ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ – ตอนที่ 13 (จบ)


                      บทความก่อนหน้านี้  ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3, ตอนที่ 4, ตอนที่ 5, ตอนที่ 6, ตอนที่ 7, ตอนที่ 8, ตอนที่ 9, ตอนที่ 10, ตอนที่ 11, ตอนที่ 12

********************************************
ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ –

ตอนที่ 13 (จบ)

                      ถ้าท่านถามผมว่าได้ให้รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลมา 10 ปี ได้ผลอย่างไร ผมก็อยากประเมินผลที่ได้ในกลุ่มต่างๆ คือ ในกลุ่มนักวิชาการในต่างประเทศ กลุ่มนักวิชาการไทย และกลุ่มของคนไทยทั่วไป
                     ในกลุ่มนักวิชาการชาวต่างประเทศ   ผมคิดว่ารางวัลนี้เป็นที่รู้จักกันในวงนักวิชาการชาวต่างประเทศโดยทั่วไป และเขามีความพอใจที่รางวัลนี้ได้เป็นประโยชน์ที่เป็นการให้รางวัลทาง Public Health ซึ่งมีการให้รางวัลน้อย    รางวัลของเราก็เทียบได้กับรางวัล King Faisal ซึ่งให้ 1 รางวัลประมาณ 100,000 กว่าเหรียญ รางวัลของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า Japan Prize เป็นมูลค่า 100,000 เหรียญ รางวัล Indira Gandhi Prize ซึ่งผมเข้าใจว่าเขาให้ 20,000 เหรียญ และรางวัลแมกไซไซ ซึ่งเดิมเขาให้รางวัลละ 30,000 เหรียญ แต่ได้เพิ่มเป็น 50,000 เหรียญภายหลัง จากที่รางวัลของเราออกมาได้ 2 ปี แต่รางวัลแมกไซไซมีหลายรางวัลและเขามุ่งให้คนที่ทำงานให้แก่ชุมชนในประเทศเอเซีย   เวลาที่ผมคุยกับเพื่อนชาวต่างประเทศ ถามถึงรางวัลนี้ก็ได้คำตอบเป็นที่น่าพอใจทั้งสิ้น
                      สำหรับนักวิชาการของไทยนั้น ผมรู้สึกว่ามีความสนใจในรางวัลนี้เพียงเล็กน้อย บางคนสนใจว่าคนไทยจะได้เมื่อไหร่ บางคนสนใจว่าเมื่อไร Profession เขาจึงจะได้ เราได้พยายามจัดให้มีการประชุมในประเทศไทย โดยคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ และผู้ได้รับรางวัลหลายครั้ง แต่นักวิชาการคนไทยก็มีการตอบรับอย่างธรรมดาไม่ได้เป็นพิเศษ สำหรับคนไทยโดยทั่วไปก็ไม่ได้มีความสนใจมากนัก มีความรู้ในเมื่อมีข่าวการพระราชทานรางวัล แต่หลังจากนั้นก็เงียบไป ไม่มีบรรยากาศเป็น National Day เช่นรางวัลโนเบลของสวีเดน
                      สำหรับกรรมการรางวัลนานาชาติ และผู้ได้รับรางวัลก็นับว่ามีความตื่นตัวพอใช้ ทั้งกรรมการนานาชาติและผู้ได้รับรางวัลบางคนได้มีความประทับใจในสมเด็จพระเทพฯ เป็นพิเศษ และเมื่อท่านเสด็จไปต่างประเทศ เขาก็มาต้อนรับและดูแลพระองค์ท่านเป็นอย่างดี เช่น Dr. Scrimshaw, Dr. Stanbury ซึ่งมาดูแลท่านในเรื่อง โภชนาการและการขาดสารไอโอดีน Dr. Alfred Sommer คณบดีคณะสาธารสุข มหาวิทยาลัย John Hopkin ได้เชิญสมเด็จพระเทพฯ ท่านไปเยี่ยมค่ายวิจัยของเขาที่ประเทศเนปาลเป็นต้น กรรมการและผู้ได้รับรางวัลหลายคนก็ได้ขอไปดูงานในประเทศไทยด้วย
                       ในแง่การพิจารณา เสนอผู้ได้รับรางวัลนี้ ผมมีความรู้สึกว่ากรรมการแต่ละท่านมีความรู้ทางวิชาการของท่านซึ่งลึกซื้งมาก และท่านยังมีความกว้างขวาง ในแนวราบดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งการรู้ มากทางดิ่งและทางราบนี้เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คณะกรรมการรางวัลมหิดลมีลักษณะเป็นพิเศษ และจะหารางวัลอื่นในประเทศไทยทัดเทียมได้ยาก
                       ผมหวังว่ารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จะคงอยู่คู่กับเมืองไทยชั่วกาลนาน เป็นเครื่องเชิดชูพระบารมีของสมเด็จพระบรมราชชนกอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและจะเป็นรางวัลที่ทำชื่อเสียงให้ประเทศอย่างยิ่ง
**************************************
ที่มา : บทความพิเศษ ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ณัฐ ภมรประวัติ พ.บ.
จาก สารศิริราช ปีที่ 54 ฉบับที่ 9 กันยายน 2545
หมายเลขบันทึก: 16245เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2006 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท