ถ้ารัฐจะลงทุนวิจัย ควรลงทุนในเรื่องอะไร? (2)


ผู้จัดได้ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทุกสิ่งที่ทำ ทำได้ดีมาก

ฟ้าครับ

ถ้าใครหลับไป 30 ปี แล้วตื่นขึ้นมาเข้าร่วมการสัมมนาต่าง ๆ ของหน่วยงานที่จัดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.. 2551 นี้ ก็คงจะงง ๆ เพราะพบกับรูปแบบที่คล้าย ๆ กันทั่วประเทศ คือ

  • เขาจะให้เซ็นชื่อลงทะเบียน ได้รับแจกกระเป๋า
  • ในห้องจัดโต๊ะแบบคลาสรูม มีเวที โพเดียม
  • สกรีนที่ยิงภาพจากโปรเจ็คเตอร์ขึ้นไปที่จอ เป็นภาพ desktop ของระบบปฏิบัติการ Windows ที่มีไอคอนของสารพัดไฟล์ วางเรียงกันทางซ้ายมือ
  • ภาพหน้าจอเป็นไปตามรสนิยมของเจ้าของเครื่อง เช่น ภาพวิว ดอกไม้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับงานแต่อย่างใด
  • การเปิดงานก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน คือพิธีกรขึ้นพูดทักทายและแนะนำงานวันนี้
  • เจ้าของงาน (ตัวจริง) กล่าวรายงาน
  • ประธานขึ้นพูดเปิดงานที่โพเดียม บ้างก็พูดตามบท บ้างก็แสดงวิสัยทัศน์ส่วนตัว แล้วจึงเข้าสู่ช่วงเนื้อหาสาระของงาน

สำหรับสภาวิจัยฯ ต้องชมว่าจัดงานได้ตามสูตรอย่างเนี๊ยบจริง ๆ

  • เริ่มตั้งแต่เดินเช้ามาลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ประจำโต๊ะลงทะเบียนต้อนรับอย่างยิ้มแย้ม
  • มีป้ายชื่อผู้เข้าร่วม และกระดาษลงทะเบียนที่มีข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนมาก่อน อย่างพร้อมสรรพ แค่เซ็นชื่อแกร๊กเดียว
  • ได้รับกระเป๋าแจก (ซึ่งไม่จำเป็น มีเยอะแล้ว ไปงานไหนก็ได้ เราประหยัดกว่าดีกว่า
  • มีอาหารเช้าเบา ๆ พร้อมเครื่องดื่มเสิร์ฟให้ก่อนงานระหว่างรอ (บังเอิญทานข้าวเช้ามาแล้ว แต่ชอบใจที่มีกาแฟ)
  • วช. เริ่มต้นงานแบบมหกรรม คือฉายวิดีโอแนะนำองค์กรแบบหรูหราอลังการ 
  • อันนี้กลายเป็น common practice ของยุคสมัย ที่ผมรู้สึกว่าการลงทุนแบบนี้ไม่จำเป็น เพราะทำให้ผู้ร่วมสัมมนา กลายเป็นผู้ชมที่ถูก intimidated หรือไม่ก็ bored
  • แต่ต้องยอมรับว่า ผู้จัดได้ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทุกสิ่งที่ทำ ทำได้ดีมาก
  • สิ่งที่ขาดไป อย่างไม่น่าขาด คือกระดาษรับความคิดเห็น เพราะการสัมมนาแบบนี้ ผู้นำเสนอบนเวทีมักมีแนวโน้มว่า ใช้เวลามากเกิดกำหนด (ซึ่งก็เป็นจริงในครั้งนี้) แต่ผู้ฟังข้างล่างมีโอกาสได้พูด หรือมีส่วนร่วมน้อย พอเวลาหมด หรือเลยกำหนดเวลา ก็เลยพาลขึ้เกียจพูด อาจจะเพราะความเกรงใจ ฯลฯ
เดี๋ยวค่อยต่อเรื่องเนื้อหาครับ

 

หมายเลขบันทึก: 162331เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท