นประเทศไทยอยู่อันดับต้นๆเรื่องการศึกษาที่นับมาจากหลังก็เป็นได้ ด้วยความเป็นห่วงครับ

หมายเลขบันทึก: 163120เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ครับผมเห็นด้วยกับอาจารย์

มีคนเคยกล่าวว่า เมื่อก่อนเราขอสู้กับสิงค์โปร์ แต่สุดท้ายตามไม่ทัน ก็ขอสู้กับมาเลย์ ก็ทำไม่ทันอีก ก็มาภูมิใจว่าเราดีกว่าเพื่อนบ้านที่อยู่ตอนบนและข้างๆซ้ายและขวา แต่ทุกวันนี้หลายคนก็พูดว่าอีกไม่กี่วันเราคงต้องไปดูงานการศึกษาที่เวียดนาม.. หรือว่า..การศึกษาบ้านเราทุกวันนี้ถูกเวียดนามทิ้งอีกแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็คงอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับลาว เขมร

วันก่อนนั่งฟัง คุณดำรงพูฒตาล ในฐานะเป็นกรรมการสภามหาวิทยาราชภัฎแห่งหนึ่ง ท่านเล่าเกี่ยวกับประเทศลาวที่ท่านได้ไปเห็นมา.. ท่านเล่าว่าทุกวันนี้ลาวเขามาทิศทางที่แน่นอน กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าปีนั้นลาวจะต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ และทำได้เสียด้วย ... และลาวเขาวางเป้าว่าจะให้หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา(ในปีอะไรนั้นผมจำไม่ได้) .. นั้นหมายถึงเขามีเป้าชัดเจน .. และเป้าที่ผ่านมาหลายอย่างเขาทำมาแล้ว..

หันมามองบ้านเรา.. ผมว่าก็มีเป้าหมายชัดเจนเหมือนกัน แต่เวลาเดินมันไม่ค่อยชัดเจนเท่าเรา ลองผิด ลองถูกอยู่นั้นแหละ .. บางครั้งเดินไม่ได้มีสิ่งขัดขวางมากมาย ความเสียสละของคนไทยยิ่งวันยิ่งมีน้อย .. เลยทำให้ต่างคนต่างอยากได้.. การพัฒนาบ้านเมืองถึงไปไม่ถึงไหน

บางทีสิทธิต่างๆที่คนไทยมี อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้ยาก...

.. ประชาธิปไตยแบบไทยๆ...

ที่เราไม่พัฒนา (ตกต่ำ) เพราะเราห่างไกลอัลกุรอานและซุนนะห์ครับ

ไม่รู้ซินะ แต่ได้ยินใครๆเขาก็พูดกัน ถึงปัญหาต่างๆ ทุกคนรู้ถึงสาเหตุ รู้ถึงแนวทางแก้ไข รู้ในหลายๆอย่าง แต่ไม่รู้ทำไม หลายๆอย่างก็ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ตกลงจะโทษใคร และใครต้องรับผิดชอบ แล้วเมื่อไหร่จะดีขึ้น อยากให้นักศึกษามีส่วนร่วมอย่างมากเลยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ผู้ใหญ่ก็ช่วยหนับหนุน ขออัลลอฮทรงโปรดรับดุอา
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับPP3. ฮานานัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท