ภาพทางรังสีของการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง


Aneurysm coiling

ภาพทางรังสีของการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพองด้วยการอุดด้วยเส้นลวด

Aneurysm coiling Imaging

วิธวัช หมอหวัง        วท.บ.รังสีเทคนิค
เอนก สุวรรณบัณฑิต วท.บ.รังสีเทคนิค
สมจิตร จอมแก้ว      ป.รังสีเทคนิค
จุฑา ศรีเอี่ยม          ป.รังสีเทคนิค
ตองอ่อน น้อยวัฒน์   ป.รังสีเทคนิค

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิธวัช หมอหวัง, เอนก สุวรรณบัณฑิต, สมจิตร จอมแก้ว, จุฑา ศรีเอี่ยม, ตองอ่อน น้อยวัฒน์. ภาพทางรังสีของการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพองด้วยการอุดด้วยเส้นลวด.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1(1) : 58-63
 
 
บทคัดย่อ

การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง (aneurysm) ยังเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างทางเลือกในการรักษา 2 ทาง ได้แก่ การผ่าตัดแล้วใช้คลิปหนีบไว้ (clipping) และการใช้การรักษาจากภายในหลอดเลือด (endovascular treatment with coiling) ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงผลการรักษาที่พอๆ กัน สำหรับงานรังสีวิทยาหลอดเลือดถือว่าการ coil embolization เป็นหัตถการที่เกิดขึ้นบ่อย ภาพทางรังสีเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งถึงความสำเร็จของการรักษานี้

 การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง (aneurysm) ในปัจจุบันได้แก่ การผ่าตัดแล้วใช้คลิปหนีบไว้ (clipping) จนกระทั่งปัจจุบันจึงมีการใช้การรักษาจากภายในหลอดเลือด (endovascular treatment)ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการคลิปได้อันอาจเนื่องมาจากขนาดหรือตำแหน่งของหลอดเลือดที่โป่งพองนั้นเองหรือผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยเป็นการสอดใส่ขดลวด GDC (Guglielmi detachable coils) ซึ่งได้มีการแนะนำครั้งแรก โดยผลการวิจัยของ กูเกลียลมิ และคณะ (Guglielmi et al) ในปี 1991 (พ.ศ.2534) และได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการพัฒนาเทคนิคการวางขดลวดทำให้ผลของการรักษาดีขึ้นทั้งในทางกายวิภาคและทางคลินิก ทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพองด้วยขดลวดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการผ่าตัด


หากแต่การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพองด้วยขดลวดยังมีภาวะแทรกซ้อนหลักที่เป็นประเด็นในการถกเถียงทางการแพทย์ได้แก่เรื่อง thromboembolic ซึ่งมีการรายงานถึงอัตราการเกิดสูงถึง 28% และผู้ป่วยอาจมีอาการบกพร่องอย่างถาวรสูงถึง 5% (Pelz, Lownie, Fox,1998) ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่อาจตรวจพบได้จากภาพ angiogram หากแต่อาจตรวจพบได้ด้วย diffusion-weighted (DW) MR imaging ซึ่งไวต่อการตรวจพบ cerebral ischemic หากแต่สาเหตุการเกิด thromboembolic นั้นก็ยังไม่เป็นที่สรุปชัดเจนว่าเป็นเนื่องจากสาเหตุใด เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้าน เช่น เทคนิคในการวางขดลวด จำนวนขดลวด เป็นต้น

แม้จะมีรายงานว่าโอกาสเกิด thromboembolic ไม่ขึ้นกับจำนวนขดลวดที่ใช้อุดก็ตาม (Rordorf G et al,2001) แต่อย่างไรก็ตามก็มีรายงานว่าการเกิด thromboembolic มีโอกาสเกิดได้สูงเนื่องจากเทคนิคในการบังคับหลอดสวนหลอดเลือด (catheter manipulation) (Soeda et al, 2003) และในการใช้ขดลวดนั้นยังมีปัญหาในเชิงเทคนิคที่สำคัญ ได้แก่ การปล่อยขดลวดก่อนการวางตำแหน่งจริง (spontaneous premature coil detachment), การลื่นไหลของขดลวดกลับไปใน microcatheter หลังการปล่อยขดลวด ( backward slipping of the coil into the microcatheter lumen after detachment), และ การที่บางส่วนของขดลวดที่ปล่อยแล้วยื่นออกไปยังหลอดเลือดหลัก (undesirable detachment of the coils at the parent artery) (Kwon, et al, 2002) จึงได้มีการพัฒนาขดลวด Matrix ซึ่งเป็นขดลวดแพลตินัมที่เคลือบด้วยสารดูดกลืนทางชีวะและสารโพลีเมอร์ (thin platinum coils covered with a bioabsorbable, polymeric material) ซึ่งช่วยเร่งให้เกิดการสร้างพังผืด (fibrosis and neointima formation)โดยไม่ทำให้เส้นเลือดหลักเกิดการตีบตัน และยังช่วยลดการช่องว่างระหว่างขดลวดซึ่งจะทำให้เกิดการกลับมาใหม่ของหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysmal recanalization) (Murayama et al, 2003) ซึ่งการจะสังเกตว่าการรักษาด้วยขดลวดสำเร็จหรือไม่จะต้องพิจารณาจากภาพของเส้นเลือดที่เหลืออยู่ ว่าอุดได้หมดหรือว่ามีส่วนหลงเหลือ (residue) ซึ่งอาจทำภาพเส้นเลือด 3 มิติเพื่อพิจารณาในมุมต่างๆ ร่วมด้วยก็ได้ และสุดท้าย ในการพิมพ์ภาพจะต้องแสดงภาพขดลวดเพื่อดูลักษณะการขดตัวของขดลวดอีกด้วย


สรุป

ในการอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยขดลวดนั้น ภาพทางรังสีวิทยาหลอดเลือดที่จะต้องนำเสนอจะเป็นส่วนสำคัญในการแสดงถึงการอุดหลอดเลือดได้สมบูรณ์มากน้อยได้


บรรณานุกรม

1. International Subarachnoid Aneurysm Trial (ISAT) Collaborative Group. International subarachnoid aneurysm trial (ISAT) of neurosurgical clipping versus endovascular coiling in 2143 patients with ruptured intracranial aneurysms: a randomized trial. Lancet2002; 360 :1267 –1274
2. O-Ki Kwon, Moon Hee Han, Ki Jae Lee, et al. Technical Problems Associated with New Designs of Guglielmi Detachable Coils, American
Journal of Neuroradiology,2002 ; 23:1269-1275
3. A. Soeda, N.Sakai, H. Sakai, et al. Thromboembolic Events Associated with Guglielmi Detachable Coil Embolization of Asymptomatic Cerebral Aneurysms: Evaluation of 66 Consecutive Cases with Use of Diffusion-Weighted MR Imaging, American Journal of Neuroradiology,2003 ; 24:127-132
4. A. Soeda, N. Sakai, K. Murao, et al. Thromboembolic Events Associated with Guglielmi Detachable Coil Embolization with Use of Diffusion-Weighted MR Imaging. Part II. Detection of the Microemboli Proximal to Cerebral Aneurysm, American
Journal of Neuroradiology,2003 ; 24:2035-2038
5. Rordorf G, Bellon RJ, Budzik RF, et al. Silent thromboembolic events associated with the treatment of unruptured cerebral aneurysms by use of Guglielmi detachable coils: prospective study applying diffusion-weighted imaging. AJNR Am J Neuroradiol2001; 22 :5 –10
6. Moret J, Cognard C, Weill A, et al. The "remodeling technique" in the treatment of wide neck intracranial aneurysms. Intervent Neuroradiol1997; 3 :21 –35
7. Pelz DM, Lownie SP, Fox AJ. Thromboembolic events associated with the treatment of cerebral aneurysms with Guglielmi detachable coils. AJNR Am J Neuroradiol1998; 19 :1541 –1547
8. Y. Murayama, .S. Tateshima,.N. R. Gonzalez, F. Vinuela. Matrix and Bioabsorbable Polymeric Coils Accelerate Healing of Intracranial Aneurysms, Stroke. 2003;34:2031

แหล่งอ้างอิงอื่น

Detachable Coil Embolization, http://www.radiologyinfo.org

 

 

คำสำคัญ (Tags): #aneurysm#coil
หมายเลขบันทึก: 161953เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท