ฟ้าครับ
เล่าต่อเรื่องเนื้อหาครับ...
เอกสารการประชุมหลัก ๆ มีสามเล่ม อัดด้วยเนื้อหาสาระเต็มอิ่มครับ
<ul><li>เล่ม 1 การรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูล เล่มนี้มีการส่งมาให้อ่านล่วงหน้า เป็นเล่มที่รวบรวม แจกแจงข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันรายโครงการ ในสาขาต่าง ๆ</li><li>เล่ม 2 แสดงการวิเคราะห์ CBA และ NPV เล่มนี้เหมาะสำหรับนักเศรษฐศาสตร์ หรือ MBA และนักวิเคราะห์อุตสาหกรรม ก่อนจะเริ่มอ่าน แนะว่าให้พลิกไปที่ภาคผนวกท้ายเล่ม แล้วอ่านสมมติฐานก่อน </li><li>เล่ม 3 การสังเคราะห์เพื่อเสนอแนทางของศักยภาพงานวิจัย รวมเอาผลการวิเคราะห์มูลค่า แบ่งตามสาขาและหัวข้อย่อย แต่ละส่วนมีคำแนะนำ ทิศทาง และแนวโน้ม</li><li>นอกจากนี้ยังได้รับแจกเอกสารข้อมูลของต่างประเทศที่มีประโยชน์มากอีกสองฉบับ<ul><li>ของสหรัฐคือ Summary of AAAS estimates and analyses of US federal R&D appropriations in teh FY 2008</li><li>ของยุโรป EU's 7th research framework programme 2007-2013 (FP7)</li></ul></li></ul> <p style="margin-bottom: 0cm">ผู้วิจัยแตกโจทย์ออกมาสามสาขา…</p> <ul><li>เทคโนโลยีเกิดใหม่ (emerging technology) ประกอบด้วย เทคโนโลยีดิจิตอล นาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี เทคโนโลยีพันธุกรรมศาสตร์ (ภายหลังสองสาขานี้ถูกรวมกัน) เทคโนโลยีวัสดุ</li><li>พลังงาน เน้นพลังงานทดแทนหรือทางเลือก เพื่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานชีวภาพ เซลล์เชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม</li><li>พัฒนาการทางเศรษฐกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการเงินการคลัง ระบบการค้า ภูมิรัฐศาสตร์ การค้าเสรี</li></ul> <p style="margin-bottom: 0cm">การรวบรวมข้อมูลโครงการวิจัย ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลวิจัยของ สวทช. และ วช. สองแหล่งนี้เป็นหลัก ทำให้มีข้อสงสัยว่า การวิจัยมองอนาคต ที่ใช้ฐานข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลหลัก จะมองอนาคตได้ไหม? และฐานข้อมูลเหล่านั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นข้อมูลการสนับสนุนของ วช. อยู่แล้วตั้งแต่ต้น ทำให้เกิดสภาพไก่กับไข่หรือไม่?</p> <p style="margin-bottom: 0cm">โดยรวม ๆ การนำเสนอจะพูดเรื่องปัจจุบัน หรือ trend ใกล้ ๆ ที่มองเห็นได้ด้วยตาว่า ตอนนี้เริ่มมีอะไรแล้ว ใครกำลังทำอะไร ยกตัวอย่างว่าใครใช้อะไรอยู่ (เช่น ห้างโลตัสใช้โซลาร์เซลล์) ใครเป็นผู้นำ ฯลฯ มีบ้างที่พูดถึงโจทย์วิจัยที่ยังต้องการหา solution แต่น่าจะพูดถึงมากกว่านี้ในเชิงวิเคราะห์ แทนที่จะเป็นการยกตัวอย่างทีละเคสแบบ sporadic (แล้วแต่ว่าผู้วิจัยบังเอิญคุยกับใครมา หรือนึกอะไรออกก่อน) แต่ตรงนี้อาจจะเป็นเพียงเทคนิคการนำเสนอ ซึ่งก็เห็นว่า การเสนอแบบพูดคุยอย่างนี้ดีนะครับ ไม่ใช่ไม่ดี ผู้เสนอพูดเก่งครับ</p> <p style="margin-bottom: 0cm">value ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนวิจัยคืออะไร?</p> <ul><li>หาออกมาเป็น net present value (NPV)</li><li>การวิเคราะห์ cost benefit analysis (CBA)</li></ul> <p style="margin-bottom: 0cm">สมมติฐานของการคำนวณ</p> <ul><li><p style="margin-bottom: 0cm">หาค่ามูลค่าของแต่ละ sector และอัตราการเติบโตเพื่อคำนวณค่า value growth ปี 2552, 2553, 2554</p></li><li><p style="margin-bottom: 0cm">lag factor</p></li></ul>attribution ของงานวิจัย (คิดตามแบบกระทรวงเกษตรออสเตรเลีย) <ul><li><p style="margin-bottom: 0cm">สมมติฐานอยู่บนงบประมาณรัฐจากสำนักงบประมาณ</p></li><li><p style="margin-bottom: 0cm">เช่น งบประมาณตามนโยบายของ วช. เทียบกับงบที่รัฐอัดฉีดเข้าไป มีอยู่ในอัตรา 2.77% ดังนั้นผลงานวิจัยจะส่งผลต่ออุตสาหกรรม ไม่น่าจะเกิน 2.7% ของ value growth สาขาอุตสาหกรรม ตัวเลขนี้คือค่า attribution ของงานวิจัย ฯลฯ </p> </li></ul> <p style="margin-bottom: 0cm">ผู้วิจัยตั้งใจจะบอกว่า จะเทียบต่างประเทศกับไทย มีสาขาอะไร ที่นักวิจัยไทยควรสนใจเข้าไปทำวิจัย ผลออกมาว่า ก็อยู่ในสามสาขาที่ตั้งไว้แต่แรก ข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นเรื่องของรายละเอียดในสาขานั้น ๆ ทำให้เกิดคำถามในใจว่า ตกลงสามสาขานั้น เป็นโจทย์ หรือเป็นคำตอบของโจทย์???</p>