ถ้ารัฐจะลงทุนวิจัย ควรลงทุนในเรื่องอะไร? (4)


การบอก trend เหมือนกับการวาดภาพสะพานให้ดู แล้วบอกว่าเรากำลังจะขึ้นสะพาน หรืออยู่บนสะพาน แต่ไม่ได้บอกว่า พอข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งแล้ว คาดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

ฟ้าครับ ถ้าถามว่าได้อะไรจากงานนี้...

  • เห็นใจคณะผู้วิจัย ที่ได้ลงแรงเก็บข้อมูลและวิเคราะห์มหาศาล โจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ใหญ่ และ ในห้องประชุมก็มีผู้สันทัดกรณี ให้ความเห็นมากแล้วว่า งานวิจัยชิ้นนี้่เป็น foresight หรือไม่ อย่างไร ขาดเรื่องอะไร วิธีการศึกษาแบบ MBA เหมาะสมหรือไม่ สมมติฐานน่าจะเป็นจริงหรือไม่ (แม้จะมีศัพท์แสงทางเศรษฐศาสตร์ว่อนไปทั้งงาน) รวมถึงว่าวิธีการและสมมติฐานที่ตั้งขึ้นนี้ ตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่
  • อยากมองในแง่บวกบ้าง ว่า การที่มีงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา น่าจะเป็นอุทธาหรณ์ที่ดี สำหรับหน่วยงานวิจัยนโยบาย หรือนักวิจัยนโยบาย ว่า การวิจัยเชิงนโยบาย เกี่ยวกับงานวิจัยของประเทศที่ดี ควรตั้งโจทย์อย่างไร มีกระบวนการวิจัยอย่างไร ผู้วิจัยควรมีคุณสมบัติอย่างไร และไปจนถึงประเด็นสำคัญที่ว่า เมื่อวิจัยได้ผลออกมาแล้ว ควรมีวิธีในการ advocate หรือผลักดันผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์อย่างไรดี
  • ในแง่ของเนื้อหาที่ได้ เท่าที่ฟังอยู่ ผู้วิจัยนำเสนอตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ ก็ได้ความรู้มากมาย ได้ยินคำว่า "ปัจจุบัน" มาก แต่ไม่ค่อยได้ยินคำว่า "อนาคต

จึงมีข้อสังเกตว่า

  • ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ "ปัจจุบัน" นั้น ผู้ที่นั่งฟังอยู่ ซึ่งมาจากแต่ละวงการ น่าจะมีความรู้ในแต่ละเรื่อง มากและลึกกว่าผู้วิจัยที่นำเสนอบนเวที แม้จะพยายามทำการบ้านมาอย่างดีแล้วก็ตาม
  • ส่วน trend ที่นำเสนอประปรายล้วนน่าสนใจ แต่ก็เหมือนกับวาดภาพสะพานให้ดู แล้วบอกว่าเรากำลังจะขึ้นสะพาน หรืออยู่บนสะพาน
  • แต่ไม่ได้บอกว่า พอข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งแล้ว คาดว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
  • คงต้องทำการบ้านต่อ หรือหาโปรเจ็คต่อไปมาทำต่อ

ข้อกังวลที่มีผู้แสดงความคิดเห็นกันคือ

  • ใช้ adoption rate, attribution rate ที่ตายตัว (ตามตารางที่นำเสนอ) ทำให้งานนี้เป็นการ projection จากข้อมูลปัจจุบัน มากกว่า foresight เพราะไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า สถานการณ์จะเปลี่ยนไปทางไหน อย่างไร แต่ผู้นำเสนอพยายามอธิบายว่า ข้อมูลนี้จะ dynamic ก็ไม่ทราบว่าจะ update ตอนไหน ยังไง
  • มีผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรม เสนอว่านอกจากเทคโนโลยีเกิดใหม่ น่าจะมองไหมว่า จะมีวิธีการอย่างไรที่จะใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ ให้เกิดผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้มากที่สุด
  • การคิดถึงงานวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อม แม้จะมีแฝง ๆ อยู่ แต่ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ เช่น งานวิจัยที่จะผ่อนเพลาโลกร้อน การลดมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรม หรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งจะโยงไปถึง practice ในการส่งออกสินค้าของไทยไปยังคู่ค้าในต่างประเทศด้วย เพราะต้องเจอกับกฎระเบียบทางการค้าที่มีฐานมาจากสิ่งแวดล้อม
  • "การเสื่อมราคาขององค์ความรู้" เป็นคำถามของผู้แทนจากสภาพัฒน์ ฟังคำตอบดูแล้ว ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้

สรุปตามเท่าที่จับความได้ ผิดถูกก็ขออภัยด้วยครับ

ทางกลุ่มวิจัยมีแผน ที่จะจัด session ร่วมกับสำนักงบฯ เพื่อนำผลจากงานนี้ไปกำหนดทิศทางและสัดส่วนของ research funding ได้ยินว่าจะเชิญหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยอื่นด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 162334เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท