ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (6)


ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (6)

         วารสารวงการครู  ฉบับเดือนมกราคม 2549   นำเรื่องนี้มาลงเป็นเรื่องเด่นของฉบับ  คือเรื่องจากปก   สคส. จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเป็นตอน ๆ ดังต่อไปนี้  ตอนที่ 2

"จุดเริ่มต้นของความรู้  คือการยอมรับว่าเราไม่รู้" 
อมเรศ ศิลาอ่อน  อดีตประธาน สมศ.

ล้อมกรอบ แผนการดำเนินการเรื่องจัดการความรู้ของ สมศ.

แผนการดำเนินการเรื่องจัดการความรู้ของ สมศ.

แผน (ธันวาคม 2548 – มีนาคม 2549) เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร โดยการแทรกเรื่อง KM เข้าไปในวิถีการทำงานของบุคลากรในสำนักงานฯ
 1. ตั้งคณะทำงานเรื่องการจัดการความรู้ของ สมศ. จำนวน 1 ชุด
        - คณะทำงานฝ่ายนโยบายและแผน   จำนวน 1 ชุด
        - คณะทำงานจัดการความรู้ภายใน สมศ. จำนวน 1 ชุด
 2. สรุป “สิ่งที่ควรทำ/สิ่งที่ไม่ควรทำ” ในการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ สมศ.
 3. จัดทำ Knowledge Mapping ของบุคลากรในสำนักงานฯ และจัดทำเป็นหมวดหมู่
 4. สำรวจปัญหาในการทำงานของบุคลากรในแต่ละส่วนงาน จัดหมวดหมู่ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (เพื่อทำการระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป)
 5. จัดเวที/กิจกรรม/วิธีการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรภายในสำนักงานฯ เช่น โครงการพิเศษ “จัดการเรียนรู้ สู่ความเข้มแข็งของชุมชน สมศ.” โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
        - กิจกรรมแรกของโครงการนี้คือ “เสวนาประสาคนกันเอง” ซึ่งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นต่าง ๆ ที่กำหนด โดยเริ่มดำเนินการครั้งที่ 1 เช้าวันที่ 22 กันยายน 2548 ในประเด็น “ประสานงานอย่างไร ไม่ให้ประสานงา”
        -  การส่งแบบสำรวจความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความถนัดของชาวชุมชน สมศ. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำ Mapping ชาวชุมชน และ Mapping สภาพปัญหาอุปสรรค เพื่อจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
 6. จัดทำคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในแผ่นปลิว “ชุมชนคนกันเอง” ซึ่งออกทุกวันพุธ โดยในระยะแรกจะเป็นการแนะนำหรือเล่าให้บุคลากรของ สมศ. รู้จักการจัดการความรู้ เช่น หลักการทฤษฎี วิธีการจัดการความรู้ รวมทั้งตัวอย่างการจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือชุมชนกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น

 แผน (เมษายน – มิถุนายน 2549)
 1. จัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกลุ่มปัญหาในการทำงานของบุคลากร สมศ. ที่ต้องการแก้ไข (ข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจ) ตามลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งอาจจะจัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ หรือจัดเป็นหัวข้อในกิจกรรม “เสวนาประสาคนกันเอง” โดยจำนวนวงขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการแก้ไข วงละไม่เกิน 10 คน
         ทั้งนี้ มีการจดบันทึกขุมความรู้ที่ได้แต่ละครั้ง เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้วิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพที่สุด
 2. นำความรู้เชิงปฏิบัติที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทดลองปฏิบัติของทุกวงปัญหา มาสรุปเป็นขุมความรู้ของสำนักงานฯ จัดหมวดหมู่ความรู้ และจัดเก็บความรู้ที่ได้อย่างเป็นระบบ
 3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเล่าความสำเร็จในการแก้ปัญหาแต่ละอย่าง เพื่อสกัดเป็นขุมความรู้ของสำนักงานฯ และจัดเก็บความรู้ที่ได้อย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาและใช้งานได้ง่าย
 4. จัดทำคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในแผ่นปลิว “ชุมชนคนกันเอง” ซึ่งออกทุกวันพุธ โดยเพิ่มขุมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละครั้ง รวมทั้งการจัดการความรู้ของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน


 แผน (กรกฎาคม – กันยายน 2549)
 1. สำรวจหัวข้อเรื่องในการพัฒนาวิธีการทำงานของเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ของ สมศ. เช่น ผู้ประเมินภายนอกระดับต่าง ๆ หน่วยประเมิน ศูนย์เครือข่าย หน่วยฝึกอบรม ฯลฯ โดยจัดหมวดหมู่และจัดลำดับความสำคัญ
 2. จัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เชิงปฏิบัติของแต่ละกลุ่ม สกัดขุมความรู้ที่ได้ จัดหมวดหมู่ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ดึงมาใช้งานได้ง่าย
 3. จัดทำคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในแผ่นปลิว “ชุมชนคนกันเอง” ซึ่งออกทุกวันพุธ โดยเพิ่มขุมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ของ สมศ. ในแต่ละครั้ง

ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (1)

ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (2)

ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (3)

ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (4)

ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ถก KM กับ สมศ. (5)



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16208เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบ blog ของสมศ.ค่ะ

เพื่อจะได้ ลปรร ร่วมกันระหว่าง สมศ. สถานศึกษา และหน่วยประเมินภายนอก

และเชื่อมั่นว่ามีความรู้อีกมากที่กระจัดกระจายอยู่ในกลุ่มต่าง ๆ และรอการรวบรวมอยู่

หวังว่าจะได้มีเวทีแห่งใหม่เื่พื่อการเชื่อมโยงความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา หลังจากที่เว็บบอร์ดของ สมศ.ได้ยุติการใช้งานมานาน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท